มะเร็งเต้านม ถือเป็นมัจจุราชร้ายอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก สถิติการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละประมาณ 13,000 คน หรือ 35 คนต่อวันและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงยังไม่มีรายงานระบุอย่างแน่ชัดว่ามะเร็งเกิดจากอะไร แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ ดังนี้
- สภาพแวดล้อม
- การใช้ชีวิต เช่น อาหาร เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ และบุหรี่
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- ผู้หญิงที่ไม่มีลูก
- พันธุกรรม
- ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
- เชื้อชาติ
สาว ๆ สามารถสังเกตุอาการเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
- คลำเต้านมแล้วพบว่าเป็นก้อน ๆ
- รักแร้และบริเวณเต้านมเปลี่ยนไป
- ผิวหนังบริเวณเต้านมเปลี่ยนไป เช่น เป็นผิวส้ม มีรอยแดง
- มีผื่นขึ้นรอบ ๆ
- มีน้ำนมหรือเลือดไหลออกจากหัวนม
- หัวนมผิดปกติไปจากเดิม
- รูปทรงที่เปลี่ยนไป
- ผิวหนังบริเวณเต้านมมีการลอก
หากเพื่อน ๆ มีอาการเหล่านี้ ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคในลำดับต่อไป มีหลายคำถามมักจะถามว่า แล้วคนส่วนใหญ่ที่คลำเจอก้อนเนื้อจะต้องมีอาการปวดหรือเจ็บแสบร่วมด้วยไหม?
ในผู้หญิงบางรายจะมีอาการปวดร่วมด้วย แต่ในบางรายแค่คลำเจอก้อนเนื้อแต่ไม่มีอาการปวดใด ๆ แต่อาการปวดเต้านมนี้เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคนระหว่างหรือกำลังจะมีรอบเดือน โดยเราต้องหมั่นสังเกตุเองว่า เมื่อหมดรอบเดือนแล้วแต่ยังมีอาการปวดหัวนมหรือเต้านมอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
มะเร็งเต้านมมีทั้งหมด 5 ระยะ โดยส่งผลแตกต่างกันออกไป
- ระยะที่ 0 – เรียกอีกอย่างว่า ductal carcinoma in situ เซลล์มะเร็งจะอยู่ภายในท่อเท่านั้นและไม่แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง
- ระยะที่ 1 – ในขั้นตอนนี้ ก้อนเนื้องอกจะมีขนาดกว้างถึง 2 ซม. แต่จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อต่อมน้ำเหลือง หรือในบางรายอาจจะเริ่มมีเซลล์มะเร็งกลุ่มเล็ก ๆ ในต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 2 – เนื้องอกมีความกว้าง 2 ซม. และจะเริ่มแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง หรือเนื้องอกมีขนาดกว้างขึ้น 2-5 ซม. แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 3 – เนื้องอกมีขนาดกว้างถึง 5 ซม. และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหลาย ๆ ต่อม หรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. แต่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองไม่กี่แห่ง
- ระยะที่ 4 – มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่มักจะไปที่กระดูก ตับ สมอง หรือปอด
เมื่อถูกแพทย์วินิจฉัยออกมาแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านม แต่ไม่มีประกันมะเร็งมารองรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล อาจจะส่งผลกระทบต่อเงินที่เก็บมาทั้งชีวิตและส่งผลกระทบกับคนในครอบครัวได้ ที่สำคัญหากเราไม่ได้เตรียมค่ารักษาพยาบาลไว้อย่างเพียงพอแล้ว การจะเข้ากระบวนการรักษาแบบสมบูรณ์หายขาดนั้นคงเป็นไปได้ยาก และมีรายงานว่าพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาไม่ครบกระบวนการต้องเสียชีวิตลง เนื่องจากทุนทรัพย์ในค่ารักษาพยาบาลมีไม่เพียงพอ
อัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลเอกชน
ระยะเริ่มต้น | ราคา | ระยะลุกลาม | ราคา |
---|---|---|---|
ผ่าตัด | 200,00 บาท | เคมีบำบัด | 449,892 บาท |
เคมีบำบัด | 445,788 บาท | ค่าฉายรังสี | 200,000 บาท |
ค่าฉายรังสี | 200,000 บาท | ค่ายารักษาต่อเนื่องแบบพุ่งเป้า | 1,766,000 บาท |
ค่ายารักษาต่อเนื่องแบบพุ่งเป้า | 1,766,000 บาท | ค่ายารักษาต่อเนื่องแบบพุ่งเป้า 2 ชนิด | 5,844,760 บาท |
ส่วนอัตราค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐฯ จะต่ำกว่านี้ประมาณ 40% แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐฯ หรือโรงพยาบาลเอกชนก็ตาม จะเห็นได้ว่าอัตราค่ารักษาพยาบาลนั้นสูงมาก หากเราไม่ได้มีการเตรียมเงินสำรองเอาไว้ยามเจ็บป่วย คงจะเป็นเรื่องที่ต้องลำบากกันทั้งครอบครัวแน่ ๆ การทำประกันมะเร็งเอาไว้จึงเป็นแผนป้องกันที่ดีที่สุด เมื่อเกิดโรคร้ายแรงขึ้นจะได้ไม่กระทบเงินเก็บและกระทบคนในครอบครัว
สิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้รับ เมื่อมีประกันมะเร็งที่รู้ใจ
- ไม่กระทบเงินเก็บ
- หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
- เปิดโอกาสทางการรักษาได้มากขึ้น เพราะแผนประกันมะเร็งครอบคลุมโรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ
- มีโอกาสหายขาดมากกว่าคนที่ไม่มีประกันมะเร็งรองรับ
- ชดเชยรายได้เมื่อต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
- สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
เมื่อวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันโรคมะเร็งได้อย่าง 100% วิธีป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดคือ ลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคทั้งหมด เช่น เลี่ยงการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงของทอด ของค้างคืน และแน่นอนว่าการมีประกันมะเร็งที่ดีที่ครอบคลุมทุกระยะการป่วยและทุกระยะการรักษา จะช่วยปกป้องตัวเราเองจากภัยร้ายจากค่ารักษาพยาบาลได้นั่นเอง
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ทาง FB Fan page: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เลย