บุคลิกภาพที่นอกเหนือจากการแต่งตัวให้ดูดี สะอาด เรียบร้อย มีมารยาท รู้จักการวางตัว รวมไปถึงความสะอาดของหน้าตา ท่ายืน ท่าเดิน และท่านั่ง ทั้งหมดรวมกันเป็นคาแรกเตอร์ของคนคนนั้น ปัญหาหนึ่งที่มักจะพบได้บ่อย คือ การยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ในบางคนเกิดจากความเคยชิน จนติดเป็นนิสัย ซึ่งกรณีนี้สามารถแก้ไขได้โดยการทำกายภาพบำบัด แต่ในบางคนไม่ได้เกิดจากความเคยชิน แต่เกิดจากการเป็นโรค เช่น มะเร็งกระดูก มะเร็งกระดูกสันหลัง และโรคหลังค่อม กรณีเช่นนี้ต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
- ไหล่ห่อ หลังค่อม คืออะไร?
- ไหล่ห่อ หลังค่อม เกิดจากอะไร?
- วิธีเช็คว่าหลังค่อม ไหล่ห่อมั้ย?
- 5 ท่ากายภาพบำบัดแก้หลังค่อม คอยื่น ไหล่ห่อ
ส่วนใหญ่แล้ว หลังค่อมและไหล่ห่อมักจะพบมากในกลุ่มคนในวัยทำงาน และพบได้บ่อยพอ ๆ กับโรคออฟฟิศซินโดรม ปัญหาไหล่ห่อ หลังค่อมไม่ได้ส่งผลแค่บุคลิกภาพ แต่มันอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรามีความผิดปกติบางอย่างอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่โรคร้ายถือว่าโชคดีมาก ๆ เพียงแค่ปรับบุคลิกภาพเสียใหม่ ด้วยท่ากายภาพบำบัด 5 ท่าที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ปัญหาไหล่ห่อ หลังค่อมก็จะหมดไป จะมีท่าอะไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้
ไหล่ห่อ หลังค่อม คืออะไร?
ไหล่ห่อ หลังค่อม หรือ Kyphosis คือ อาการผิดปกติของโครงสร้างของร่างกายในช่วงส่วนบน นับจากกระดูกสันหลังบริเวณคอไปจนถึงส่วนของอกและหัวไหล่ ส่งผลให้กล้ามเนื้อรยางค์บนไม่สมดุลกัน บวกกับลักษณะที่ผิดปกติ อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและลักษณะของโครงสร้างภายนอกได้ เช่น หลังค่อม ไหล่ห่อ บ่ายก เป็นต้น
อาการหลังค่อม ไหล่ห่อนี้ จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัด เพื่อปรับท่าให้ถูกหลักของการยศาสตร์ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน อาการหลังค่อม ไหล่ห่อ ไม่ได้เกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และทางการรักษาก็แตกต่างกันเช่นกัน
ไหล่ห่อ หลังค่อม เกิดจากอะไร?
หลังค่อมเกิดจากหลากหลายสาเหตุ แต่จะมี 4 สาเหตุที่มักพบได้บ่อย ดังนี้
1. พฤติกรรมการวางท่าที่ไม่ถูกต้องจนเป็นนิสัย
การวางท่าทางไม่ถูกต้องจนติดเป็นนิสัย เช่น การนั่งไขว่ห้าง นั่งงอหลัง หรือนั่งพิงพนักพิง พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ อาจส่งผลให้ส่วนประคองสันหลังเกิดความผิดปกติ จนทำให้เกิดปัญหาปวดสะบักตามมา และทำให้หลังค่อม ไหล่ห่อได้หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรม
2. ความผิดปกติที่มาจากร่างกาย
ในผู้ที่มีภาวะหลังค่อม ไหล่ห่อ บางรายที่วางท่าตรงตามหลักสรีระศาสตร์แต่ยังมีปัญหาหลังค่อม ไหล่ห่อ สาเหตุอาจมาจากความผิดปกติทางร่างกายที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงบริเวณส่วนหลังไม่พอ จนเกิดการเจริญเติบโตไม่เต็มที่
3. เกิดจากความผิดปกติขณะอยู่ในครรภ์
ในผู้ที่มีปัญหาผิดปกติตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา กรณีเช่นนี้จะไม่สามารถรักษาหลังค่อม ไหล่ห่อได้ด้วยกายภาพบำบัด ต้องใช้การผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และต้องทำการผ่าตัดตั้งแต่ยังเด็ก
4. เกิดจากโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ
อาการหลังค่อม ไหล่ห่ออาจเกิดได้จากโรคหรือสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น อุบัติเหตุ โรคทางพันธุกรรม โรคที่เกี่ยวกับกระดูก หรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม เป็นต้น
วิธีเช็คว่าหลังค่อม ไหล่ห่อมั้ย?
