โรคมะเร็งกับผู้สูงอายุมักจะเป็นเรื่องที่มาคู่กัน เพราะผู้ป่วยที่อยู่ในผู้วัยสูงอายุหากเป็นโรคมะเร็งแล้ว การรักษาจะมีความยากกว่าในวัยหนุ่มสาว ด้วยเพราะเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่ได้มีความสมบูรณ์เหมือนตอนที่ยังหนุ่ม ๆ สาว ๆ การรักษาจึงค่อนข้างละเอียดอ่อน และมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่ทำไมลูกหลานควรจะทำประกันมะเร็งให้กับผู้สูงอายุในบ้านของเรา
เป็นที่ทราบกันดีกว่า การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ จากอดีตจนมาถึง ณ ปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ไปมากกว่าสมัยก่อน อีกทั้งยังมีศาสตร์แพทย์ทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็ง จึงดูเหมือนว่าโรคมะเร็งไม่ได้น่ากลัวอีกต่อไป จริงอยู่ หากตรวจพบมะเร็งในระยะแรก ๆ และยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว การรักษาให้หายขาดได้นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การรักษาโรคมะเร็งในผู้สูงอายุนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะการรักษามะเร็งในผู้สูงอายุนั้นค่อนข้างซับซ้อนและละเอียดอ่อน เนื่องจากตัวผู้สูงอายุเองอาจจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรค NCDs อื่น ๆ และถึงแม้ว่าผู้ป่วยรายนั้นจะไม่มีโรคประจำตัวเลย แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนตอนอายุยังน้อย เช่น ผู้ป่วยมะเร็งที่ตรวจเจอโรคมะเร็งในวัยสูงอายุและต้องเข้ารับการรักษา อาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการแพ้เคมีบำบัดมากกว่าคนที่อายุยังน้อย บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตในขั้นตอนเคมีบำบัด เนื่องจากร่างกายรับผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งไม่ไหว
แต่อายุก็ไม่ใช่เป็นปัจจัยเดียวในการรักษาโรคมะเร็ง อย่างที่กล่าวไปว่าวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก การรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย หรือแม้แต่การประคับประคองโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายหรือระยะสุดท้ายเพื่อยืดระยะเวลาไปให้นานที่สุดก็เป็นทางเลือกที่ทำได้ แต่อาจต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง อาทิ เวลาในการดูแลผู้ป่วยจากคนในครอบครัว การจ้างพยาบาลพิเศษหรือผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย ค่ารักษาพยาบาลในการรักษาแพทย์ทางเลือก ในบทความนี้ เป็นเพียงการแนะแนวทางประกอบการตัดสินใจในการทำประกันมะเร็งเอาไว้ เพื่อเป็นเครื่องมือลดความเสียหายจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อผู้สูงอายุในบ้านตรวจเจอโรคมะเร็ง
มะเร็งชนิดใดบ้างที่ผู้สูงอายุต้องเฝ้าระวัง
1.มะเร็งตับ
มะเร็งตับจัดว่าเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้ชาย โดยอายุที่มักจะพบอยู่ราว ๆ 30-70 ปี มะเร็งตับพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า มะเร็งตับจะเชื่อมโยงกับอาการป่วยจากโรคตับแข็ง หรือผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี เพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งตับจากการติดเชื้อตับอักเสบบี ควรเฝ้าระวังและควรพาผู้สูงอายุในบ้านไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ และทำอัลตร้าซาวด์ตับทุก ๆ 6 เดือน
2.มะเร็งปอด
มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย พอ ๆ กับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่พบมากสุดในเพศหญิง และมะเร็งปอดยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดทั้่งในเพศชายและหญิง ยิ่งในกลุ่มเสี่ยง เช่น คนที่สูบบุหรี่จัดมาตั้งแต่ยังหนุ่ม ๆ มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดมะเร็งปอด และส่วนใหญ่แล้วมักจะมาแสดงอาการตอนที่อายุมากขึ้น คนที่ใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เพราะควันบุหรี่มือสองที่สูดดมเข้าไป แม้จะไม่ได้เป็นคนสูบบุหรี่โดยตรง ก็ส่งผลโดยตรงให้เป็นมะเร็งปอดในที่สุด
3.มะเร็งเต้านม
สาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของหญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลกคือมะเร็งเต้านม แต่ใช่ว่าผู้ชายจะเป็นมะเร็งเต้านมไม่ได้ ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่มีโอกาสเพียงแค่ 1% เท่านั้น อาการของเริ่มแรกมักจะไม่แสดงอาการมากนัก อาจคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณเต้านมหรือใต้รักแร้ มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัวหนาผิดปกติคล้ายเปลือกส้ม การรักษาจะเป็นการผ่าตัด ฉายแสง หรือกินยาต้านฮอร์โมน หรือรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งในการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยสูงอายุมักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง
4.มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 3 ของเพศชาย และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้สูงอายุ จึงมักจะเป็นปัญหาในการผ่าตัด ฉายแสง หรือใช้เคมีบำบัด แม้ว่าในยุคนี้จะสามารถผ่าตัดได้ด้วยกล้องซึ่งทำให้บาดแผลเล็กและมีความเจ็บน้อยกว่าก็ตาม แต่หลังผ่าตัดถ้าต้องมีการให้เคมีบำบัด ก็ยังเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุอยู่ดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เหมือนมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่มักจะไม่แสดงอาการทันที แต่จะค่อย ๆ เริ่มสะสมเซลล์หน้าตาแปลก ๆ ขยายตัวไปเรื่อย ๆ จนควบคุมไม่ได้ และกลายเป็นมะเร็งร้ายในที่สุด
การผ่าตัดมะเร็งในผู้สูงอายุมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
ความเสี่ยงในการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ดังนั้น ก่อนการผ่าตัดรักษามะเร็งในผู้สูงอายุ แพทย์จึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบและคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การทำงานของหัวใจ
การผ่าตัดมะเร็งในผู้สูงอายุอาจทำให้การทำงานของหัวใจแย่ลง ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจด้วยแล้ว การผ่าตัดมีผลต่อความดันโลหิตซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจของผู้ป่วย
การทำงานของไต
การผ่าตัดในแต่ละครั้งจำเป็นต้องให้ยาหลายชนิด ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อไตของผู้ป่วย หากไตของผู้ป่วยมีปัญหา มีโรคประจำตัวอย่างโรคไตอยู่แล้ว หรือทำงานไม่ดีเท่าที่ควรอาจเกิดปัญหาระหว่างการผ่าตัด หรือหลังผ่าตัดได้
การทำงานของตับ
เมื่ออายุมากขึ้น เลือดจะไหลเวียนไปที่ตับน้อยลง ตับทำหน้าที่ในการสลายยา หากตับทำงานไม่เต็มที่ก็จะส่งผลต่อยาที่จำเป็นในการผ่าตัด
การทำงานของปอด
ประสิทธิภาพการทำงานของปอดจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และหากผู้ป่วยมีอาการถุงลมโป่งพอง หรือมีโรคเกี่ยวกับปอด อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวหลังจากวางยาสลบ และผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหาปอดอาจส่งผลร้ายแรงหลังการผ่าตัด เช่น ปอดบวม
เคมีบำบัดส่งผลต่อผู้สูงอายุอย่างไร
