เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมคนในสมัยโบราณบางคนถึงเสียชีวิตในขณะที่อายุยังน้อย นั่นก็เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ถูกพัฒนา และมีนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างเช่นทุกวันนี้ สมมติแค่เป็นไส้ติ่ง สำหรับในยุคก่อนๆ อาจจะไม่สามารถตรวจดูอวัยวะภายในได้ ทำให้ไม่ทราบอาการที่เกิดขึ้น และอาจวางแผนรักษาผิดวิธีทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่มาถึงปัจจุบัน เครื่องไม้เครื่องมือในการรักษาผู้ป่วย ช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุ ได้พัฒนามาไกลมาก อย่างเช่น MRI และ CT Scan ช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมากในการวินิจฉัยโรค
- MRI คืออะไร?
- MRI ตรวจอะไรได้บ้าง?
- ข้อดีและข้อจำกัดของ MRI
- CT Scan คืออะไร?
- CT Scan ตรวจอะไรได้บ้าง?
- ข้อดีและข้อจำกัดของการทำ CT Scan
- CT Scan กับ MRI ต่างกันอย่างไร?
- MRI และ CT Scan ไม่เหมาะกับใคร?
- MRI และ CT Scan เหมาะกับใคร?
โดยทั้งสองนวัตกรรมนี้ ทำให้แพทย์มองเห็นอวัยวะภายใน ส่วนไหนบ้างที่เสียหาย ส่วนไหนบ้างที่ผิดปกติ เรามาเจาะลึกกันว่า ทั้งสองนวัตกรรม MRI และ CT Scan มีความสำคัญอย่างไรกับวงการแพทย์
MRI คืออะไร?
MRI ย่อมาจาก Magnatic Resonance Imagine หมายถึง การตรวจร่างกายโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นวิทยุความถี่จำเพาะร่วมกับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอน์ ทำให้ได้ภาพอวัยวะ เนื้อเยื่อ กระดูกและภาพเสมือนของส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายโดยไม่ต้องใช้รังสี จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากรังสีตกค้าง และไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ ต่อผู้รับการตรวจ
สำหรับการตรวจร่างกายด้วยระบบ MRI Scan นั้น เป็นการตรวจวินิจฉัยที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูง ให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี ทำได้หลายระนาบ สามารถใช้ตรวจได้ทุกระบบของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของระบบสมองและกระดูกสันหลัง เครื่อง MRI จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับอุโมงค์ขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยสนามแม่เหล็กลึกประมาณ 1-2 เมตร และมีเตียงที่เลื่อนเข้า-ออกในอุโมงค์ได้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างภาพเสมือนจะตั้งอยู่นอกห้องตรวจ MRI ที่ควบคุมโดยนักรังสีเทคนิคและรังสีแพทย์
MRI ตรวจอะไรได้บ้าง?
