Roojai

รู้ทัน “มะเร็งปากมดลูก” โรคมะเร็งที่พรากชีวิตหญิงไทยอันดับ 1

มะเร็งปากมดลูก | วิธีรักษามะเร็ง | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

การตรวจสุขภาพประจำปีคือเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในหมู่สาว ๆ วัยทำงานถือเป็นเรื่องที่ห้ามละเลยเพราะคิดว่าร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ แต่ทราบหรือไม่ว่านี่อาจทำให้คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคในผู้หญิงได้ อย่างโรคมะเร็งปากมดลูกที่ไม่แสดงอาการในช่วงระยะแรก ๆ แต่เมื่อหนักขึ้นมาก็คร่าชีวิตของคุณได้เลย วันนี้รู้ใจจะมาแชร์ถึงความน่ากลัวของโรคนี้ สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และแนวทางการรักษา

ทราบหรือไม่ว่ามะเร็งที่ถูกตรวจพบมากที่สุดในผู้หญิงอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งเต้านม ตามมาด้วยอันดับ 2 คือ มะเร็งปากมดลูก แต่สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้หญิงกลับมาจากมะเร็งปากมดลูกเพราะมะเร็งปากมดลูก ในระยะเเรก ๆ จะไม่แสดงอาการจนทำให้หลายคนมองข้ามความน่ากลัวของภัยนี้ มะเร็งปากมดลูกคืออะไร เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร อาการมะเร็งปากมดลูก รวมถึงวิธีรักษามะเร็งปากมดลูกจะเป็นยังไง วัคซีนมะเร็งปากมดลูกช่วยป้องกันได้มั้ย เรียนรู้ไปด้วยกันด้านล่างนี้เลย

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?

หนึ่งในมะเร็งไม่กี่ชนิดที่รู้สาเหตุชัดเจนว่ามะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัส HPV ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อ HPV เหล่านี้มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน พฤติกรรมเหล่านั้นมีอะไรบ้าง เราตามไปอ่านกัน แต่ก่อนจะทราบถึงพฤติกรรมเสี่ยง มาทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Human Papilloma Virus หรือ HPV ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยอาจได้รับเชื้อมาจากหลายช่องทางเช่น ทางปาก ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก โดยเชื้อ HPV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก โดยเชื้อ HPV มีทั้งหมดกว่า 100 สายพันธุ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 

  • สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก เช่น สายพันธุ์ที่ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 58 
  • สายพันธุ์ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่อาจทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ 

อาการมะเร็งปากมดลูกเป็นยังไง?

อาการมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ก่อนที่กลายเป็นมะเร็ง แต่ส่วนใหญ่แล้วในระยะแรก ๆ จะไม่มีอาการใด ๆ สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกประจำปี อาการมะเร็งปากมดลูก จะมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • อาการเริ่มแรกมะเร็งปากมดลูกจะไม่แสดงอาการใด ๆ
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น ประจำเดือนมาเยอะผิดปกติ หรือประจำเดือนแบบกะปริบกะปรอย
  • เลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือน
  • ตกขาวผิดปกติ เช่น มีกลิ่น มีเลือดปน หรือมีปริมาณมากผิดปกติ
  • ปวดหน่วงที่ท้องน้อย

พฤติกรรมเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก

  1. ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 18 ปี
  2. ผู้หญิงที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน หรือแฟนมีคู่นอนหลายคน
  3. ผู้หญิงที่คลอดบุตรมากกว่า 3 คนขึ้นไป
  4. เป็นโรคที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  5. เคยติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น เริม หนองใน ฯลฯ
  6. ผู้หญิงสูบบุหรี่ 
อาการมะเร็งปากมดลูก | วัคซีนมะเร็งปากมดลูก | ประกันมะเร็ง | รู้ใจ

วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก

เชื้อ HPV เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ HPV ซึ่งมีวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกดังต่อไปนี้

  1. ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV
  2. สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  3. หลีกเลี่ยงอาหารก่อมะเร็งต่าง ๆ 
  4. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับเชื้อ HPV ในระยะแรก หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เชื้อจะสามารถหายได้เอง 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกควรตรวจเมื่อไหร่?

วิธีการตรวจหามะเร็งปากมดลูกมี 2 วิธี คือ การตรวจ PAP Test และ การตรวจหาเชื้อ HPV โดยมีแนวทางในการตรวจดังนี้

  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 25 – 30 ปีขึ้นไป
  • เลือกวิธีการตรวจวิธีใดวิธีหนึ่งหรือสามารถเลือกตรวจทั้งสองวิธีก็ได้ ซึ่งการตรวจทั้งสองวิธีจะได้ผลแม่นยำที่สุด 
  • ระยะเวลาในการตรวจจะอยู่ที่ทุก 2 –  3 ปี หากผลเลือดเป็นปกติ หรือถ้าตรวจด้วย Co – test อาจตรวจทุก 3 – 5 ปี หรือตรวจตามที่สูตินรีเเพทย์แนะนำ

วิธีรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

1. รักษาโดยการผ่าตัด

มะเร็งปากมดลูกในระยะแรก แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัด โดยแนะนำให้ผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง หากมะเร็งปากมดลูกมีขนาดเล็กและเป็นระยะแรก ๆ แพทย์จะทำการผ่าตัดเพียงปากมดลูกเท่านั้น และยังมีทางเลือกอื่นสำหรับผู้ที่อยากมีบุตรในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอามดลูกออก 

2. การรักษาโดยรังสี

หลังจากผลของการตรวจชิ้นเนื้อออก และพบว่าอาจมีความเสี่ยงในการเกิดซ้ำ แพทย์จะใช้วิธีรักษาด้วยรังสีเพิ่มเติม เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด

3. การรักษาโดยเคมีบำบัด

การรักษาโดยเคมีบำบัด เป็นการทำลายเซลล์มะเร็ง โดยแพทย์จะให้เคมีบำบัดในปริมาณเล็กน้อย ร่วมกับการฉายรังสีในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ ตัวยาเคมีบำบัดจะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรังสีรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

4. การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ถูกนำมาใช้สำหรับรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะแพร่กระจาย หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น การรักษาแบบนี้เป็นการช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่ 

โรคมะเร็งคือสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนที่เรารัก แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่ดี ยิ่งหากเป็นผู้หญิงก็ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกซึ่งตรวจพบเป็นอันดับ 1 และ 2 ของผู้หญิงในประเทศไทย ดังนั้นการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย ตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีนป้องกัน เริ่มต้นดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงลงได้ นอกจากนั้นการวางแผนเพื่อรับมือกับความเสี่ยงโรคมะเร็งที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะการรับมือด้านการเงิน เพื่อไม่ให้เงินเก็บทั้งชีวิตต้องหมดกับค่ารักษาพยาบาลด้วยการทำประกันโรคมะเร็ง ที่รู้ใจมีประกันมะเร็ง ซื้อง่าย จ่ายเบา เริ่มวันละ 5 บาท เบี้ยคงที่ 5 ปี ซื้อง่ายใน 5 นาที สบายใจกว่าด้วย เจอ จ่าย จบ ตรวจเจอรับเงินก้อนสูงสุดถึง 3 ล้านบาท พร้อมสู้โรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจไม่มีสะดุด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)