โรคมะเร็งตับยังคงเป็นสาเหตุของการตายอันดับ 1 ของมะเร็งทั้งหมด โดยเฉพาะมะเร็งตับและท่อน้ำดีที่มีผู้ป่วยเฉลี่ยราว 22,000 คนต่อปี และเสียชีวิตมากถึง 16,000 คน มะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ และยังเป็นมะเร็งที่พบมากในเพศชายเป็นอันดับ 1 และพบมากในเพศหญิงเป็นอันดับที่ 3 เมื่อเป็นมะเร็งตับแล้วโอกาสในการเสียชีวิตมีมากถึง 87% หรือมีโอกาสรอดเพียง 13% เท่านั้น ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น มะเร็งตับ (Hepatocellular carcinoma หรือ HCC) ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั่วโลก ซึ่งการเสียชีวิตจากมะเร็งตับนั้นค่อนข้างสูง วันนี้รู้ใจ จึงอยากหยิบยกเรื่องนี้มาอธิบายว่ามะเร็งตับเกิดจากอะไร ระยะของมะเร็งตับมีกี่ระยะ สัญญาณเตือนที่เราควรสังเกต การรักษาและการป้องกัน
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- มะเร็งตับเกิดจากอะไร?
- มะเร็งตับมีกี่ระยะ?
- สัญญาณเตือนมะเร็งตับมีอะไรบ้าง?
- การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับทำยังไง?
- มะเร็งตับ รักษาหายไหม?
- วิธีการรักษามะเร็งตับ
- ใครเสี่ยงโรคมะเร็งตับบ้าง?
- ป้องกันมะเร็งตับได้ยังไง?
มะเร็งตับเกิดจากอะไร?
การเกิดมะเร็งตับมี 2 สาเหตุหลัก คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นจากตับโดยตรง และมะเร็งที่ลามจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ ซึ่งการเกิดมะเร็งตับโดยตรง ส่วนใหญ่มักเกิดจากโรคตับแข็งที่เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี พยาธิใบไม้ในตับ ภาวะอ้วน การดื่มสุรามากเกินไป รับสารพิษอะฟลาทอกซินมากไป ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ หรือเกิดจากพันธุกรรม
มะเร็งตับมีกี่ระยะ?
มะเร็งตับแบ่งได้เป็น 5 ระยะ และมะเร็งตับ อาการเป็นยังไง ดังนี้
- ระยะที่ 1 – ก้อนเนื้อมะเร็งขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 เซนติเมตร อาการมะเร็งตับระยะแรกสามารถรักษาได้ไม่ยาก
- ระยะที่ 2 – ก้อนเนื้อมะเร็งไม่เกิน 3 ก้อน ขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร อาการของมะเร็งตับระยะที่ 2 สามารถรักษาให้หายขาดได้
- ระยะที่ 3 – ก้อนเนื้อมะเร็งหลายก้อน ขนาดโตกว่ามะเร็งระยะที่ 2
- ระยะที่ 4 – ก้อนเนื้อมะเร็งโตมาก ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงตับหรือเข้าหลอดเลือดดำในท้อง ไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น ๆ ต้องเข้ารับการผ่าตัด
- ระยะที่ 5 – อาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีสุขภาพทรุดโทรม นอนติดเตียง ตับทำงานแย่ลงมาก สำหรับอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ผู้ป่วยมักจะมีอาการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การรับรู้และสติสัมปชัญญะลดลง การรับประทานอาหารลดน้อยลง การหายใจเปลี่ยนแปลง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากครอบครัวและผู้ดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต
แต่ไม่ว่าอาการของมะเร็งตับระยะไหน ประกันมะเร็งที่รู้ใจก็คุ้มครอง เพราะรู้ใจคุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุดถึง 3 ล้านบาท จะมีอาการมะเร็งตับระยะแรกหรืออาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายก็ไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษา หรือค่าใช้จ่ายอื่น เช่น รถเข็น ค่าเดินทาง ค่างวดรถ ค่าเทอมลูก เพราะสามารถรับเงินก้อนไปบริหารได้เอง
สัญญาณเตือนมะเร็งตับมีอะไรบ้าง?
สัญญาณเตือนของมะเร็งตับ ในระยะแรกอาการของมะเร็งตับอาจไม่มีอาการใด ๆ เหมือนมะเร็งทุกชนิดที่มักไม่แสดงอาการมะเร็งตับระยะแรกเริ่ม แต่ก็ยังมีอาการที่คุณสามารถตั้งคำถามให้กับตัวเองได้ เช่น
- เบื่ออาหาร
- แน่นท้อง
- ปวดท้อง
- จุกเสียดท้อง
- ท้องอืด
- ท้องโต
- มีน้ำในช่องท้อง
- น้ำหนักลดลง
- ตาเหลือง
- ตัวเหลือง
- ปวดชายโครงด้านขวา และเมื่อคลำอาจพบก้อนที่บริเวณนั้น
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับทำยังไง?