- MRI สแกนสมอง – อัมพาต เส้นเลือดในสมองตีบ ปวดศีรษะบ่อย
- MRI scan ช่องท้อง – เนื้องอก ตับแข็ง ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี และถุงดีในตับอ่อน
- MRI scan กระดูกสันหลัง – หมอนรองกระดูก กระดูกสันหลักหักยุบ กระดูกทับเส้น เนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลัง
- MRI scan กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ – ข้อเข่าเสื่อม หรือการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- MRI scan เส้นเลือด – การไหลเวียนของเลือด ตรวจดูเส้นเลือด และความผิดปกติของระบบเส้นเลือด
ข้อดีและข้อจำกัดของ MRI
ข้อดีของการทำ MRI
- MRI สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ชัดเจน และให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ มีประโยชน์ต่อการรักษาและการติดตามผลการรักษา
- สามารถทำการตรวจได้ทุกระนาบ โดยไม่ต้องขยับหรือเคลื่อนย้าย เปลี่ยนท่าของผู้รับการตรวจ
- ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก นั่นก็คือเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ เช่น สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เป็นต้น
- สามารถตรวจหาสิ่งผิดปกติในร่างกานได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ
- สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยโรคไตวายจึงสามารถทำการตรวตได้ มีความปลอดภัยสูง รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ
- หลังทำการตรวจกลับบ้านได้ทันทีและไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ
- ไม่มีรังสีตกค้าง ผู้ตั้งครรภ์ 6-9 เดือน ก็สามารถตรวจได้ หากจำเป็นต้องทำการตรวจ
- ไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ ต่อผู้รับการตรวจ
- ให้รายละเอียดได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องแม่ยำอย่างรวดเร็ว
ข้อจำกัดของ MRI
- ผู้ป่วยบางราย มีอาการกลัวที่แคบ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ได้
- ผู้ป่วยที่เป็นเด็ก จะมีข้อจำกัดในการเข้าตรวจ MRI
- อาจต้องมีการกลั้นหายใจสำหรับการตรวจอวัยวะบางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยบางรายทำไม่ได้
- อวัยวะหรือโรคบางโรคอาจต้องมีการทำสแกนหลายครั้ง เพื่อตรวจดูภาพจากหลายมุม ทำให้ใช้เวลานาน
CT Scan คืออะไร?
CT Scan หรือ Compiterized Tomography หรือการเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจทางด้านรังสีวินิจฉัยอย่างหนึ่ง โดยใช้เอกซเรย์หมุนรอบตัว สแกนผู้ป่วยด้วยลำเเสงเอกซ์ โดยจะฉายลำแสงเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจในแนวตัดขวาง และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพในรูปแบบ 3 มิติ แล้วใช้ระบบคอมพิวเตอร์นำข้อมูลที่ได้สร้างเป็นภาพในแนวตัดขวางและหรือภาพในแนวระนาบอื่น ๆ โดยมีข้อบ่งชี้ของการตรวจดังนี้
- ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก
- ตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง
- ตรวจดูการคั่งของเลือดในสมอง ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน
- ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น
- ตรวจหาความผิดปกติของกระดูกและข้อต่อต่างๆ เช่น การหัก การหลุด หรือการอักเสบ เป็นต้น
CT Scan ตรวจอะไรได้บ้าง?
ปัจจุบันการตรวจด้วย CT Scan แบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
- ระบบสมอง – การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง ต่อมใต้สมอง ต่อมน้ำลาย ตา และคอ เป็นต้น โดยการตรวจจำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคได้ชัดขึ้น
- ระบบช่องท้องและทรวงอก – เป็นการตรวจเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจด้วยระบบนี้ ผู้ป่วยต้องดื่มสารทึบรังสี น้ำเปล่า และ/หรือการสวนสารทึบรังสีหรือน้ำเปล่าเข้าทางทวารหนัก เพื่อแยกลำไส้ออกจากเนื้อเยื่ออื่น ๆ ของช่องท้อง สำหรับผู้ป่วยหญิงอาจต้องใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดภายในช่องคลอด เพื่อแยกช่องคลอดออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์ และนอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคได้ชัดขึ้น
- ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลัง – มักนิยมใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือการอักเสบของข้อต่อต่าง ๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง โดยสามารถให้การวินิจฉัยโรคกระดูกได้ดีกว่าการตรวจเอกซเรย์ทั่วไป
- ระบบหลอดเลือด – การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงไต และหลอดเลือดแดงที่ขา และการตรวจนี้ต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำด้วย
ข้อดีและข้อจำกัดของการทำ CT Scan
ข้อดีของการทำ CT Scan
- สามารถสแกนตรวจอวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่ได้
- ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดในขณะตรวจ
- ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงกว่าการทำอัลตราซาวนด์ ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ
- สามารถสแกนได้รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสแกนแบบ MRI
ข้อจำกัดของ CT Scan
- อาจมีวัตถุแปลกปลอมที่รบกวนการแปลผลเอกซเรย์ เช่น เครื่องประดับต่าง ๆ
- ในขณะสแกนต้องกลั้นหายใจ ซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทำตามได้
- การสแกนสมองด้วย CT Scan อาจถูกกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะบังทำให้แปลผลได้ไม่แม่นยำ
- ในตำแหน่งอื่น ที่มีกระดูกอยู่จำนวนมาก เช่น กระดูกสันหลัง อาจเกิดการบดบังอวัยวะที่ต้องการวินิจฉัย จึงอาจได้ผลที่คลาดเคลื่อนได้
- CT Scan มีการใช้รังสีปริมาณมาก อาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพตามมา
CT Scan กับ MRI ต่างกันอย่างไร?
- การตรวจ CT Scan เป็นการตรวจที่มีความซับซ้อนกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา โดยแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ไปนังบริเวณที่ต้องการตรวจ เพื่อดูอวัยวะภายใน และทำการตรวจวินิจฉัยโรคหรือติดตามโรคเป็นระยะ ๆ ซึ่งการตรวจ CT Scan จะเป็นการตรวจที่มีความละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา
- การตรวจด้วยเครื่อง MRI จะเป็นการตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็ก และคลื่นวิทยุที่มีความเข้มสูงในการสร้างภาพเสมือนจริงของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายผู้ป่วย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ และส่วนที่ผิดปกติ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นจุดที่ผิดปกติในร่างกายได้อย่างชัดเจน และทำการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น โดยการแสดงภาพจะแสดงผลผ่านจอมอนิเตอร์ ที่มีความคมชัดสูงทั้งแนวขวาง แนวยาว และแนวเอียง เป็น 3 มิติ ที่มีความละเอียดมากกว่า CT Scan และการตรวจด้วย MRI นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยในระยะยาว
MRI และ CT Scan ไม่เหมาะกับใคร?
- MRI – สำหรับ MRI จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือโลหะภายในร่างกายบางชนิด เช่น ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ ผู้ที่ผ่าตัดคลิปอุดหลอดเลือด ผู้ที่ผ่าตัดฝังอวัยวะเทียมภายในหู และผู้ที่มีโลหะต่าง ๆ ภายในร่างกาย เนื่องจากเมื่อเข้าไปในสนามแม่เหล็กเเล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ จึงจำเป็นต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง
- CT Scan – ผู้ที่ต้องทำการตรวจด้วย CT Scan จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี เพื่อเพิ่มความคมชัดให้ภาพ ซึ่งผู้ป่วยมีโอกาสแพ้สารทึบรังสีได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่เป็นสตรีมีครรภ์ หรือผู้ป่วยเด็ก ส่งผลให้แพทย์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากกลุ่มเหล่านี้ต้องตรวจ CT Scan
MRI และ CT Scan เหมาะกับใคร?
ทั้ง MRI และ CT Scan นั้นเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดอุดตัน รวมถึง คนที่มีไลฟ์สไตล์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
สภาพแวดล้อมและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งทำให้ความเจ็บป่วยอยู่รอบตัวเรามากขึ้น การสูดฝุ่น PM 2.5 ก็อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งโดยไม่ทันรู้ตัว หรือแม้กระทั่งไลฟ์สไตล์การกิน การเที่ยว สิ่งเหล่านี้ที่เราทำทุกวัน ๆ อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรง ดังนั้นการตรวจสุขภาพและวางแผนรับมือตั้งแต่วันนี้เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรักจึงจำเป็น เพื่อที่คุณจะรักษาได้ไม่กระทบเงินเก็บ ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรงที่ไม่ว่าคุณกังวลกลุ่มโรคไหนก็คงเลือกความคุ้มครองได้ตามใจ หรือเลือกคุ้มครองทั้งหมด 80+ โรค คุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้ายแรง รวมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว เจอ จ่าย จบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)