Roojai

สุดยอดสรรพคุณของรางจืด ดอกไม้ไทยสารพัดประโยชน์ พร้อมข้อควรระวัง

สุดยอดสรรพคุณของรางจืด | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

สมุนไพรไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเหมือนภูมิปัญญาของคนในสมัยนั้นในการหาพืชมารักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ บทความในวันนี้เราจะทำความรู้จัก “รางจืด” สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ สามารถใช้รางจืดล้างพิษ บรรเทาอาการอักเสบ รักษาโรค เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ใบรางจืดรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง และอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ปัจจุบันตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพัฒนาสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นแผนการผลักดันให้สมุนไพรไทยไปไกลระดับโลก จนตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสมุนไพรเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียไปเรียบร้อย โดยมีทั้งหมด 15 ชนิด 

  • กลุ่ม 1 สมุนไพรที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ เช่น กระชายดำ ขมิ้นชัน และฟ้าทะลายโจร
  • กลุ่ม 2 สมุนไพรที่มีศักยภาพ เช่น บัวบก มะขามป้อม ไพล ขิง กระชาย ว่านหางจระเข้ กวาวเครือขาว มะระขี้นก เพชรสังฆาต กระท่อม กัญชงและกัญชา

ถึงแม้ว่าจะไม่มีชื่อ”รางจืด” อยู่ใน 1 ใน 15 สมุนไพรไทยส่งออกก็ตาม แต่ในอนาคต เชื่อว่ารางจืดและสมุนไพรไทยชนิดอื่นๆ จะเป็นอีก 1 ในสมุนไพรไทยส่งออกด้วยเช่นกัน 

รางจืดสรรพคุณมากมาย ทั้งใบ ดอก ลำต้น เถา ใช้ได้ทุกส่วนของต้น

รางจืด คืออะไร?

รางจืด คือ สมุนไพรที่อยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia Lindl และมีอีกหลายชื่อ ขึันอยู่กับท้องถิ่นที่คนไทยแต่ละพื้นที่จะเรียก เช่น 

  • กำลังช้างเผือก
  • ขอบชะนาง
  • เครือเขาเขียว
  • ยาเขียว (ภาคกลาง)
  • รางเย็น (ยะลา)
  • น้ำแน่ (ภาคอีสาน)
  • ทิดพุด (นครศรีธรรมราช)
  • ดุเหว่า (ปัตตานี)
  • ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
  • น้ำนอง (สระบุรี)

ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียก รางจืด ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ เรามาดูกันต่อว่า ใบ ราก และส่วนต่าง ๆ ของรางจืดมีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างไรได้บ้าง

รู้มั้ย? ใครไม่เหมาะกินสมุนไพรช่วยบรรเทาและรักษาโรค?

สมุนไพรไทย ไม่ว่าสมุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ ต่างหรือรางจืดสรรพคุณก็มีมากมาย ทั้งช่วยบรรเทาและรักษาโรค แต่ยาสมุนไพรเป็นยาที่ออกฤทธิ์แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น ในคนที่มีอาการรุนแรง เช่น ปวดหัวรุนแรง ปวดท้องรุนแรง อาเจียน ถ่ายเป็นเลือก ชัก หอบ งูพิษกัด กลุ่มนี้ไม่ควรกินยาสมุนไพร แต่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที นอกจากนั้นหากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง โรคมะเร็ง โรคเรื้องรัง และติดเชื้อ สตรีตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ยาสมุนไพร

โรคร้ายแรงเป็นโรคใกล้ตัวเราที่เกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ทันตั้งตัว และสรรพคุณรางจืดและสมุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ อาจไม่ได้ช่วยในการรักษาโรค สิ่งที่เราควรทำคือการพบแพทย์และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งแน่นอนว่าตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่ไม่น้อยเลย เพราะโรคร้ายแรงบางโรคต้องใช้เวลาในการรักษานาน อาจนานเป็นเดือนหรือปี ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่าในวันที่เจ็บป่วยจะมีค่ารักษาพยาบาลที่เพียงพอ ที่รู้ใจมีประกันโรคร้ายแรง เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 2 ล้านบาท คุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้าย มะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ กลุ่มอาการทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะอวัยวะล้มเหลว

ประโยชน์ของรางจืดมีอะไรบ้าง?