การตรวจหามะเร็งตับสามารถทำได้หลายวิธี
- การตรวจทางรังสีวิทยา – ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือดแดง
- การตรวจเลือด – แพทย์จะเจาะเลือดของผู้ป่วย เพื่อไปตรวจในห้องปฏิบัติการหาระดับของสารอัลฟ่าฟีโตโปรตีน (AFP) ซึ่งเป็นสารที่มะเร็งตับผลิตออกมา พบสูงขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งตับ
ดีท็อกซ์ตับเลี่ยงและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า มะเร็งตับเกิดจากอะไร ทีนี้ เรามาดู Tips การดีท็อกซ์ตับช่วยอะไรเราได้บ้าง? การดีท็อกซ์ตับ คือการให้วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ วิตามินซี บี กลูตาไธโอน แมกนีเซียม และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยเข้าไปส่งเสริมการทำงานของตับ ทำให้ตับสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้ ลดการสะสมของสารพิษ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับทั้งในผู้หญิงและผู้ชายอีกด้วย
มะเร็งตับ รักษาหายไหม?
ตอบคำถามที่ว่ามะเร็งตับระยะแรก รักษาหายไหม? สำหรับมะเร็งตับในระยะที่ 1-2 มักแสดงอาการไม่ค่อยเยอะและเซลล์มะเร็งก็ยังมีขนาดเล็ก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไร ยิ่งรักษาได้ง่าย ส่วนผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งในระยะที่ 3 เป็นต้นไป มีโอกาสรักษาหายได้ยากขึ้นและอาจต้องใช้เวลาในการรักษาที่นานกว่า
วิธีการรักษามะเร็งตับ
การรักษามะเร็งตับมีหลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์และอาการของผู้ป่วย
- หากตับยังทำงานได้ดีและมะเร็งยังอยู่ในระยะต้นและปานกลาง (ขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร) การผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) จะให้ผลสำเร็จที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย เจ็บปวดน้อยกว่า และใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องคือ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดใหญ่ เช่น เคลื่อนไหวและลุกเดินลำบาก แผลปริ-แผลแยก และลำไส้อุดตัน การผ่าตัดส่องกล้องยังใช้รักษาโรคมะเร็งได้ดี เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหารระยะต้นถึงปานกลาง มะเร็งในมดลูก-รังไข่ และมะเร็งทางนรีเวชอื่น ๆ
- สำหรับมะเร็งตับที่มีก้อนขนาดใหญ่หรือตรวจพบหลายก้อนไม่สามารถผ่าตัดตับได้ แพทย์อาจเลือกใช้วิธีการฉีดยาเคมีบำบัดและสารไปอุดตันกระแสเลือดที่ส่งไปเลี้ยงก้อนมะเร็งตับ โดยการสอดท่อเล็ก ๆ ที่เรียกว่า สายสวน ผ่านไปทางเส้นเลือดที่ขาหนีบหรือที่แขน เข้าไปยังเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับ (TACE) ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนแพทย์จะผสมยาเคมีบำบัดไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งตับด้วย การรักษามะเร็งตับด้วยวิธีนี้ เหมาะกับมะเร็งตับที่มีการลุกลามไปยังหลอดเลือดดำของตับอีกด้วย
วิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดมะเร็งตับ
หลังผ่าตัดส่องกล้อง ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ใน 1-2 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน และกลับบ้านได้ในวันที่ 7 เมื่อกลับบ้านแล้ว ต้องทานยาตามแพทย์สั่งและพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักและการยกของหนัก ในระยะยาวจะมีการตรวจติดตามผลทุก 2-3 เดือนในช่วง 2-3 ปีแรก และทุก 6 เดือนจนครบ 5 ปี
ใครเสี่ยงโรคมะเร็งตับบ้าง?
- ผู้ที่เป็นพาหะโรคตับอักเสบบี
- ผู้เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังบีและซี
- ผู้เป็นโรคตับแข็ง ควรได้รับการติดตามโดยทำอัลตราซาวนด์และเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP ทุก 6 เดือน
ป้องกันมะเร็งตับได้ยังไง?
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ – ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจมีสารอันตรายปนเปื้อน เช่น ถั่วป่นและพริกแห้ง ซึ่งอาจมีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนอยู่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ – ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี – ในกรณีที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- หากมีภาวะตับแข็งแล้ว ควรได้รับการตรวจเลือดและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจอัลตราซาวนด์ท้องส่วนบนทุก 6-12 เดือน เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งตับ
เมื่อรู้ว่ามะเร็งตับเกิดจากอะไร? การตรวจคัดกรองและการปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันมะเร็งตับเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการรักษาได้ อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาที่หลากหลายได้ นั่นก็คือ การทำประกันมะเร็งติดตัวไว้ตั้งแต่ตอนที่สุขภาพยังแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินเก็บ และยังช่วยให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่หลากหลาย โดยไม่ต้องกังวลถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
สารอัลฟ่าฟีโตโปรตีน AFP | เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่มีในเลือดและยังเป็นตัวบ่งชี้ด้วยว่าบุคคลผู้นั้นอยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ |
การตรวจทางรังสีวิทยา | เป็นการตรวจทางการแพทย์ประเภทหนึ่ง เป็นสาขาที่เฉพาะทางที่นำรังสีประเภทต่าง ๆ เช่น รังสีเอกซ์ (เอกซเรย์) รังสีแกมมา หรือรังสีเบต้าจากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เข้ามาช่วยในการสร้างภาพส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง |