ถ้าไม่ใช้สมอง สมองจะฝ่อ เป็นความจริงดังกล่าวหรือไม่? โรคสมองฝ่อ เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ สาเหตุมาจากเซลล์สมองจะเสื่อมลงตามอายุการใช้งาน และหากไม่ได้ดูแลตัวเองเป็นอย่างดีด้วยแล้ว ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองฝ่อได้ค่อนข้างสูงทีเดียว บทความนี้จะบอกทุกคำถามของอาการของโรคสมองฝ่อว่าอันตรายแค่ไหน และควรรับมือหรือป้องกันยังไง
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- โรคสมองฝ่อคืออะไร?
- โรคสมองฝ่อเกิดจากอะไร?
- ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคสมองฝ่อ?
- โรคสมองฝ่อ อาการเป็นยังไง?
- โรคสมองฝ่อระยะสุดท้ายมีอาการอย่างไร?
- วิธีการวินิจฉัยโรคสมองฝ่อ
- วิธีรักษาโรคสมองฝ่อ
- ผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ อยู่ได้กี่ปี?
- วิธีป้องกันโรคสมองฝ่อ
โรคสมองฝ่อคืออะไร?
สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมองที่ส่งผลให้ความจำลดลงทีละน้อย เนื่องจากการเสื่อมของเซลล์สมองและจำนวนเซลล์ที่ลดลง ส่งผลต่อความจำและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การพูด และการตัดสินใจ โดยสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงที่สมองจะเสื่อมไปตามอายุ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้จึงพบในช่วงอายุอื่นเช่นกัน
โรคสมองฝ่อเกิดจากอะไร?
- ความเสื่อมตามอายุ ซึ่งอาการจะค่อยเป็นค่อยไป
- อาจเคยได้รับอุบัติเหตุทางสมอง หรือมีอาการบาดเจ็บทางสมอง
- เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมชนิดต่าง ๆ ความผิดปกติของการเจริญเติบโตทางสมองตั้งแต่แรกเกิด โรคทางพันธุกรรม
- การติดเชื้อบางชนิด เช่น AIDS โรคไข้สมองอักเสบ
- การได้รับสารบางชนิดมากจนเกินไป เช่น สารโฮโมซิสเทอิน
นอกจากที่กล่าวไปข้างต้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเช่นกัน โดยนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยว่า “โรคสมองฝ่อเป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ สาเหตุหลัก คือการเสื่อมของเซลล์สมองเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อ เช่น การนอนที่ไม่มีคุณภาพ สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด ซึ่งทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนซึ่งส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมอง”ดังนั้นการมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีก็จะเป็นส่วนที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคสมองฝ่อได้ด้วย
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคสมองฝ่อ?
สำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคสมองฝ่อ มีดังนี้
- คนที่มีอายุมากขึ้นหรืออยู่ในช่วงวัยชรา
- คนที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรม
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์
- คนที่เคยได้รับการบาดเจ็บที่สมองและศีรษะ
- คนที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด
โรคสมองฝ่อ อาการเป็นยังไง?
ภาวะสมองฝ่อ เป็นสภาพที่สมองเสื่อมถดถอยลง ส่งผลกระทบต่อความจำ ความคิด และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะนี้มีอาการที่หลากหลายและระดับความรุนแรงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริเวณของสมองที่ได้รับความเสียหาย อาการที่พบ ได้แก่
- สมองเสื่อม มีอาการสูญเสียความทรงจำ ความจำเสื่อม คิดช้า เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ยาก วางแผนและจัดการงานได้ไม่ดี มีปัญหาด้านการพูด การเคลื่อนไหว และอารมณ์
- อาการชัก เคลื่อนไหวผิดปกติ มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง กลอกตาผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก และสูญเสียความรู้สึกตัว
- ความผิดปกติด้านการพูด พูดลำบาก พูดคำซ้ำ ๆ ใช้คำผิด พูดไม่ต่อเนื่อง พูดประโยคไม่สัมพันธ์กัน หรือสูญเสียความเข้าใจด้านภาษา
โรคสมองฝ่อระยะสุดท้ายมีอาการอย่างไร?