  1. ใบ เถาและราก สามารถนำมาทำประโยชน์ได้มากมาย เช่น นำมาตากให้แห้งและบด เสร็จแล้วบรรจุลงแคปซูล หรือจะนำมาต้มกับน้ำเพื่อดื่ม หรือนำมาทำเป็นชาชงดื่ม
  2. นำใบหรือเถาสดประมาณ 10-15 ใบ หรือนำเถาขนาด 10 ซม. มาต้มกับน้ำ 10 ลิตร แล้วใช้อาบใบรางจืด สรรพคุณช่วยแก้ปัญหาโรคผิวหนัง ลดอาการผดผื่นคัน แพ้ โดยให้อาบติด ๆ กันเป็นเวลา 5-7 วัน 
  3. ดอกรางจืด ให้นำมาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับน้ำ แล้วกรองแยกเอากากออกมา น้ำที่ได้จะมีสีม่วงอ่อนหรือสีคราม นำไปทำขนม หรือใช้หุงข้าวก็ได้ หรือนำไปเป็นสีผสมอาหารก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปใช้สีสังเคราะห์ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  4. การดื่มน้ำรางจืด จะสามารถช่วยแก้ไขคุณไสย หรือยาสั่งมนต์ดำได้ แต่ข้อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งคนโบราณเชื่อถือกันมาเเบบนี้ 
  5. ใบรางจืดที่ตากจนแห้งแล้ว สามารถนำมาบดและผสมอาหารให้กับสัตว์ได้ เช่น หมู ไก่ จะช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับหมูและไก่ ทำให้สัตว์เหล่านี้มีอัตราการรอดชีวิตสูงหากเป็นโรค
  6. ทุกส่วนของต้นรางจืด มีสารต้านอนุมูลอิสระมีฤทธิ์ในการกำจัดสารตั้งต้นของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ป้องกันเซลล์จากสารพิษ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส ชะลอวัย แต่รางจืดไม่ได้ช่วยในการรักษามะเร็งด้วยสมุนไพรไทยชนิดนี้
  7. ทุกส่วนของรางจืดสามารถนำมาต้มดื่มได้ ใช้แก้พิษยาเบื่อ
  8. ทุกส่วนของรางจืดนำมาบด ผสมน้ำ และนำไปพอกแผล ระงับอาการปวด ลดบวม กำจัดพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น งู แมงป่อง ตะขาบ แมงดาทะเล
  9. ทุกส่วนของรางจืดช่วยลด และกำจัดสารพิษจากพิษเห็ด ทำให้บรรเทาจากอาการพิษเห็ด 
  10. ทุกส่วนออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแผล เช่น ไวรัสเริม อีสุกอีใส งูสวัด ด้วยการบดและผสมน้ำเล็กน้อย นำไปพอกบริเวณที่เป็นแผล
  11. นำมาต้มดื่ม สรรพคุณรางจืดช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ แก้แฮงค์ สามารถนำไปบำบัดในผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังได้ 
  12. นำมาต้มดื่ม สำหรับผู้ที่อยากเลิกบุหรี่
  13. มีส่วนช่วยขับปัสสาวะ และทำให้เจริญอาหาร ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษได้
ประโยชน์ของรางจืด | ประกันโรคร้ายแรง | รู้ใจ

สรรพคุณรางจืดต่อการรักษาโรค

  1. ช่วยปกป้องเซลล์ตับ และไต จากพิษสารเคมีต่างๆ 
  2. รักษาไข้หวัด ติดเชื้อในกระแสเลือด มีฤทธิ์ในการต้านและกำจัดเชื้อโรคบางชนิดในกระแสเลือดได้ 
  3. ช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับระดับความดันหัวใจให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันไขมันอุดตัน ลดความเสี่ยงชองโรคหัวใจ
  5. ช่วยกระตุ้นระบบควบคุมความดันหัวใจให้เป็นปกติ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
  6. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
  7. ถอนพิษไข้
  8. ลดพิษจากการดื่มสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ยาเบื่อ
  9. ช่วยลด และเลิกการใช้สารเสพติด เพราะรางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท คล้ายสารเสพติดบางชนิด สามารถใช้ในผู้ที่ต้องการเลิกเสพสารเสพติดได้
  10. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมอาการเบาหวาน

ข้อควรระวังในการใช้รางจืด

รางจืดกินทุกวันได้ไหม? ตอบเลยว่ารางจืดเป็นสมุนไพรเดี่ยว จึงไม่เหมาะนักที่จะกินอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะจะส่งผลต่อตับ ไต และระบบเลือด นอกจากนั้นรางจืดมีข้อควรระวังที่ควรรู้ เช่น สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร และผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ หากจะนำมาต้มดื่มควรศึกษาอย่างละเอียดและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการบริโภคจะดีที่สุด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ยาเบื่อ สารพิษที่ใช้ในการกำจัดสัตว์รังควาน เช่น หนู แมลงสาบ กินแล้วทำให้เมาหรือตาย
สรรพคุณ ประโยชน์หรือคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา