Roojai

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่? รู้ก่อนป้องกันได้

รู้จักปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่? | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

ทำไมปัจจุบันคนถึงเป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะ? จริงๆ แล้วโรคซึมเศร้ามีมานานมากแล้ว แต่ยุคสมัยนี้เป็นยุคดิจิทัล ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร ทุกคนบนโลกโซเชียลรับรู้หมด นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมเราถึงรู้สึกได้ว่า “คนเป็นโรคซึมเศร้าอยู่รอบตัวเรา” แต่สมัยก่อนการสื่อสารและเทคโนโลยียังไม่ล้ำสมัยเท่าปัจจุบัน การรับรู้เรื่องโรคซึมเศร้าจึงน้อยกว่าในปัจจุบัน จริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก และเป็นเรื่องของกำลังใจ ความเข้าใจ และการรับฟังที่ดี เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า คนใกล้ชิดของเรามีอาการหรือภาวะซึมเศร้าหรือไม่ บทความนี้ จะช่วยให้คุณสังเกตทั้งตัวเองและคนใกล้ชิดว่าเข้าข่ายภาวะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และโรคซึมเศร้ามาจากสาเหตุใด เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ ทั้งหมดนี้มีคำตอบ

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

โรคซึมเศร้าคืออะไร?

โรคซึมเศร้า หรือ Depression เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า แต่ก็ยังมีคนรู้จักโรคนี้ไม่มากนักและบางคนก็เป็นโรคซึมเศร้าในขณะที่ตัวเองอาจจะไม่รู้ตัว และคนที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นก็มีเยอะมากมายในสังคม ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ขึ้น เช่น การฆ่าตัวตาย การทำร้ายตัวเอง เป็นต้น

คนเป็นโรคซึมเศร้าสังเกตุได้อย่างไร | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

โรคซึมเศร้ามีทั้งหมดกี่ประเภท?

โรคซึมเศร้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ 

  1. โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว – ผู้ป่วยจะมีแค่อาการซึมเศร้าอย่างเดียว
  2. โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว – หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไบโพลาร์ ผู้ป่วยจะมีอาการอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ มากกว่าคนทั่วไปจนส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง

สาเหตุของโรคซึมเศร้ามาจากอะไร? ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่?

ปัจจุบันมีการศึกษาและอธิบายถึงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าไว้ 3 สาเหตุ และหนึ่งในนั้นมีเรื่องพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย โดยสามารถอธิบาย ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ดังนี้ 

1. จากสภาพแวดล้อมที่เติบโตมา 

เรื่องสภาพแวดล้อมของแต่ละคนที่เติบโตมา สภาพแวดล้อมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่สภาพบ้าน แต่หมายถึงองค์รวมทั้งหมด ทั้งครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่อยู่ด้วยกัน หากเป็นครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง หรือมีการทะเลาะกันให้ลูกเห็นบ่อยครั้ง ความเครียดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ทุกวัน อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

2. จากพันธุกรรม

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดโรคได้ทางพันธุกรรม โดยมีการศึกษาและพบว่ามีโอกาสตั้งแต่ 20-40% ที่จะถ่ายทอดสารพันธุกรรมโรคซึมเศร้าไปยังลูกหลาน ยิ่งหากสภาพแวดล้อมที่บ้านนั้นยังเอื้อให้เกิดโรคซึมเศร้าด้วยแล้ว ยิ่งมีโอกาสสูงมากถึง 60% ที่จะเป็นโรคซึมเศร้า

นักวิจัยที่ประเทศสวีเดน ได้ประเมินการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคซึมเศร้าเอาไว้ ซึ่งระดับความแตกต่างของการเกิดความซึมเศร้าสัมพันธ์กับความแตกต่างทางกรรมพันธุ์ประมาณ 40% ในเพศหญิงและอีก 30% ในเพศชาย นักวิจัยพบว่า ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากสาร Substance induced mood disorder ที่คล้ายกับ MDD มีสาเหตุมาจากการเสพยาเสพติดต่อเนื่องระยะยาว หรือเกิดจาก การขาดยาระงับประสาทหรือยานอนหลับบางประเภท

3. จากอายุที่เพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยเรื่องอายุก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า พออายุเริ่มมากขึ้นฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงและลดลง หากคนที่เคยเป็นหัวหน้าครอบครัวและไม่ได้ทำงานเหมือนสมัยก่อน อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า รู้สึกเหมือนตัวเองไร้ค่า โดยผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุอาการจะแตกต่างจากวัยอื่นๆ อย่างชัดเจน ทั้งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปและความจำ 

สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า มีอะไรบ้าง?

  1. รู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิด หรือก้าวร้าว
  2. ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ
  3. มีปัญหาในการมีสมาธิและการทำกิจกรรมต่างๆ
  4. รู้สึกอ่อนเพลียและเชื่องช้า
  5. การเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหารและการนอน
  6. มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
รับมืออาการโรคซึมเศร้า | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

อาการโรคซึมเศร้าเป็นยังไง?

สำหรับการเปลี่ยนแปลงคนเป็นโรคซึมเศร้า อาการจะค่อยๆ เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจจะเป็นเดือนหรืออาจจะเป็นภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบข้าง ลองเช็คอาการต่างๆ ต่อไปนี้ ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

  1. อารมณ์เปลี่ยนไป – ที่พบได้บ่อยคือ จะรู้สึกเศร้า หดหู่ สะเทือนใจไปกับเรื่องต่างๆ ได้ง่าย ร้องไห้บ่อยกับเรื่องเล็กน้อย จิตใจหม่นหมอง ไม่อยากทำอะไร อยากนอนนิ่งๆ ในห้องมืดๆ หรือเก็บตัวล็อกอยู่แต่ในห้อง
  2. ความคิดเปลี่ยน – อะไรๆ ก็ดูแย่ไปเสียหมด ยิ่งย้อนกลับไปในอดีตของตัวเองยิ่งละอายใจ และมีแต่ความผิดพลาด ล้มเหลว ชีวิตไม่มีอะไรดีเลย ไม่อยากอยู่ ไม่เห็นทางออก ท้อแท้ หมดความมั่นใจในตัวเอง ไร้คุณค่าและความสามารถ หากอาการหนักมากอาจเกิดการทำร้ายตัวเอง หรือถึงขั้นฆ่าตัวตาย เพราะคิดแต่ว่าไม่อยากเป็นภาระให้กับคนอื่น
  3. สมาธิและความจำถดถอย – ขี้ลืม โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ เช่น ลืมว่าวางแว่นเอาไว้ที่ไหน หรือเดินไปตู้เย็นแต่จำไม่ได้ว่าจะเดินมาหยิบอะไร เป็นต้น ไม่มีสมาธิทำกิจกรรมที่เคยทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือการอ่านหนังสือ ประสิทธิภาพทุกอย่างจะลดลง หรือทำไม่เสร็จเป็นเรื่องๆ ไป
  4. อาการโรคซึมเศร้าที่แสดงออกทางร่างกายอื่นๆ – คนเป็นโรคซึมเศร้า อาการที่พบได้บ่อยคือ ไม่มีแรงเดิน ไม่อยากอาหาร เบื่อไปทุกอย่าง อยากนอนอย่างเดียว ไม่อยากพูดหรือคุยหรือพบหน้าใคร และอาจมีอาการท้องผูก ปากคอแห้ง หรือปวดเมื่อยตามตัว

รู้ได้ยังไงว่าเป็นโรคซึมเศร้า?

  1. ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าแทบทั้งวัน
  2. ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยชอบทำลดลงทั้งหมด
  3. น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่ม หรือน้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 5% ต่อเดือน 
  4. เบื่ออาหาร หรือเจริญอาหารจนผิดปกติ
  5. นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  6. กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง หรือเชื่องช้า
  7. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงแม้แต่จะเดิน
  8. รู้สึกตัวเองไม่มีค่า เป็นภาระ
  9. สมาธิหรือความจำลดลง
  10. คิดแต่จะตาย หรือคิดหาวิธีการฆ่าตัวตาย 

ทั้ง 10 ข้อนี้ แพทย์จะประเมินผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องมีอาการในข้อที่ 1 และ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ และต้องมีอาการแบบนี้ต่อเนื่องกันนานเกิน 2 สัปดาห์ และมีอาการเกือบตลอดทั้งวัน ทุกวัน แพทย์ถึงจะลงความเห็นว่าเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

เช็คสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

เคล็ดลับสร้างฮอร์โมนความสุขให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

นอกจากการออกกำลังกายที่จะทำให้ฮอร์โมนโดพามีน เซโรโทนิน และเอ็นดอร์ฟิน ทั้ง 3 ตัวนี้เป็นสารแห่งความสุขหลั่งออกมาหลังจากการออกกำลังกายแล้ว ยังมีอีกวิธีที่สามารถสร้างฮอร์โมนความสุขท่ามกลางภาวะซึมเศร้าได้ นั่นคือการ “การกอด” ใช่แล้ว อ้อมกอดที่อบอุ่นไม่ว่าจะจากคนรัก จากคนในครอบครัว จากเพื่อนสนิท มันสามารถส่งผลให้ร่างกายของเราหลั่งฮอร์โมนความสุขทั้งโดพามีน เอ็นดอร์ฟิน และออกซิโทซิน ออกมาได้เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย 

โรคซึมเศร้าจากพันธุกรรมสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่?

แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจของเราแย่ลง และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ อีกเช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไทรอยด์ ภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง สมองเสื่อม และมะเร็ง แต่ในความโชคร้ายก็มีเรื่องดีๆ อยู่ คือ อาการโรคซึมเศร้าไม่ว่ามาจากสาเหตุอะไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องปฏิบัติตามแพทย์สั่งและรับประทานยาให้จบคอร์ส ไม่หยุดกินยาเอง เพราะผลที่ตามมาอาจรุนแรงกว่าเดิม และคุณยังสามารถรับมือค่ารักษาโรคร้ายแรงด้วยประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ เจอจ่ายจบรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท คุ้มครองรวมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้าทำยังไงบ้าง?

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่าง จะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า เช่น โอเมก้า 3 วิตามินอี ซี ดี ทองแดง และธาตุเหล็ก
  2. ออกกำลังกายอย่างน้อย 4 วัน/สัปดาห์ ครั้งละ 30-40 นาที เช่น เดินเร็ว โยคะ พิลาทิส 
  3. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น
  4. ฝึกทำสมาธิ การทำสมาธิเปรียบเสมือนให้สมองได้ดีท็อกซ์จากความคิดหลายอย่างในหัว เมื่อทำสมาธิจิตใจจะจดจ่ออยู่แค่กับลมหายใจ ทำให้สมองโปร่งโล่งไม่ต้องคิดอะไร สามารถช่วยลดความเครียดลงได้

สำหรับผู้ที่มีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือ การโมโห ตะคอก หรือให้คำแนะนำ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า สิ่งที่เราแนะนำไปนั้น มีคำไหนบ้างไปกระทบจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคือ การรับฟังอย่างจริงใจและการกอด เท่านั้นเพียงพอต่อคนเป็นโรคซึมเศร้า

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ไบโพลาร์ เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แปรปรวนสองขั้วสลับกันไปมา คือ อารมณ์ดีกับอารมณ์ก้าวร้าวแบบผิดปกติและอาการซึมเศร้าแบบผิดปกติ
เอ็นดอร์ฟิน เป็นสารแห่งความสุขที่ส่งผ่านเส้นประสาทที่ผลิตโดยต่อมใต้สมอง และต่อมใต้สมองส่วนล่าง ช่วยบรรเทาอาการปวด อาการเครียดได้
โดพามีน เป็นสารเคมีสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณในสมองและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการทำงานทางสรีรวิทยาและจิตวิทยา โดยโดพามีนจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษเมื่อเราทำอะไรที่บรรลุเป้าหมาย เป็นสารแห่งความสุขอีกตัวหนึ่ง
ออกซิโทซิน ฮอร์โมนความรัก เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง หน้าที่หลักคือ เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการคลอดลูกและให้นมลูก และทำให้เกิดสายใยผูกพันระหว่างแม่กับลูก หรือออกซิโทซินสามารถเกิดขึ้นได้จากความผูกพันกับคนอื่นๆ ด้วย เช่นเดียวกันการกอด หรือการมีเซ็กส์ที่สมองจะหลั่งฮอร์โมนตัวนี้ออกมา ทำให้เรารู้สึกรักและผูกพัน
เซโรโทนิน เซโรโทนินเป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบภายในร่างกาย โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ หากร่างกายมีปริมาณเซโรโทนินที่เหมาะสม จะทำให้มีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ แต่หากเซโรโทนินมีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์