แม้ว่ามะเร็งไขกระดูกจะเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่พบได้ไม่มากนัก แต่นับว่าเป็นภัยเงียบที่มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละ 20 ล้านราย ในขณะที่ประเทศไทยทางด้านกรมการแพทย์ได้เปิดเผยสถิติไว้ในปี 2022 มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ 140,000 ราย/ปี และยังพบว่ามีอัตราการเกิดโรคมะเร็งในคนที่อายุน้อยเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินมากถึง 30-40%
- โรคมะเร็งไขกระดูกคืออะไร?
- มะเร็งไขกระดูกเกิดจากอะไร?
- ใครบ้างที่ควรระวังโรคมะเร็งไขกระดูก?
- โรคมะเร็งไขกระดูก อาการเป็นยังไง?
- อาการปวดหลังหรือปวดกระดูกอย่างไรที่เสี่ยงเป็นมะเร็งไขกระดูก?
- การวินิจฉัยโรคมะเร็งไขกระดูก
- โรคมะเร็งไขกระดูกมีทั้งหมดกี่ระยะ?
- โรคมะเร็งไขกระดูกมีวิธีรักษายังไง?
จากสถิติตัวเลขผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก มีความน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก วันนี้รู้ใจมีสาระควรรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งไขกระดูกว่ามันคืออะไร มีสาเหตุการเกิดจากอะไร อาการเตือนล่วงหน้ามีหรือไม่ การรักษามีวิธีใดบ้าง ที่สำคัญค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งในบ้านเราสูงขึ้นทุกปี หากทำประกันมะเร็งเอาไว้จะช่วยด้านใดได้บ้าง เราไปดูกัน
โรคมะเร็งไขกระดูกคืออะไร?
โรคมะเร็งไขกระดูก หรือ Multiple Myeloma หรือเรียกสั้น ๆ ว่าโรคเอ็มเอ็ม (MM) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นทางโลหิตวิทยาพบได้ประมาณ 15% ของมะเร็งทางโลหิตวิทยาทั้งหมด โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคประมาณ 4 ต่อ 100,000 คน/ปี และมักจะตรวจพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 60-75 ปี
มะเร็งไขกระดูกเกิดจากอะไร?
สำหรับสาเหตุของมะเร็งไขกระดูก (Multiple Myeloma) เกิดจากอะไรนั้น ณ ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่นอน ในผู้ป่วยที่ตรวจพบโปรตีนผิดปกติในเลือดมาก่อนโดยไม่แสดงอาการ มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาเฉลี่ยประมาณ 1 % ต่อปี
ใครบ้างที่ควรระวังโรคมะเร็งไขกระดูก?
กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ทำอาชีพที่ใกล้ชิดกับสารเคมี ยาฆ่าแมลง แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า มาจากสารเคมีตัวไหน หรือปัจจัยใดเป็นพิเศษที่ทำให้เกิดโรค สันนิษฐานเบื้องต้นไว้ว่า อายุที่มากขึ้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น รวมถึงสารเคมีจำพวกยาฆ่าแมลงอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้
โรคมะเร็งไขกระดูก อาการเป็นยังไง?
- ซีด อ่อนเพลีย
- ปวดกระดูก
- เลือดออกผิดปกติ
- กระดูกหักโดยไม่มีเหตุที่เหมาะสม
- โลหิตจางเรื้อรัง
- อาการแคลเซียมในเลือดสูง เช่น ซึม สับสน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการปวดหลังหรือปวดกระดูกอย่างไรที่เสี่ยงเป็นมะเร็งไขกระดูก?
หากมีอาการปวดหลังหรือปวดกระดูกเรื้อรัง รับประทานยาแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น มีอาการปวดในเวลากลางคืน ร่วมกับอาการซีด อ่อนเพลีย เมื่อตรวจเลือดแล้วพบว่ามีภาวะไตวาย แคลเซียมสูง หรือมีโปรตีนในเลือดสูงผิดปกติ หรือเมื่อทำการเอ็กซเรย์กระดูกแล้วพบความผิดปกติที่เข้ากับโรค
นอกจากนี้ อาจมีอาการร่วมอื่น ๆ ของโรคมะเร็งทั่วไป เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีกระดูกหักในตำแหน่งที่พบได้ไม่บ่อย
การวินิจฉัยโรคมะเร็งไขกระดูก
- เจาะไขกระดูก – แพทย์จะทำการเจาะไขกระดูกเพื่อตรวจพลาสมาเพื่อตรวจดูว่าพลาสมาเซลล์มีการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติในไขกระดูกหรือไม่
- ตรวจเอ็มโปรตีนเลือด – ตรวจดูระดับเม็ดเลือดแดงว่าต่ำเกินเกณฑ์หรือไม่ และวัดระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไปหรือไม่ และค่าทำงานของไตผิดปกติหรือไม่
- เอกซ์เรย์กระดูกทั่วร่างกาย – หรือเรียกว่า Skeletal Bone Survey อาจพบรอยโรคกระดูกสลาย กระดูกหัก กระดูกบาง หรือกระดูกหักจากโรค Pathological Fracture ในผู้ป่วยบางรายที่มีการปวดหลังหรือกระดูกสันหลังร่วมด้วย จะต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี MRI หรือ CT Scan อีกครั้ง
- ตรวจปัสสาวะ – เพื่อตรวจดูปริมาณโปรตีนผิดปกติที่รั่วมาจากไต
ทริคกระดูกแข็งแรงได้วิธีออกกำลังกายเพิ่มมวลกระดูก
การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อห่างไกลโรคมะเร็งไขกระดูก (Multiple Myeloma) และห่างไกลระยะมะเร็งอื่น ๆ ทำได้โดยวิธี Weight Bearing Exercise โดยใช้เท้าและขา หรือมือและแขนในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก การเตะฟุตบอล บาสเก็ต บอล วิ่ง หรือการเดินออกกำลังกาย วิธีเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะทำให้กระดูกแข็งแรง แต่ยังส่งผลดีต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะระบบหลอดเลือดและหัวใจ
โรคมะเร็งไขกระดูกมีทั้งหมดกี่ระยะ?
