Roojai

9 ประโยชน์ของการเล่นฟุตบอล และความเสี่ยงที่ต้องรู้!

ประโยชน์ของการเล่นฟุตบอลต่อสุขภาพ | ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล | รู้ใจ

การออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นกีฬาประเภทใดก็ตาม จัดว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น โดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 30-60 นาที เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน แอโรบิก ตีเทนนิส เตะฟุตบอล ฯลฯ นอกจากการออกกำลังกายจะส่งผลดีให้กับร่างกายแล้ว ยังช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และยังช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าอารมณ์ดีอีกด้วย

  1. ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  2. ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด
  3. ป้องกันและบรรเทาโรคความดันโลหิตสูง
  4. ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม
  5. ป้องกันโรคซึมเศร้า
  6. ป้องกันโรคอ้วน
  7. ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน
  8. ช่วยบรรเทาโรคถุงลมโป่งพอง
  9. ช่วยบรรเทาโรคไขมันในเลือดสูง

ประโยชน์การเล่นฟุตบอลมีมากมาย อย่างในบทความของ FIFA ได้บอกว่าประโยชน์ฟุตบอลดีพอ ๆ กับการออกกำลังกายอื่น ๆ และยังมีความสุข สนุกสนานกันแบบสุด ๆ และมีงานวิจัยที่ศึกษาผู้เล่นกีฬาฟุตบอลในร่ม 5 คน ที่ไม่ใช่นักกีฬาอาชีพ โดยให้ทั้ง 5 คนนี้ เตะฟุตบอลเป็นเวลา 30 นาที พบว่าระหว่างการเล่นฟุตบอลนั้น 90% ของการเล่น หรือเท่ากับ 27 นาที ระดับการทำงานของหัวใจจะเพิ่มขึ้นถึง 70% ของอัตรการเต้นหัวใจสูงสุดของนักฟุตบอล ซึ่งส่งผลต่อความฟิตของหัวใจ ปอด และการไหลเวียนโลหิต

ประโยชน์กีฬาฟุตบอล นอกจากจะต้องใช้กล้ามเนื้อในการออกกำลังกายแล้ว มันยังทำให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นมีความเเข็งแรงมากยิ่งขึ้น เช่น กล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงขึ้นจะช่วยป้องกันไม่ให้เข่ามีอาการบาดเจ็บ หรือหากเป็นกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อศอก ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเอ็นรอบ ๆ ข้อเหล่านั้นได้ยากขึ้น และนอกจากนี้ กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ที่แข็งแรงขึ้นจะส่งผลช่วยในการป้องกันการหกล้มหรือข้อเท้าพลิก และยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้อีกด้วย 

1. ป้องกันโรคกระดูกพรุน

การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อมีการยืดและหด มีแรงกระทำไปที่กระดูกส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้แคลเซียมที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกมีจำนวนลดลง เหมือนคนที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผู้ที่เป็นอัมพาต 

2. ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด

ประโยชน์ของการเล่นฟุตบอลช่วยป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด เพราะหลอดเลือดในผู้ที่ออกกำลังกายจะมีความยืดหยุ่นดี มีโอกาสเกิดหลอดเลือดแข็งและตีบตันได้น้อย ไขมันในเลือดลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่ตีบตัน โอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดก็จะลดลง รวมไปถึงโอกาสในการเกิด Stroke หรือโรคสมองขาดเลือดก็จะลดน้อยลงไปเช่นกัน และการเสียชีวิตเนื่องจากอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตก็จะน้อยลงตามไปด้วย 

3. ป้องกันและบรรเทาโรคความดันโลหิตสูง

ข้อดีของการเล่นฟุตบอลรวมถึงการออกกำลังกาย จะช่วยให้หลอดเลือดแดงมีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น ความดันโลหิตลดลงพร้อมกับทำให้ชีพจรหรือหัวใจเต้นช้าลง ซึ่งหมายถึงความสามารถในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายดีขึ้น

4. ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม

มีหลักฐานที่สามารถเชื่อถือได้ว่า สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะพบสถิติการเกิดมะเร็งน้อยกว่าในผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลย

5. ป้องกันโรคซึมเศร้า

กล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น จะทำให้สุขภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้น และการออกกำลังกาย สมองจะหลั่งฮอร์โมนออกมา ทำให้สมองโล่ง ปลอดโปร่ง ทำให้มีความสุขมากขึ้น

ข้อดีของการเล่นฟุตบอล ช่วยป้องกันและบรรเทาโรค | ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล | รู้ใจ

6. ป้องกันโรคอ้วน

ป้องกันโรคอ้วนได้ โดยการทำให้ไขมันส่วนเกินลดลง และการออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ จะช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินออกจากบริเวณรอบ ๆ เอว

7. ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยจำนวนมากที่ใช้วิธีการควบคุมอาหารควบคู่ไปกับการออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอล จนทำให้ระดับน้ำตาลลดลงมาสู่ภาวะปกติ เหมือนคนทั่ว ๆ ไป โดยไม่ต้องฉีดอินซูลินหรือกินยาลดระดับน้ำตาล

8. ช่วยบรรเทาโรคถุงลมโป่งพอง

การออกกำลังกายจะช่วยให้การทำงานของระบบหัวใจ การไหลเวียนโลหิต และระบบการหายใจดีขึ้น

9. ช่วยบรรเทาโรคไขมันในเลือดสูง

การออกกำลังกายจะช่วยลดปริมาณไขมันเลว LDL และเพิ่มปริมาณไขมันดี HDL ให้มากขึ้น 

นอกจากประโยชน์ของการเล่นฟุตบอลและข้อดีของการเล่นฟุตบอลแล้ว การเล่นกีฬาทุกชนิดอาจมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ โดยอาการบาดเจ็บที่พบได้ในกีฬาฟุตบอล มีดังนี้

  1. บาดเจ็บกล้ามเนื้อต้นขา – เนื่องจาก การเล่นฟุตบอลต้องใช้กล้ามเนื้อต้นขาในการวิ่ง กระโดดและเตะอยู่ตลอดเวลา 
  2. ข้อเท้าพลิก – อาจเกิดระหว่างการปะทะกันของผู้เล่นในสนาม ส่งผลให้ข้อเท้าบิดหมุนมากเกินไปจนเกิดการพลิก และอาจเกิดการบวม กดแล้วเจ็บ กรณีรุนแรงมาก อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด
  3. เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด – หากเอ็นไขว้หน้ามีการฉีกขาด จะทำให้เดินลงน้ำหนักไม่ได้ และต้องได้รับการผ่าตัด โดยต้องใช้เวลาฟื้นฟูอย่างน้อย 6 เดือน 
  4. บาดเจ็บที่หมอนรองเข่าและกระดูกอ่อน – นักฟุตบอลอาจมีอาการเข่าบวมหลังลงเล่น และอาจมีอาการข้อเข่าล็อค ไม่สามารถเหยียดงอได้สุด  ต้องได้รับการรักษาด้านเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย
  5. บาดเจ็บเอ็นหัวเข่า – หัวเข่าเป็นบริเวณที่พบการบาดเจ็บได้บ่อยที่สุดในกีฬาฟุตบอล มักเกิดจากการกระแทก การปั๊มบอล มีอาการบวมด้านในเข่า เหยียดงอแล้วเจ็บ ต้องไดัรับการรักษาและฟื้นฟู 
  6. กระดูกหัก – การปะทะในกีฬาฟุตบอลอาจรุนแรงจนเกิดกระดูกหักได้ เช่น กระดูกหน้าแข้ง กระดูกข้อเท้า กระดูกไหปลาร้า หากมีอาการกระดูกหัก แนะนำให้นำตัวส่งโรงพยาบาลทันที 

อุบัติเหตุระหว่างการเล่นกีฬา ไม่เฉพาะกีฬาฟุตบอลเท่านั้น สามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ตลอดเวลา นอกจากเราจะต้องมีสติในการเล่นกีฬาทุกชนิดแล้ว สุขภาพร่างกายของเราต้องพร้อมก่อนลงสนามทุกครั้ง อย่าลืมที่จะฟังเสียงของร่างกายตัวเอง เพราะร่างกายไม่เคยโกหก หากรู้สึกตัวว่าวันนี้ไม่พร้อม ไม่ควรฝืนออกกำลังกาย

และที่สำคัญหากมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลติดตัวไว้สักเล่ม ก็จะทำให้หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่รู้ใจ สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาลและคลินิกในเครือทั่วประเทศกว่า 400 แห่ง และสามารถปรับแต่งแผนประกันอุบัติเหตุได้เองตามใจ เข้ากับทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)