ภูมิปัญญาของคนโบราณในการหาหยูกยามาบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากพืชผักต่าง ๆ ตามธรรมชาติหรือที่ปลูกเอาไว้ใช้กินกันในครัวเรือน ซึ่งพืชผักหลายชนิดสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคได้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เรามาดูกันว่า 5 สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง และช่วยต้านโรคอย่างไร
- 5 สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน หาง่าย ใกล้ตัว
- ก่อนทานสมุนไพรต้องรู้อะไรบ้าง?
ไม่ว่าจะ พ.ศ.ไหนหรือยุคใด ตัวแปรสำคัญของอาการเจ็บป่วยคือ ฤดูกาล พอถึงหน้าที่ต้องผลัดฤดูกาล คนที่ร่างกายอ่อนแอมักจะได้รับผลกระทบจากการผลัดเปลี่ยนฤดูกาล สมุนไพรไทยสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพและใช้เป็นสมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกันในแต่ละช่วงฤดูกาลได้อีกด้วย วันนี้รู้ใจขอยกตัวอย่างสมุนไพรไทยที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ๆ และมีประโยชน์ช่วยต้านโรค
1. ใบบัวบก
ใบบัวบกเป็นพืชที่ออกฤทธิ์เย็น มีส่วนช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น มีสรรพคุณในการบำรุงสมอง คลายความวิตกกังวล นอกจากนี้ในใบบัวบกยังมีส่วนช่วยเร่งการสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ด้วยการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในบริเวณที่เป็นแผล นอกจากนั้นใบบัวบกยังเป็นสมุนไพรต้านไวรัสเพราะมีกรดเอเชียติกที่ไปจับตัวกับโปรตีนของไวรัสได้
2. ผักแพว
ผักแพวเป็นพืชพื้นบ้านทางภาคใต้ เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคและอาการต่างๆ ได้ และเป็นสมุนไพรต้านโรคมะเร็ง
- ป้องกันมะเร็ง
- แก้ปัญหาเหน็บชาที่ปลายประสาท
- ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- รักษาอาการปวดข้อหรือกระดูก
- เพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันในเลือด
- ช่วยชะลอวัย
- บำรุงประสาท
- ช่วยระบบขับถ่าย
- ช่วยปรับปรุงเลือดลมในร่างกายให้เดินได้สะดวกมากขึ้น
นอกจากผักแพวจะเป็นสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันแล้ว ยังสามารถป้องกันและตานมะเร็งได้ด้วย แต่ถึงเราทานสมุนไพรต้านโรคก็มีโอกาสในการเกิดมะเร็งอยู่ดี ถึงน้อยลงก็ยังอาจเกิดขึ้นได้ ยิ่งสำหรับคนที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งจากพันธุกรรมก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น ดังนั้นการทำประกันมะเร็งที่ครอบคลุม ที่รู้ใจมีประกันมะเร็ง คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท
ก่อนทานสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันต้องรู้อะไรบ้าง?
สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันในบทความนี้ มีสรรพคุณช่วยในการต้านทานโรคและเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ไม่ใช่ยารักษาโรคร้ายแรง และยิ่งไม่ใช่ยาสมุนไพรรักษามะเร็ง ดังนั้นรู้ใจจึงมีคำแนะนำดี ๆ จากการทานสมุนไพรมาฝากกัน
- สำหรับคนที่เป็นโรคร้ายอยู่แล้วและอยากรับประทานสมุนไพร ควรทานควบคู่ไปกับการรักษาและคำแนะนำจากแพทย์
- สำหรับคนที่เริ่มมีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคร้าย การไปตรวจวินิจัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับการรักษาเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ยิ่งรู้เร็วโอกาสในการรักษาก็เพิ่มมากขึ้น
- สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต เบาหวาน เกาต์ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานสมุนไพร
3. เก๊กฮวย
เรามักจะคุ้นเคยกับน้ำเก๊กฮวยเย็น ๆ ดื่มแล้วสดชื่น นอกจากเก๊กฮวยจะนำมาต้มดื่มจะอร่อยชื่นใจแล้ว มันยังช่วยลดอัตรการบีบตัวของหัวใจลง และยังส่งผลดีต่อการรักษาและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบย่อยอาหาร
4. ใบหม่อน
ในใบหม่อนมีสารที่ชื่อว่า DNJ (1-Deoxynojirimycin) ซึ่งเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส โดยมีกลไกในการป้องกันไม่ให้ร่างกายย่อยคาร์โบไฮเดรตไปเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก การรับประทานใบหม่อนจึงช่วยยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ หากผู้ป่วยรับประทานใบหม่อนในปริมาณที่เหมาะสมจะสามารถทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดลดลงได้ เช่น ชาใบหม่อน หรือนำใบหม่อนมาปรุงอาหาร หรือทานสด ๆ ได้เช่นกัน นอกจากนั้นในช่วงโควิด-19 ในประเทศจีนได้มีการนำชาใบหม่อนมาเป็นสมุนไพรต้านไวรัสโควิด-19 โดยตามรายงานการศึกษาพบว่าในใบหย่อนจะมีสารที่สามาถแย่งจับไวรัสในปอด รวมถึงยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ดี (อ้างอิง: hfocus.org)
5. กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง หรือกระเจี๊ยบเปรี้ยว เป็นสมุนไพรต้านโรคที่มีรสชาติเปรี้ยวสมชื่อ มีสรรพคุณในการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงช่วยลดความดันโลหิตด้วย สามารถนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือทำเป็นเครื่องดื่มก็ได้
สมุนไพรไทยมีหลายชนิดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรค หรือยับยั้งต่อต้านการเกิดโรคร้ายได้ ทั้งสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันในบทความนี้และยังมีสมุนไพรไทยที่ยังมีประโยชน์อีกมายมาย อย่างไรก็ตามการทานสมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกันควรทานในปริมาณที่เหมาะสม และสำหรับคนที่มีโรคประจำตัวจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรคร้ายด้วยกัน
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
สมุนไพร | พืช สัตว์ และแร่ธาตุตามธรรมชาติที่สามารถใช้เป็นยาหรือสามารถผสมสารอื่นเพื่อเป็นยา มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำบัด บรรเทาอาการ และรักษาโรค |
สารต้านอนุมูลอิสระ | สารที่ทำหน้าที่ในการยับยั้งและต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งหากในร่างกายเรามีอนุมูลอิสระมากจะทำให้เนื้อเยื่อและเซลล์เกิดความเสียหาย |