ทราบหรือไม่? ว่ามีการตรวจพบผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามากถึง 10-20% ของประชากร และส่วนใหญ่นั้นจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้อาจเพราะจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ทั้งความคล่องตัว การใช้ความคิด ความจำ อารมณ์ และผิวพรรณที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้สูงอายุบางคนเกิดความวิตกกังวล ส่งผลให้สภาพจิตใจหดหู่ ย่ำแย่ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุคืออะไร?
- สัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- สาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- โรคซึมเศร้าในผู้อายุอันตรายหรือไม่?
- วิธีรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- วิธีการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- รู้มั้ย นอกจากโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุเสี่ยงอะไรอีกบ้าง?
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุคืออะไร?
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ หรือ Late-life depression เป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดในผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
- อาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าวัยสูงอายุ
- อาการซึมเศร้าที่เกิดเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อาจจะเริ่มจากมีอาการเล็กน้อย จิตใจไม่แจ่มใส ไปจนถึงอาการรุนแรงหรือมีอาการโรคจิตเวชในผู้สูงอายุร่วมด้วย เช่น อาการหลอน หรือคิดอยากฆ่าตัวตาย
สัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
วิธีสังเกตผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิตหรือสัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
- สภาวะอารมณ์เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เคยเป็นคนอารมณ์ดี เปลี่ยนเป็นขี้หงุดหงิด ขี้บ่นมากขึ้น หรือมีความสนใจในสิ่งที่ตัวเองชอบลดน้อยลง
- รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า เบื่อที่จะมีชีวิตอยู่ ไม่อยากทำอะไร นิ่งเงียบมากขึ้น ละเลยการดูแลตัวเอง ไม่กินยา เบื่ออาหาร
- มีปัญหาเรื่องการนอน นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือชอบตื่นกลางดึก
- ประสิทธิภาพด้านความจำลดลง สมาธิสั้น
- ปวดเมื่อย อ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ
รู้มั้ย นอกจากโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุเสี่ยงอะไรอีกบ้าง?
แน่นอนว่าโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชในผู้สูงอายุ ทั้งน่ากลัวและเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม แต่ก็ผู้สูงอายุก็ยังมีความเสี่ยงที่ควรรู้ ทั้งเรื่องการหกล้ม สมองเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง การเดินช้าประสาทสัมผัสหูตาจมูกไม่ดีเหมือนเดิม ระบบขับถ่ายทั้งในเรื่องปัสสาวะและอุจจาระ กระดูกพรุน การทรงตัว และการเหนื่อยง่าย ทั้งหมดนี้คือความเสี่ยงอาการที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญ แม้สภาพร่างกายคนแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนกัน แต่ร่างกายของเราก็เสื่อมสภาพตามวันและเวลา การหมั่นดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพประจำปี และการเช็คอาการโรคซึมเศร้าจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
สาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
อาการซึมเศร้าอาจเป็นผลมาจากโรคทางจิตเวช เช่น Major depression disorder, Bipolar disorder ซึ่งเป็นความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง (สารเคมีในสมอง) ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการทางจิตเวชอื่น ๆ ว่ามีแทรกซ้อนหรือไม่ สำหรับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชโดยตรง ปัจจัยของปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง ดังนี้
1. ปัจจัยทางร่างกาย
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือด ความดัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมอง โรคไตวายเรื้อรัง จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น
- ผู้ป่วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคที่สามารถทำให้พิการ หรือมีอาการปวดเรื้อรังที่ควบคุมได้ไม่ดี
- ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน หรือมีภาวะเนื้อสมองฝ่อตายก่อนเวลาอันควร จะส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ของคนไข้ เช่น อาจมีอาการเชื่องช้ากว่าปกติ ไม่ค่อยมีแรง พูดช้า คิดช้า ความจำแย่ลง ผู้สูงอายุในกลุ่มเช่นนี้ จะมีภาวะทางกายคล้ายคนเป็นซึมเศร้า
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก หรือรับประทานยาบางชนิด
- ผู้ที่มีภาวะขาดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ หรือผู้ที่ขาดวิตามิน B12 และ Folate
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เกิดจากปัจจัยทางร่างกาย นอกจากความเจ็บป่วยแล้ว ยังมีผู้สูงอายุหลายคนที่เครียดและกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายของค่ารักษาพยาบาล อาจทำให้อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุรุนแรงขึ้น ดูแลคนที่คุณรักและรักษาความเสี่ยงทางการเงิน ในวันที่เจ็บป่วยยังมีประกันภัยออกค่ารักษาพยาบาลให้ ประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจ เจอจ่ายจบ ตรวจพบรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท คุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้าย มะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว
2. ปัจจัยทางสังคม
- จากเหตุการณ์สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เสียคู่ชีวิต หรือคนในครอบครัว
- สูญเสียสถานะในครอบครัว หรือในสังคม
- ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้
- มีปัญหาภาระหนี้สิน รายได้น้อย ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่?
ในผู้สูงอายุภาวะโรคซึมเศร้าอาการมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงภาวะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นซึมเศร้าจะไม่ค่อยสนใจตัวเอง กินน้อยลงหรือไม่กินเลยก็มี รู้สึกเบื่อไปหมด ไม่อยากมีชีวิตอยู่ รู้สึกตัวเองเป็นภาระหรือ looser ไม่ออกกำลังกาย หรืออยากทำกิจกรรมใด ๆ
ภาวะเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และยิ่งหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาจทำให้โรคกำเริบขึ้นได้และหากไม่ได้รับการดูแล เอาใจใส่ สภาพจิตใจของผู้สูงอายุอาจแย่ลงจนถึงขั้นอยากจบชีวิตตัวเอง หรือทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ แม้ว่าสถิติการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุจะน้อย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเลือกวิธีที่รุนแรง และทำสำเร็จเสียเป็นส่วนใหญ่
วิธีรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- หากโรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากภาวะทางจิตเวชโดยตรงต้องเข้าพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยใช้ยารักษาตามอาการเป็นหลัก หรือในบางรายอาจต้องพึ่งพานักจิตบำบัดควบคู่ไปด้วย
- หากสาเหตุมาจากทางกายหรือทางสังคม อาจต้องอาศัยการปรับตัวของคนรอบข้างหรือสมาชิกในครอบครัว ให้ทำความเข้าใจและเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ ในรายที่อาการรุนแรง อาจต้องใช้ยารักษาร่วมด้วย เช่น ยาต้านเศร้าระดับอ่อน ๆ
วิธีการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
หลังจากที่รักษาอาการซึมเศร้าหายแล้วแต่ใช่ว่าจะไม่กลับมาเป็นอีก มันสามารถกลับมาได้ตลอดเวลาหากคนใกล้ชิดขาดการดูแล เอาใจใส่ ซึ่งอัตราการกลับมาเป็นซึมเศร้าในผู้สูงอายุมีมากเลยทีเดียว สมาชิกในบ้าน ญาติ หรือคนในครอบครัว สามารถควบคุมปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- ทำความเข้าใจในผู้ป่วยให้มาก ใจเย็น และคอยรับฟังให้มาก หรือพาออกไปทำกิจกรรมในวันหยุดเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ การดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าหรือเคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าต้องอาศัยความเข้าใจในตัวผู้ป่วยมาก รวมถึงแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัวด้วย
- เก็บของมีคม อาวุธ หรือสารเคมี สารพิษในบ้าน ให้ไกลผู้ป่วยมากที่สุด
- ไม่ควรทิ้งให้อยู่ตามลำพัง
- ไม่ควรปรับลดหรือเพิ่มยาเอง
- พบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ
โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่สามารถพบได้บ่อย ๆ ในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปัญหาที่มักถูกมองข้ามหรือเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการปกติของช่วงวัย เช่น อาการพูดคนเดียวของคนแก่ โมโหง่าย ขี้งอน เป็นต้น ทำให้โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุส่งผลรุนแรงมากขึ้น ทั้งต่อคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว และอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองในที่สุด ดังนั้นเราทุกคนควรหมั่นสังเกตและเช็คสัญญาณอาการต่าง ๆ ของผู้สูงวัยที่บ้าน ป้องกันโรคซึมเศร้าและยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวได้อีกด้วย
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
สภาพจิตใจ | ภาวะทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของบุคคลในช่วงเวลาหนึ่ง |
อาการหลอน | อาการการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เห็นภาพ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรส หรือเกิดความรู้สึกใด ๆ ที่ไม่มีอยู่ในความเป็นจริง |