วิธีการเช็คอาการหลังค่อม ไหล่ห่อด้วยตัวเอง สามารถเช็คอาการได้ง่าย ๆ ดังนี้
- หลังค่อม โดยปกติกระดูกสันหลังของมนุษย์จะมีความโค้งอยู่ที่ประมาณ 20-45 องศา รูหูต้องตรงกับปุ่มกระดูกไหล่ กระดูกข้อสะโพก และตาตุ่ม หากลองยืนตัวตรงหรือลองนั่งยืดหลังตรงแล้วรู้สึกว่า หลังตนเองค่อมไปด้านหลังมากกว่า 50 องศาขึ้นไป และลากในแนวดิ่งจากรูหูลงไปแล้วตัวเอนไปด้านหน้า อาการเช่นนี้ เรียกได้ว่า หลังค่อม ไหล่ห่อ จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจและทำกายภาพบำบัด
- ไหล่ห่อไปด้านหน้าของลำตัว บ่ายก
- มีปวดตึงที่หลัง
- ศีรษะยื่นไปข้างหน้า
- กระดูกสันหลังบริเวณคอระดับบน แอ่นจนเกินปกติ
- กระดูกสันหลังบริเวณอกระดับบนมีความโค้งมากกว่าปกติ
มะเร็งกระดูก แม้พบได้น้อย แต่ทรุดเร็ว
มะเร็งกระดูก แม้ว่าจะพบมะเร็งชนิดนี้ได้น้อยที่สุดในบรรดาตระกูลมะเร็งทั้งหลาย แต่มะเร็งกระดูกเมื่อเป็นแล้ว อาการจะทรุดลงเร็วกว่ามะเร็งอื่น ๆ เกิดจากความเจริญผิดปกติของเซลล์กระดูกจนกลายเป็นมะเร็ง
หากคุณตรวจพบความผิดปกติ เช่น มีก้อนบริเวณแขน ขา หรือกระดูก ปวดกระดูกและเป็นมากขึ้นเวลากลางคืน เมื่อเป็นมากขึ้นอาจเบื่ออาาหร น้ำหนักลด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพราะการวินิจฉัยโรคได้เร็วเท่าไหร่ จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นเท่านั้น
นอกจากมะเร็งกระดูกที่พบได้น้อย ทุกคนยังมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดมะเร็งกว่า 90% เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูก ความเครียด การกินอาหาร ดังนั้นการมีประกันมะเร็งมาช่วยรับภาระค่ารักษาพยาบาลก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน ที่รู้ใจมีประกันมะเร็ง เจอจ่ายจบ รับเงินก้อนสูงสุด 3 ล้านบาท ปรับแผนตามใจเลือกความคุ้มครองที่ต้องการได้
5 ท่ากายภาพบำบัดแก้หลังค่อม คอยื่น ไหล่ห่อ
สำหรับคนที่เช็คแล้วว่าตัวเองเดินหลังค่อม คอยื่น ไหล่ห่อ สามารถแก้ด้วย 5 ท่ากายภาพบำบัด ดังนี้
1. ท่าบีบสะบัก
เริ่มด้วยการยืนตัวตรง มือเท้าเอวและออกแรง เกร็งกล้ามเนื้อบีบสะบักเข้าหากัน แล้วคลาย ทำแบบนี้ 10 รอบเท่ากับ 1 เช็ต ทำวันละ 3 เช็ต
2. ท่าประสานมือแล้วบิดแขน
ให้ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้น แล้วงอข้อพับแขนลงมาด้านหลังทำมุม 45 องศา และประสานมือเข้ากับมืออีกข้าง แล้วบิดแขนไปมาสลับกันซ้ายและขวา 10 ครั้งจะเท่ากับ 1 เซ็ต ทำวันละ 3 เซ็ต
3. ท่าการวางศีรษะและดันศอก
กางแขนออกแล้วให้เลื่อนมือทั้งสองข้างไปทางด้านหลังศีรษะ และให้ดันศอกไปด้านหลัง 10 ครั้งเท่ากับ 1 เซ็ต ทำ 3 เซ็ตต่อวัน
4. ท่านอนคว่ำและดันลำตัว
หรือท่างูที่รู้จักกันดีในหมู่นักโยคะ นอนคว่ำหน้าและใช้มือทั้งสองข้างดันตัวให้เอนไปด้านหลัง แขนต้องเหยียดตรง ค้างไว้ 20 วินาที แล้วคลายออก ทำซ้ำ 3 รอบ
5. ท่านอนหงายและดันหลัง
ท่านี้ต้องมีอุปกรณ์ช่วย เช่น โฟมโรลเลอร์สำหรับเล่นโยคะ โดยนอนหงายชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น ให้โฟมโรลเลอร์ไปอยู่บริเวณกลางหลังหรือบริเวณสะบัก ประสานมือทั้งสองไว้ทางด้านหลังท้ายทอย และให้ดันศีรษะไปทางด้านหลังเล็กน้อย แล้วให้ยกศีรษะขึ้นกลับมาในท่าผ่อนคลาย จะคล้าย ๆ การทำซิตอัป ทำทั้งหมด 3 เช็ต เซ็ตละ 10 ครั้ง
หากเราออกกำลังกายและดูแลตัวเองอย่างเป็นประจำสม่ำเสมออยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับการให้รางวัลกับร่างกายของตัวเองเช่นนี้ และจะดียิ่งขึ้นหากเราไม่ประมาทในการใช้ชีวิตและไม่ลืมที่จะซื้อประกันมะเร็งติดตัวไว้สักเล่ม เพราะแม้ไม่ใช่มะเร็งกระดูกหรือมะเร็งกระดูกสันหลัง แต่ก็ยังมีมะเร็งที่พบได้บ่อย ทั้งมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ ฯลฯ เพื่ออย่างน้อยในอนาคต อายุที่มากขึ้นมันมักจะมากับความเสี่ยงต่อหลาย ๆ โรค เมื่อถึงเวลานั้น จะได้อุ่นใจ หายห่วงกับเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่เตรียมไว้อย่างดีแล้ว
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
รยางค์ | รยางค์ คือส่วนที่ยื่นออกจากส่วนหลักของอวัยวะในสิ่งมีชีวิต เช่น แขน ขา ครีบปา หางปลา หนวด และขาของสัตว์ที่เป็นปล้อง ๆ เช่น ปู |
การยศาสตร์ (Ergonomics) | การทำงานโดยใช้วิทยาศาสตร์เชื่อมโยงสัมพันธ์กับเนื้องาน บุคลากร สภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้การออกแบบลักษณะการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ หรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ |