Roojai

สมองเสื่อม VS อัลไซเมอร์ แตกต่างกันยังไง โรคไหนร้ายแรงกว่า

อัลไซเมอร์ | อาการ | วิธีป้องกัน | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

รู้มั้ย? โรคสมองเสื่อมกับโรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่โรคเดียวกัน แม้ว่าอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมอาจมีอาการคล้ายกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว วันนี้รู้ใจจะมาพูดถึงความแตกต่างระหว่างโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ โรคไหนร้ายแรงกว่ากัน วิธีสังเกตอาการ การรักษา และวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อม บทความนี้มีคำตอบ

โรคสมองเสื่อมคืออะไร?

โรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลง จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการจะประกอบด้วยหลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น หลงลืมง่าย คิดเงินไม่ถูก หาของไม่เจอ หลงทางในที่ที่คุ้นเคย หรือมีพฤติกรรมแปลกแตกต่างจากเดิม เป็นต้น 

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือโรคความจำเสื่อมเป็นหนึ่งในโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน และเมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะไม่มีทางรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาการจะแย่ลงจนถึงขั้นที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่สามารถแยกผิดหรือถูกได้ มีปัญหาในการพูด การใช้ภาษา รวมถึงการประสานงานของกล้ามเนื้อจะเสียไป 

โรคสมองเสื่อมกับโรคอัลไซเมอร์แตกต่างกันยังไง?

ความแตกต่างของโรคสมองเสื่อมกับโรคอัลไซเมอร์ สรุปเป็นข้อเพื่อทำความเข้าใจได้ง่ายดังนี้

  1. โรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อม ไม่ใช่โรคเดียวกัน
  2. โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคสมองเสื่อม
  3. โรคสมองเสื่อมคือภาวะการถดถอยในการทำงานของสมอง ซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วน 
  4. โรคสมองเสื่อมแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่สามารถรักษาให้หายได้ และกลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ซึ่งก็คืออัลไซเมอร์นั่นเอง

หลงลืมตามวัยกับโรคอัลไซเมอร์ต่างกันยังไง?

  • อาการหลงลืมตามวัย

โดยปกติ เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี สมองของเรามักจะถดถอยตามวัย มีอาการคิดช้า ใช้เวลานานในการนึก การตัดสินใจแย่ลง มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรือนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ไม่ออก แต่จะนึกออกเมื่อมีการบอกใบ้ และผู้ที่มีอาการหลงลืมตามวัย จะสามารถใช้ชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ปกติ 

  • อาการหลงลืมที่เข้าข่ายเป็นอัลไซเมอร์

มักจะมีอาการจำไม่ได้เลยว่าเคยมีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น ลืมแล้วลืมเลยลืมแม้กระทั่งการใช้ภาษา หรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือไม่เป็น เปิดประตูไม่ได้ ลืมวิธีกดรีโมต ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 

อัลไซเมอร์ | โรคสมองเสื่อม | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

อัลไซเมอร์ อาการเป็นยังไง?

  • อาการหลงลืม เช่น ลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมวันสำคัญ หรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา
  • สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล หาทางกลับบ้านไม่ถูก หลงทาง หรือไม่รู้วิธีเดินทางไปในที่ที่ไปเป็นประจำ
  • จดจำบุคคลหรือเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ 
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือเรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำ ๆ 
  • ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก
  • มีปัญหาเรื่องการนับเงิน การดูนาฬิกา การใช้โทรศัพท์
  • มีพฤติกรรมที่ไม่ปกติ เช่น ออกนอกบ้านในเวลากลางคืน หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว
  • ไม่สามารถทำความสะอาดร่างกาย เช่น อาบน้ำเองไม่ได้ แปรงฟันเองไม่ได้
  • มีอาการซึมเศร้า หรือร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล

อาการของโรคสมองเสื่อมเป็นยังไง?

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์มาสักพัก อาจสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อมแล้วหรือยัง ลองตรวจสอบอาการต่าง ๆ เหล่านี้ดู

  • การเรียบเรียงคำพูด หรือความเข้าใจในการใช้ภาษาลดลง เช่น หยุดพูดกลางคันเพราะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังพูดเรื่องอะไร รวมถึงพูดน้อยลง
  • สับสนเรื่องเวลาและสถานที่ เดิน ๆ อยู่อาจลืมไปว่า ตอนนี้กำลังเดินอยู่ที่ไหน หรือจะสามารถเดินทางไปที่ที่ไปประจำได้อย่างไร
  • ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำมาก่อนได้ เช่น ลืมการเปลี่ยนช่องทีวี
  • มีความบกพร่องในการรับรู้ หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่รู้วิธีใช้สิ่งของ และไม่สามารถแยกรสชาติหวาน มัน เค็ม เปรี้ยว เผ็ดได้
  • มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ การตัดสินใจ การแก้ปัญหาต่าง ๆ 
  • มีความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว และไม่สามารถไปไหนมาไหนตามลำพังได้
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น มีอาการเฉื่อยชา ซึมเศร้า ก้าวร้าว เห็นภาพหลอน ขี้ระแวง

ถ้าจะให้ตอบคำถามว่าระหว่างโรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อมอย่างไหนร้ายแรงกว่ากัน คงจะต้องตอบว่า จริง ๆ แล้วทั้ง 2 โรคนี้ ร้ายแรงทั้งคู่ เพียงแต่อัลไซเมอร์ร้ายแรงกว่าตรงที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ มีเพียงการประคองอาการไม่ให้แย่ลงเท่านั้น 

ส่วนการรักษาโรคสมองเสื่อมจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของสมองเสื่อม เช่น หากสมองเสื่อมเกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน การรักษาจะมุ่งเน้นไปทางการให้ยา เป็นต้น

ใครเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์?

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด 2 โรคนี้ คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 45 – 60 ปีขึ้นไป กลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอักเสบ และไม่ใช่แค่นั้นกลุ่มคนในวัยทำงาน หรือกลุ่มวัยรุ่นก็มีสิทธิเกิดโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน 

พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดทั้ง 2 โรคนี้ได้เช่นกัน เช่น คนที่นอนดึก จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่เข้านอนเร็ว การนอนดึกจะทำให้สมองเกิดความอ่อนล้า เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การความเสื่อมของสมองก่อนวัยอันควร 

วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อม

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึกจนกลายเป็นนิสัย
  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด
  3. หากิจกรรมทำ เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้กับสุขภาพใจ
  4. หากมีปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า ควรปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษา

โรคร้ายอย่างอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ การดูแลสุขภาพตนเองอย่างดีที่สุด กินอาหารที่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และไม่เครียดก็เป็นส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค นอกจากนั้นการทำประกันโรคร้ายแรงให้กับตนเองและคนที่เรารักจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน ให้เราไม่ต้องเครียดกับค่ารักษาพยาบาล และสามารถวางใจรักษาตัวจนหายดี ก็ยังมีเงินเก็บใช้ชีวิตต่อได้ไม่มีสะดุด

ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรง CI Focus เจอ จ่าย จบ ตรวจพบโรคร้ายแรงรับเงินก้อนตามแผนความคุ้มครองของคุณ รวมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว คุ้มครองสูงสุดถึง 2 ล้านบาท

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)