Roojai

“กรดไหลย้อน” โรคยอดฮิต ปล่อยไว้ไม่รักษาเสี่ยงมะเร็ง!

กรดไหลย้อน | อาการกรดไหลย้อน | มะเร็ง | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

หากคุณกำลังมีอาการเจ็บคอและเสียงแหบ โดยทั่วไปอาการเหล่านี้มักจะเป็นอาการเริ่มต้นของคนเป็นหวัด แต่หากอาการแบบนี้เรื้อรังนานหลายอาทิตย์ หลายเดือน คุณอาจต้องคิดใหม่ เพราะนี่อาจจะไม่ใช่แค่ไข้หวัด แต่อาจเป็นอาการของกรดไหลย้อน ซึ่งหากละเลยไม่ทำการรักษาอย่างถูกต้อง จนกลายเป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดแผลที่หลอดอาหารและนำไปสู่การเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ในที่สุด เรามาดูวิธีรักษาอาการกรดไหลย้อนขึ้นคอกันได้ในบทความนี้

ภาวะกรดไหลย้อนขึ้นคอ อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บคอและเสียงแหบ และในบางรายการรับรู้รสชาติอาหารอาจเปลี่ยนไป อาการที่พบได้บ่อยร่วมกับอาการกรดไหลย้อนขึ้นคอคืออาการจุกเสียดท้องหรือปวดท้องตรงกลาง ซึ่งต้องยอมรับว่า โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเรานั้น ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น ดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ กินเสร็จปุ๊บล้มตัวลงนอนปั๊บ หรือดื่มชา กาแฟ ในขณะที่ท้องว่าง เป็นต้น 

พฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์เหล่านี้ เมื่อตอนยังเป็นวัยหนุ่มสาวร่างกายอาจยังพอที่จะต้านทานโรคเอาไว้ได้ แต่หากปล่อยให้มีอาการเรื้อรังโดยไม่รักษา ท้ายที่สุดแล้วอาจจะนำโรคร้ายมาสู่ร่างกายของเรา โรคกรดไหลย้อนอาจเป็นเพียงโรคเล็ก ๆ ที่ไม่ร้ายแรง แต่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารและทุกคนสามารถเป็นโรคกรดไหลย้อนนี้ได้เท่า ๆ กัน

กรดไหลย้อนคืออะไร?

กรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal reflux disease : GERD เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร พบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งโดยปกติร่างกายของคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปยังหลอดอาหารอยู่บ้าง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนี้ จะมีการไหลย้อนของกรดมากกว่าคนปกติ จนทำให้เกิดการรบกวนต่อชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร 

ซึ่งโรคกรดไหลย้อนนับว่าเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อร่างกาย สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของแต่ละคน  อาการจะมีตั้งแต่แสบร้อนกลางอก ลามไปถึงลำคอหรือหน้าอกหลังจากรับประทานอาหาร หรืออาจมีการเรอกลิ่นเปรี้ยวร่วมด้วย 

ปวดท้องตรงกลาง | อาการกรดไหลย้อน | มะเร็ง | รู้ใจ

กรดไหลย้อนเกิดจากอะไร?

1. ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร

ซึ่งทำหน้าที่ในการป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำ หรือมีการเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์แรงในการกัดกระเพาะ

2. ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร

ทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น เคลื่อนตัวได้ช้าหรือมีอาหารไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ

3. ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร

ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรด จากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหารมากขึ้น และอาหารประเภทที่มีไขมันสูงและช็อกโกแลต จะทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง

4. ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างเช่น การล้มตัวลงนอนทันทีเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ รับประทานอาหารมากจนเกินไปในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมและแอลกอฮอล์ รวมไปถึงความเครียดก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้ 

5. คนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน

ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุทำให้เกิดกรดไหลย้อน

6. หญิงที่กำลังตั้งครรภ์

จะมีฮอร์โมนเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง รวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะไปเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร

อาการกรดไหลย้อนเป็นยังไง?

  1. มีอาการแสบร้อนกลางทรวงอก ซึ่งจะมีอาการมากหลังรับประทานมื้อหนัก
  2. มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขม ๆ ไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  3. ท้องอืด แน่นท้องเหมือนอาหารไม่ย่อย
  4. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  5. แน่นหน้าอก จุกเสียด เหมือนมีก้อนอะไรติดอยู่ในลำคอ
  6. หอบ หืด ไอแห้ง เสียงแหบและเจ็บคอเรื้อรัง
กรดไหลย้อน รักษา | อาหารเพื่อสุขภาพ | มะเร็ง | รู้ใจ

วิธีหลีกเลี่ยงโรคกรดไหลย้อน

  1. รับประทานอาหารอย่างพอดีและเคี้ยวให้ละเอียด
  2. หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีรสจัด อาหารที่มีไขมัน ชา กาแฟ ช็อกโกแลต
  3. งดการดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำดื่มที่มีแก๊ส เช่น โซดา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาลดกรดในกลุ่มยับยั้งการสร้างกรดก่อนอาหาร 30 – 60 นาที อย่างน้อย 3 เดือน 
  5. หลังการรับประทานอาหารควรนั่งพักให้อาหารย่อยอย่างน้อย 30 นาที และให้นอนโดยยกศีรษะให้สูงขึ้นกว่าเท้า 6 – 8 นิ้ว 
  6. งดการออกกำลังกายหนัก ๆ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ อย่างน้อย 3 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนจากการออกกำลังกายหนักมาเป็นการเดินเพื่อช่วยย่อยอาหาร 
  7. หากเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือมีภาวะโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามคำแนะนำของแพทย์
  8. งดสูบบุหรี่
  9. หากรับประทานยาเป็นประจำ ให้ลองดูคำแนะนำของยาชนิดนั้น ๆ หากมีผลต่อกระเพาะอาหาร ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นอย่างเคร่งครัด เช่น รับประทานยาหลังอาหารทันที
  10. รักษาด้วยการผ่าตัด จะเป็นการผ่าตัดนำส่วนบนของกระเพาะอาหารมาเย็บหุ้มรอบส่วนล่างของหลอดอาหารและกล้ามเนื้อหูรูด โดยวิธีผ่าตัดนี้จะเป็นวิธีสุดท้ายหลังจากที่รับประทานยาและปรับพฤติกรรม แล้วแต่ยังไม่ได้ผล

กรดไหลย้อนเสี่ยงมะเร็ง

โรคกรดไหลย้อนอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดจะทำให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคืองจนเกิดการอักเสบ และเป็นแผล หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ได้

การใส่ใจตัวเอง ดูแลสุขภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะพาตัวเองหลีกเลี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แม้โรคภัยไข้เจ็บจะเป็นสิ่งที่คนไม่คาดคิดและไม่มีใครอยากเป็น แต่เราสามารถวางแผนรับมือในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำประกันภัย ซึ่งเป็นการวางแผนความเสี่ยงทางการเงินไม่ให้หมดไปกับค่ารักษาพยาบาล ประกันมะเร็งที่รู้ใจ เจอ จ่าย จบ พร้อมสู้โรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ คุ้มครองเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)