การให้เคมีบำบัดกับผู้ป่วย ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าจะครบทุกเข็ม ในผู้ป่วยมะเร็งที่อายุมาก ๆ เคมีบำบัดส่งผลโดยตรงต่อร่างกายผู้ป่วย บางรายไม่แพ้ก็สามารถให้เคมีบำบัดได้จนครบ แต่หากในผู้ป่วยที่แพ้มาก ๆ เสี่ยงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งแพทย์จะต้องคอยสังเกตขั้นตอนการให้เคมีบำบัดนี้อย่างรอบคอบ และครอบครัวต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยที่แพ้เคมีบำบัดร่างกายจะมีผลกระทบหลายอย่าง เช่น ไม่มีความอยากอาหาร ทานแล้วอาเจียน อ่อนเพลียมาก
เมื่อต้องใช้ความระมัดระวัง และต้องวางแผนอย่างรอบคอบในการรักษามะเร็งในผู้ป่วยสูงอายุ นั่นหมายความว่า ค่ารักษาพยาบาลก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะอาจจะต้องลองหลาย ๆ วิธีในการรักษา การทำประกันมะเร็งจึงเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดอีกทางหนึ่ง เพราะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเลือกวิธีการรักษาร่วมกับแพทย์ที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่ากับร่างกายผู้สูงอายุได้
ประกันมะเร็งช่วยอะไรได้บ้าง
ประกันมะเร็งและประกันโรคร้ายแรงอื่น ๆ ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้ที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคนั้น ๆ ก่อนการทำประกันทั้งสิ้น ดังนั้นคุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ประกันมะเร็งที่ซื้อไว้ให้คนในครอบครัวจะได้ใช้หรือไม่ ซื้อแล้วไม่ได้ใช้ย่อมดีกว่า แต่ถ้าต้องใช้แต่ไม่มีให้ใช้ ภาระค่าใช้จ่ายมากมายอาจเป็นเรื่องที่คุณต้องเจอ
หากคนในครอบครัวตรวจเจอโรคมะเร็ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ประกันมะเร็งช่วยได้มาก เช่น
- ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สำหรับการรักษามะเร็งในผู้สูงอายุ อย่างที่แจกแจงในบทความนี้ว่าขั้นตอนการรักษาค่อนข้างละเอียดอ่อน จึงอาจจะมีค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ที่เราไม่ได้เตรียมไว้ หรือค่ารักษาของโรงพยาบาลรัฐและสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ไม่ครอบคลุม การทำประกันจะมาช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
- ไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่ายระหว่างรักษาตัว เพราะมีเงินก้อนสำรองให้กับครอบครัวกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งในกรณีที่ต้องหยุดงานดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว หรือแม้กระทั่งการจ้างพยาบาลพิเศษ สำหรับคนที่อยากให้มีคนอยู่เป็นเพื่อนหรือดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาที่บ้าน เงินก้อนที่ได้รับจะทำให้คุณเป็นอิสระจากค่ารักษาพยาบาลได้มากขึ้น
- เลือกวิธีรักษาร่วมกับแพทย์ได้ วิธีการรักษาบางอย่างที่อาจได้ผลดีกับร่างกายของผู้ป่วยมากกว่านั้น บางอย่างไม่ครอบคลุมในสิทธิสวัสดิการรักษาของรัฐ คุณอาจไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายหากต้องการใช้แพทย์ทางเลือกอื่น ๆ
ค่าเบี้ยประกันมะเร็งเป็นราคาที่ไม่สูงมากนัก และสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้ ไม่ว่าจะทั้งของตัวคุณเองหรือของบิดามารดาในความดูแล ผู้นำครอบครัวคนปัจจุบันสามารถใช้เงินก้อนเล็กเพื่อซื้อความคุ้มครองเป็นจำนวนเงินก้อนใหญ่ สูงสุด 3 ล้านบาทได้
ประกันมะเร็งที่รู้ใจ เบี้ยเริ่มต้น 5 บาทต่อวัน เบี้ยต่อปีไม่ปรับเพิ่ม คงที่นาน 5 ปี ซื้อตอนอายุน้อยก็จ่ายน้อยกว่า คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ตรวจเจอโรค จ่ายเงินก้อนทันที มั่นใจได้ว่าจะมีทางเลือกในการรักษามากขึ้นและมีค่ารักษาพยาบาลมากพอสำหรับคุณและคนที่คุณรัก
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)