Roojai

มะเร็งสมอง VS เนื้องอกในสมอง ต่างกันยังไง? อาการและการรักษา

ความแตกต่างของโรคมะเร็งสมองและเนื้องอกในสมอง I ประกันโรคร้ายแรง I รู้ใจ

ใครที่มีอาการปวดหัวบ่อย ๆ ปวดเรื้อรัง หรือบางครั้งเห็นภาพซ้อน อาการเช่นนี้เป็นเหมือน last call ที่ร่างกายส่งมาเตือนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในสมองของคุณ ซึ่งอาจจะมีเนื้องอกในสมอง หรืออาจมีสิ่งผิดปกติในสมอง ที่ร้ายไปกว่านั้น สัญญาณนี้อาจบอกว่าคุณกำลังจะเป็นมะเร็งในสมองก็เป็นได้

เนื้องอกในสมองเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่ เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย และอีกคำถามที่ถามกันเข้ามาบ่อย ๆ คือ เนื้องอกในสมองคือโรคเดียวกันกับมะเร็งในสมองหรือเปล่า ในบทความนี้ รู้ใจนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองว่า มันเกิดมาจากสาเหตุใด มีอาการและวิธีรักษาได้อย่างไร และจริง ๆ แล้วเนื้องอกในสมองกับมะเร็งในสมองนั้นเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ ตามหาคำตอบกันได้ในบทความนี้

เนื้องอกในสมองคืออะไร?

เนื้องอกในสมองหรือ Brain Tumor คือภาวะที่เซลล์ในสมองแบ่งตัวผิดปกติ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนเกิดเป็นเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมองนั้นมีทั้งเนื้องอกชนิดที่ดีและเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เนื้องอกในสมองมีมากกว่า 120 ชนิด ที่พบได้มากที่สุดคือ

  • เนื้องอกที่เกิดจากเซลล์สมอง 
  • เนื้องอกที่เกิดจากเยื่อหุ้มสมอง
  • เนื้องอกที่เกิดจากเส้นประสาทของหู
  • เนื้องอกที่เกิดขึ้นจากต่อมไร้ท่อในสมอง 
  • เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งของอวัยวะส่วนอื่น ๆ ที่แพร่กระจายมาถึงสมอง

เนื้องอกในสมอง VS มะเร็งในสมอง ต่างกันยังไง?

หากถามว่าโรคมะเร็งสมองต่างจากเนื้องอกในสมองอย่างไร คงต้องบอกว่า เนื้องอกมีทั้งเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง (เนื้องอกชนิดดี) และเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย (เนื้องอกชนิดไม่ดี) หมายถึงเนื้องอกที่เป็นมะเร็งและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งต่างจากมะเร็งที่เป็นเนื้อร้ายทั้งหมด แต่อย่าชะล่าใจไป เพราะหากเป็นเนื้องอกชนิดดี แต่ปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา เนื้องอกนั้นก็สามารถกลายพันธุ์ไปเป็นเนื้อร้ายได้เช่นกัน ทางที่ดีหากรู้ตัวว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นในสมอง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกชนิดดีหรือไม่ดี อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น

  • เนื้องอกในสมองมีกี่ประเภท?
  • เนื้องอกในสมองเกิดจากอะไร?
  • เนื้องอกในสมอง อาการเป็นยังไง?
  • เนื้องอกในสมองมีกี่ระยะ?
  • วิธีการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง
  • เนื้องอกในสมองรักษายังไง?

หนึ่งในวิธีการสร้างความมั่นคงทางการเงิน และเพื่อให้อุ่นใจหากตัวเราเองหรือหนึ่งในสมาชิกครอบครัวเกิดเจ็บป่วยด้วยมะเร็งในสมอง คือ การทำประกันมะเร็งเผื่อเอาไว้ เพราะอย่าลืมว่า อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ประกันมะเร็งที่รู้ใจให้ความคุ้มครองครอบคลุมโรคมะเร็งสมอง และมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ  ยังปรับแผนความคุ้มครองให้เลือกตามใจ เจอจ่ายจบ คุ้มครองสูงสุด 3 ล้านบาท

เนื้องอกในสมองมีกี่ประเภท?

เนื้องอกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง – เนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกธรรมดา หรือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง  ที่เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมอง หรืออาจเป็นการกลายพันธุ์ของเซลล์เอง ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ ซึ่งตามหลักแล้ว ก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง และสามารถรักษาให้หายขาดได้
  2. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงหรือเนื้อร้ายที่เป็นมะเร็ง – เป็นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือเซลล์มะเร็ง ที่อาจเกิดขึ้นบริเวณสมองหรือเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายที่เป็นอวัยวะส่วนอื่น ๆ แล้วแพร่กระจายตัวมาที่สมอง ซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว และอาจลุกลามหรือไปกดทับเนื้อเยื่อรอบข้างได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงและเป็นอันตรายถึงชีวิต

เนื้องอกในสมองเกิดจากอะไร?

เนื้องอกในสมองเกิดจากอะไร? เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะเกิดความกังวลในเรื่องนี้ เพราะคำตอบของคำถามที่ว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดเนื้องอกนั้น ปัจจุบัน ยังไม่มีคำตอบ แต่สามารถบอกได้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเนื้องอกในสมองได้ ดังต่อไปนี้

  1. อายุ – แม้ว่าเนื้องอกในสมองจะสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป โอกาสในการเกิดเนื้องอกในสมองจะสูงขึ้น
  2. เพศ – จากสถิติผู้ป่วยเนื้องอกในสมองมักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  3. สารเคมี – การสัมผัสโดนสารเคมีหรือกัมมันตรังสีบางชนิดในที่ทำงาน
เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งในสมองหรือไม่ I ประกันโรคร้ายแรง I รู้ใจ

เนื้องอกในสมอง อาการเป็นยังไง?

เนื้องอกในสมอง อาการมีหลายแบบ ส่วนใหญ่อาการที่พบและควรรีบไปพบแพทย์ มีดังต่อไปนี้

  1. ปวดศีรษะ – แม้ว่าหลาย ๆ คนคิดว่าการปวดหัวเป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ปวดหัวได้ แต่อาการของโรคเนื้องอกในสมองนั้น การปวดหัวจะไม่เหมือนกัน เช่น
    • มีอาการปวดหัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ หรือบางคนปวดหัวเป็นเดือน ๆ ก็มี และอาการปวดนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
    • มักจะมีอาการปวดหัวในตอนกลางคืน ปวดถึงขนาดตื่นมาตอนกลางดึก
  2. มีอาการอ่อนแรงของร่างกายไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่ง – หรือการทำงานของเส้นประสาทบางเส้นอ่อนแรง ส่วนใหญ่แล้วอาการแบบนี้จะค่อยเป็นค่อยไป และจะมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตาม ระยะเวลา ตัวอย่างเช่น มีอาการแขนอ่อนแรง อาจเริ่มจากน้อย ๆ ไปจนถึงอ่อนแรงมากมักจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา หรือในบางกรณีผู้ป่วยมีอาการหน้าเบี้ยวหรือหูไม่ได้ยิน
  3. อาการจากการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
    • อาการกระตุก 
    • อาการชักเฉพาะที่ เช่น ที่แขน ที่ขา หรือที่หน้า 
    • อาการชักในผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีประวัติการเกิดอาการชักมาก่อน ก็อาจจะมาจากสาเหตุ เนื้องอกในสมองได้
  4. อาการทั่วไป เช่น
    • ปวดหัวเรื้อรังมากกว่า 15 วันต่อเดือน ในระยะเวลา 3 เดือนติดกัน
    • คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะจะอาเจียนในตอนเช้า 
    • จะค่อย ๆ สูญเสียความรู้สึก หรือสูญเสียการเคลื่อนไหวแขน ขา หรือมีอาการชา อัมพาตในบางส่วน
    • มีปัญหาในการทรงตัวยืน หรือเดิน
    • มีอาการสับสน สูญเสียความทรงจำ หรือมีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป
    • หูอื้อ
    • กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าชา หรือเป็นเหน็บ 
    • กลืนอาหารได้ลำบาก
    • ตาพร่ามัว หรือเห็นเป็นภาพซ้อน
    • มีความบกพร่องทางการพูด มีความลำบากในการเข้าใจและการใช้ภาษา
    • มีปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลำไส้

เนื้องอกในสมองมีกี่ระยะ?

ระยะของความรุนแรงของโรคเนื้องอกในสมองจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 – เป็นระยะที่ก้อนเนื้อยังเติบโตช้า และไม่มีการแพร่กระจาย สามารถผ่าตัดและรักษาให้หายขาดได้
  • ระยะที่ 2 – เป็นระยะปานกลาง ก้อนเนื้อจะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของสมอง จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกนานหลายปีเพราะเนื้องอกเติบโตช้า
  • ระยะที่ 3 – ระยะนี้เนื้องอกจะจัดว่าเป็นมะเร็ง และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • ระยะที่ 4 – เป็นระยะโรคที่มีความรุนแรงมาก และผู้ป่วยมักเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

พฤติกรรมเปลี่ยนช่วยเลี่ยงเนื้องอกในสมอง

ด้วยความที่มะเร็งและเนื้องอกในสมอง ยังไม่มีสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด ดังนั้น การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต น่าเป็นทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้ห่างไกลจากโรค ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ work-life-balance เพื่อป้องกันความเครียดจากงานจนเกินไป ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมยามว่างในวันหยุด เลือกรับประทานแต่ของที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย งดดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่ ที่สำคัญการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดทุกปี จะสามารถช่วยได้หากพบสิ่งผิดปกติ

โรคมะเร็งสมองและเนื้องอกในสมอง สาเหตุ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน I ประกันโรคร้ายแรง I รู้ใจ

วิธีการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

  1. ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยา เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ ทางร่างกาย
  2. ส่งตรวจหาเนื้องอกในสมอง กรณีนี้ เป็นกรณีที่อาการป่วยของผู้ป่วยนั้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งทำใช้วิธีการสแกนสมอง เช่น PET, CT Scan หรือ MRI   ทั้งหมดนี้ เพื่อแพทย์จะได้ภาพสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ หากตรวจแล้วพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจต้องส่งผู้ป่วยตรวจดูอวัยวะอื่นร่วมด้วย เพื่อค้นหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย
  3. ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ หรือ Biopsy เพื่อหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่มีความรุนแรงอยู่ในระยะไหน เป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย เพื่อจะได้ทำการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม

เนื้องอกในสมองรักษายังไง?

1. รักษาด้วยผ่าตัด

หากพบว่าเนื้องอกในสมองเกิดขึ้นในบริเวณที่ง่ายต่อการผ่าตัด และไม่กระทบกับเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อที่ผิดปกติออกไปจากบริเวณที่มีเนื้องอกในสมองมากที่สุด ซึ่งนวัตกรรมการผ่าตัดสมองนี้ สามารถทำได้ 2 วิธี

  • การผ่าตัดด้วยกล้องกำลังขยายสูง หรือ Microscopic ซึ่งเป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งไปในจุดที่ลึกมาก ๆ ได้ ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียดในการผ่าตัดมากขึ้น ทั้งเส้นประสาท และเรื่องของพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้อย่างชัดเจน วิธีนี้มีความปลอดภัยสูง และช่วยลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  • การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก หรือ Endoscopic จะเป็นกล้องที่มีลักษณะที่เป็นแท่งสอดเข้าไปในสมองบริเวณที่ต้องการทำการผ่าตัด กล้องมีความละเอียดสูงสามารถมองเห็นในจุดที่ลึกลงไปได้อย่างชัดเจน วิธีนี้เหมาะกับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น ผ่าตัดระบายน้ำคั่งในสมอง และผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง เป็นต้น

2. รักษาด้วยรังสีวิทยา

เป็นการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงไปฆ่าและทำลายเนื้องอกในสมองที่เป็นเซลล์มะเร็ง เพื่อลดความเสียหายต่อเซลล์ปกติในสมอง เช่น

  • วิธีการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม หรือ IMRT 
  • วิธีการฉายรังสีแบบระบบนาวิถี หรือ IRCT 
  • วิธีฉายรังสีแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วย หรือ VMAT

วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการเพิ่มอัตราส่วนของกัมมันตรังสีเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอกและไม่ไปทำลายเนื้อเยื่อปกติ

3. การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ Chematherapy

เป็นการใช้ยารักษาและเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอก ที่มีทั้งรูปแบบการรับประทานและการฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแพทย์จะประเมินและจ่ายยาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย และอาจมีการใช้ยาร่วมกันหลายรูปแบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาการ และระดับความรุนแรงของโรค หากเป็นก้อนเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะส่วนอื่น อาจต้องได้รับยารักษาตามชนิดของมะเร็งเป็นกรณี ๆ ไป

การรู้และวินิจฉัยมะเร็งและเนื้องอกในสมองตั้งแต่ระยะแรก ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นมากที่สุด และการตรวจสุขภาพประจำปี การสังเกตอาการผิดปกติในร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีในระยะยาว

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

กัมมันตรังสี กัมมันตรังสี Radioactive หรือ ธาตุกัมมันตรังสี เป็นวัตถุที่สามารถปล่อยรังสีออกมาได้ และรังสีที่ปล่อยออกมานั้น เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต โดยสามารถทำอันตรายได้ถึงระดับพันธุกรรม
ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ หรือ Biopsy เป็นการตัดเอาชิ้นเนื้อที่น่าสงสัยออกไป เพื่อวัตถุประสงค์ในการยืนยันชนิดของชิ้นเนื้อ และระบุถึงความรุนแรงของเนื้อเยื่อด้วยการตรวจเพิ่มโดยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น