สมองฝ่อระยะสุดท้าย คือ ในช่วงระยะสุดท้ายของโรคสมองฝ่อ สมองของผู้ป่วยจะมีการเสื่อมลงอย่างมาก ส่งผลให้จำนวนเซลล์สมองลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วย ทำให้พวกเขาไม่สามารถดูแลตนเองได้ตามปกติ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากญาติพี่น้องตลอดเวลา โดยผู้ป่วยจะตอบสนองสิ่งรอบตัวได้น้อยลงเป็นอย่างมาก และมีอาการต่อไปนี้
- สุขภาพทรุดคล้ายผู้ป่วยติดเตียง
- การเคลื่อนไหวทำได้น้อยหรือทำได้ลำบาก
- รับประทานอาหารได้น้อย
- ช่วยเหลือตัวเองอย่างเช่นการแปรงฟันก็ทำไม่ได้
- ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากไม่สามารถกลั้นได้
- ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันเหมือนคนปกติได้
วิธีการวินิจฉัยโรคสมองฝ่อ
ส่วนใหญ่แล้วการวินิจฉัยโรคจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่างเช่น เครื่อง MRI หรือ CT Scan เพื่อแพทย์จะได้เห็นภาพสมองในส่วนที่ถูกทำลายได้ชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยและการรักษาเป็นไปในทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
วิธีรักษาโรคสมองฝ่อ
การรักษาโรคสมองฝ่อ อาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค เช่น การอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง แบบนี้การรักษาเส้นเลือดจะสามารถช่วยป้องกันการเสื่อมของสมองได้ และหากสาเหตุไม่ใช่ผลของโรคหรือเกิดจากการเสื่อมของสมอง จะมีการรักษาดังนี้
- ใช้ยารักษาโรค
- ทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด
- การให้คำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
- การดูแลด้านพฤติกรรมและโภชนาการ เช่น ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมอง ออกกำลังกาย เป็นต้น
- การดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ โดยเฉพาะกำลังใจจากครอบครัวและคนที่รัก
- การรับการบำบัดทางการพูด
- การผ่าตัด (ใช้ในบางกรณีเท่านั้น) โดยเฉพาะเมื่อมีสาเหตุที่ชัดเจนและสามารถแก้ไขได้
โรคร้ายอย่างโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายเท่านั้น ยังส่งผลเสียไปยังสมอง เพราะหากหลอดเลือดตีบหรือตันทำให้ไปเลี้ยงสมองไม่พอ สมองขาดออกซิเจนและเลือด เป็นสาเหตุทำให้เซลล์สมองเสื่อมและตายลงจนเป็นสมองฝ่อในที่สุด ซึ่งการรักษาหากจำเป็นต้องผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายไม่น้อย วางแผนรับมือความเสี่ยงวันนี้เพื่อทางเลือกการรักษาและเงินเก็บในวันหน้า ประกันโรคร้ายแรงที่รู้ใจคุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้ายทั้งรวมมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว และรวมสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ด้วย เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท
ผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ อยู่ได้กี่ปี?
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองฝ่อระยะสุดท้ายจะ “ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้” เพราะสมองไม่สามารถฟื้นตัวในส่วนที่เสียหายให้กลับมาเป็นปกติได้ สำหรับคำถามที่ว่า เป็นโรคสมองฝ่อระยะสุดท้ายจะอยู่ได้กี่ปี? หาคำตอบที่แม่น 100% ได้ยากมาก เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน การดูแลสุขภาพ อาหารการกิน และการได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุของผู้ป่วยสมองฝ่อ ทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น, สภาพแวดล้อม, การดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว, สุขภาพของผู้ป่วย, อาหารที่ทาน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต และที่สำคัญคือความสม่ำเสมอในการพบแพทย์
จริงหรือไม่? ถ้าไม่ฝึกสมอง สมองจะฝ่อ
ในความเป็นจริง การที่ไม่ได้ใช้สมองไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการทำให้เกิดโรคสมองฝ่อ แต่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป ความเสื่อมของสมองจะเป็นไปตามอายุ ซึ่งจะสังเกตได้จากอาการหลง ๆ ลืม ๆ โดยการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เพิ่มการทำงานของสมองจะช่วยชะลอการเกิดโรคสมองฝ่อได้
วิธีป้องกันโรคสมองฝ่อ
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด และโปรตีนจากแหล่งที่ดี เช่น ปลา ถั่ว และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองและส่งเสริมสุขภาพสมอง ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
- การดูแลสุขภาพจิต การจัดการความเครียดและการรักษาสุขภาพจิตที่ดีมีความสำคัญ เช่น การทำสมาธิ การฝึกโยคะ หรือการทำกิจกรรมที่ชอบ
- การนอนหลับเพียงพอ การนอนหลับที่เพียงพอและมีคุณภาพช่วยให้สมองได้พักผ่อนและฟื้นฟู
- การหลีกเลี่ยงสารพิษ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปและการสูบบุหรี่ ซึ่งสามารถทำลายเซลล์สมองได้
- การฝึกสมอง การทำกิจกรรมที่กระตุ้นสมอง เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นเกมที่ใช้ความคิด หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น
- การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพเป็นประจำช่วยให้สามารถตรวจพบและรักษาปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
อาการโรคสมองฝ่อเป็นโรคที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุทุกคน หรืออาจเกิดกับคนในช่วงวัยอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนั้นการใส่ใจสุขภาพและหมั่นสังเกตอาการทั้งของตัวเรา และคนรอบข้าง รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค หรือทำให้รู้ได้เร็วและรักษาได้ทันท่วงที เพราะเมื่อเซลล์สมองเสียหายแล้ว จะไม่สามารถฟื้นกลับมาได้อีก
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
MRI | เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นความถึ่วิทยุ ทำให้เห็นภาพอวัยวะภายในร่างกายของผู้ป่วย |
CT Scan | เป็นเครื่องเอกซเรย์แบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยการปล่อย x-ray ผ่านทาง อวัยวะที่ต้องการจะตรวจ |