Roojai

ผู้ป่วยอาการโคม่ามีกี่แบบ รักษาได้มั้ย เสี่ยงอะไรบ้าง

สาเหตุและประเภทของโคม่า | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

อาการโคม่า คือ ภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือสูญเสียการรับรู้จากภายนอกและสิ่งรอบข้างเป็นเวลานาน แต่ระบบอื่น ๆ ในร่างกายยังคงทำงานได้ตามปกติ ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้หากได้รับการรักษาได้ทันเวลา ผู้ป่วยโคม่าอาการเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า ผู้ป่วยจะอยู่ในอาการโคม่าได้นานแค่ไหน และผลที่ตามมาคืออะไร พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน

อาการโคม่า คืออะไร?

อาการโคม่า คือ ภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือสูญเสียการรับรู้จากภายนอกและสิ่งรอบข้างเป็นเวลานาน แต่ระบบอื่น ๆ ในร่างกายยังคงทำงานได้ตามปกติ ผู้ที่อยู่ในอาการโคม่าจึงยังไม่ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิต แต่จัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด เพื่อรักษาชีวิตและการทำงานของสมองของผู้ป่วย 

โดยอาการโคม่านั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการบาดเจ็บของสมอง โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง หรือภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยมักจะมีอาการดีขึ้นเองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าหากเวลาผ่านไปสักระยะแล้ว แต่ผู้ป่วยยังคงไม่รู้สึกตัว แพทย์อาจประเมินว่าผู้ป่วยได้เข้าสู่สภาพผักอย่างเรื้อรัง

อาการโคม่าเป็นยังไง?

  • เมื่อส่องไฟเข้าไปที่รูม่านตาของผู้ป่วย แต่รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสงและตาปิดสนิท
  • การหายใจผิดปกติ ในผู้ป่วยบางราย อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในกรณีที่ไม่สามารถหายใจได้เอง
  • ผู้ป่วยมีอาการนอนนิ่ง ๆ คล้ายคนกำลังนอนหลับ แต่จะไม่ตื่นหรือไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวดใด ๆ เช่น แขนขาไม่ขยับ กดที่เล็บหรือหยิกที่เนื้อแล้วผู้ป้วยไม่ตอบสนอง เป็นต้น

อาการโคม่า แบ่งออกได้หลายประเภท

  • เกิดจากสมองขาดออกซิเจน

เป็นภาวะที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มักจะเกิดจากอาการหัวใจขาดเลือด การบาดเจ็บที่สมอง การจมน้ำ การได้รับสารพิษ หรือการใช้ยาเกินขนาด (Overdose) ทั้งนี้ หากสมองขาดออกซิเจนเพียงแค่ 2-3 นาที ก็อาจนำไปสู่ภาวะสมองตายได้ 

  • เกิดจากสมองผิดปกติจากการได้รับสารพิษ

เป็นภาวะที่สมองเกิดอาการผิดปกติอย่างเฉียบพลัน โดยจะมีอาการมึนงงและเพ้อร่วมด้วย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคประจำตัวเรื้อรัง การติดเชื้อ หรือการทำงานของอวัยวะล้มเหลว เป็นต้น

เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่สามารถพบได้น้อย โดยผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือส่วนต่าง ๆ ได้ ยกเว้น กล้ามเนื้อดวงตา ทั้งนี้ ผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัวและมีสภาพจิตใจที่เป็นปกติ

โอกาสที่จะหายดีและความเสี่ยงหลังอยู่ในภาวะโคมา | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ
  • สภาพผักเรื้อรัง

สภาพผักเรื้อรัง เป็นภาวะที่ร่างกายไม่รู้สึกตัวขั้นรุนแรง โดยผู้ป่วยจะสูญเสียการรับรู้ต่อสิ่งรอบข้าง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ แต่ระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด รวมไปถึงวงจรการตื่นและการนอนหลับยังคงทำงานตามปกติ 

  • ภาวะสมองตาย 

เป็นภาวะที่สมองหยุดทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บเรื้อรังที่สมอง หรืออาการบาดเจ็บที่สมองนั้นลุกลามและรุนแรงมากขึ้น 

  • ภาวะโคม่าจากการใช้ยา

ภาวะโคม่าจากการใช้ยา ไม่ได้หมายถึง การ Overdose แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว หลังจากได้รับยาสลบทางการแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะสมองบวมหลังจากเกิดการบาดเจ็บที่สมอง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

ภาวะแทรกซ้อนจากอาการโคม่า

ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาอาการผิดปกติ หรือจากโรคอันเป็นสาเหตุของอาการโคม่า อาจค่อย ๆ รู้สึกตัวและมีความสามารถในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้น จนสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ 

แต่ในบางราย โดยเฉพาะในรายที่สมองเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง อาจเสี่ยงพิการตลอดชีวิต หรืออยู่ในสภาพผักเรื้อรัง รวมถึงมีโอกาสตกอยู่ในภาวะสมองตาย ซึ่งหากถามถึงการคำนวณวันเวลาที่ผู้ป่วยจะฟื้นขึ้นมานั้นอาจทำได้ยาก ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเสียหายของสมอง

การป้องกันอาการโคม่า

  • วิธีป้องกันอาการโคม่า ทำได้โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การดื่มสุรา หากดูแลรักษาสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และใช้ความระมัดระวังทุก ๆ ครั้ง ในการขับขี่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่อาจกระทบกระเทือนถึงสมอง 
  • นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโคม่า เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด 
  • สำหรับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโคม่า ควรหมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วย หากมีอาการผิดปกติให้รีบนำตัวส่งเข้าโรงพยาบาลทันที

ผู้ป่วยจะสามารถอยู่ในอาการโคม่าได้นานแค่ไหน?

ผู้ป่วยอาจอยู่ในอาการโคม่าได้นานหลายวันถึงหลายสัปดาห์ หากมีอาการโคม่าที่รุนแรงมาก อาจอยู่นานได้ถึง 5 สัปดาห์ บางรายอาจอยู่ในอาการโคม่าเป็นปี ซึ่งเมื่อพ้นช่วงนี้ไปแล้ว ผู้ป่วยบางรายจะค่อย ๆ อาการดีขึ้นและพ้นจากภาวะโคม่า ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการแย่ลง ตกอยู่ในสภาพผัก หรือเสียชีวิต 

ภาวะโคม่าอาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเกิดจากอาการของโรคต่าง ๆ ก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือไม่มีใครคาดคิดได้ว่าจะเกิดอาการนี้ขึ้นกับตัวเองมั้ย หากไม่เกิดขึ้นเลยก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเกิดขึ้นแล้ววันนั้น ตัวเราและครอบครัวจะมีวิธีรับมืออย่างไรเมื่อต้องเข้าโรงพยาบาล

วางแผนรับมือตั้งแต่วันนี้ เพื่อวันหน้าไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในวันที่เป็นโรคร้าย ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรง เจอ จ่าย จบ หากตรวจพบโรคร้ายรับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท กังวลกลุ่มโรคไหนก็คงเลือกความคุ้มครองได้ตามใจ ถึง 4 กลุ่มโรคร้ายแรง รวมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)