ระยะมะเร็งของโรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา จะมีทั้งหมด 3 ระยะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับโปรตีนไข่ขาวในเลือด (Albumin) ระดับ Beta2 Microglobulin และระดับ LDH ในเลือด รวมถึงผลโครโมโซมในไขกระดูกโดยแพทย์จะทำการตรวจแบบ Fluorescene in situ Hybridization (FISH)
โรคมะเร็งไขกระดูกมีวิธีรักษายังไง?
โรคมะเร็งไขกระดูกขึ้นชื่อว่าโรคมะเร็ง เป็นโรคที่รับการรักษาครั้งเดียวไม่หาย ต้องรักษากันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนหลายปี ค่ารักษาพยาบาลเกี่ยวกับโรคมะเร็งนั้นก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี การซื้อประกันมะเร็งที่ครอบคลุมโรคทุกระยะจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ประกันคุ้มครองมะเร็งที่รู้ใจคุ้มครองทุกชนิด ทุกระยะ หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาล เริ่มต้นวันละ 5 บาท เบื้ยคงที่ 5 ปี มีให้เลือกทั้งหมด 4 แผน เช่น แผนสบายใจ แผนถูกใจ แผนอุ่นใจ และแผนมั่นใจ
สำหรับวิธีการรักษาโรคมะเร็งไขกระดูกนั้นทำได้หลายวิธี ดังนี้
- การรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัด แพทย์จะพิจารณาจากอายุและสภาพความพร้อมของร่างกายผู้ป่วยเป็นหลัก
- ให้ยาชนิดใหม่ (Novel Therapy) ที่ใช้รักษามะเร็งไขกระดูกในปัจจุบัน ผลลัพธ์คือยาชนิดใหม่นี้ให้การตอบสนองที่ดีมาก เมื่อเที่ยบกับยาเคมีแบบเก่า ซึ่งกลุ่มยาชนิดใหม่ที่ใช้คือ ยากลุ่ม Proteasome Inhibitor และ Immunomodulator
- ใช้ยารักษาในปัจจุบัน ประกอบกับการใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค (maintenance) หลังจากที่โรคเข้าสู่สภาวะโรคสงบ พบว่าผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น
- การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวเอง หรือ Autologus Stem Cell Transplantation โดยหลังจากให้เคมีบำบัด แพทย์จะพิจารณาปลูกถ่าย Stem Cell ให้ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี สภาพร่างกายพร้อมและไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ร้ายแรง
- การฉายแสง จะทำวิธีนี้ในกรณีที่ก้อนพลาสมาไซโตมาใหย่ไปเบียดกดทับอวัยวะอื่นๆ หรือมีอาการปวดรุนแรงจากกระดูกหัก
- ให้ยาเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก จะเป็นยาในกลุ่มบิสฟอสฟาเนท เพื่อป้องกันการทำลายเพิ่มของกระดูกจากเซลล์มะเร็ง
- ฉีดซีเมนต์หรือใช้บอลลูนถ่างเพื่อค้ำยันกระดูกสันหลังที่หัก เพื่อลดอาการปวดจากกระดูกที่หัก
อีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้าม โรคมะเร็งไขกระดูก การรู้เท่าทัน เข้าใจ และดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการรักษาให้มีประสิทธิภาพ หากพบสัญญาณเตือนในร่างกายตัวเอง ไม่ว่าจะมีอาการอะไรหรือโรคใด ๆ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ตัวเอง และรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
มะเร็งทางโลหิตวิทยา | มะเร็งทางโลหิตวิทยา หรือเรียกอีกอย่างว่ามะเร็งเม็ดเลือด เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเซลล์ในเลือดไขกระดูก หรือต่อมน้ำเหลือง |
อาการแคลเซียมในเลือดสูง | เป็นภาวะที่ปริมาณแคลเซียมในเลือดเพิ่มสูงขึ้น โดยที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิ มะเร็งบางชนิด ภาวะวิตามินดีสูง โรคบางชนิด หรือเกิดจากยาบางตัวที่ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากเกินไป |