หลังจากที่มีการปลดล็อกทั้งกระท่อมและกัญชา ดูเหมือนว่าเสรีในเข้าถึงนั้น ง่ายดายเสียเหลือเกิน ทั้งที่พืช 2 ชนิดนี้ หากบริโภคอย่างมีความรู้แล้ว มันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและมีสรรพคุณทางยา แต่ดูเหมือนว่า การบริโภคทั้งใบกระท่อมและกัญชาในปัจจุบันกำลังตกอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วงมากกว่า เนื่องจากมีเด็ก วัยรุ่น และคนมากมายที่ไม่ศึกษาให้ดีก่อนนำมาใช้ประโยชน์ และส่วนใหญ่แล้วจะใช้เพื่อการสันทนาการมากกว่าทางการแพทย์ วันนี้รู้ใจจะมาแชร์ 10 โทษของกัญชาและใบกระท่อมกัน
ใบกระท่อม คืออะไร?
ใบกระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง เป็นพืชกลุ่มสมุนไพรท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยนิยมนำใบสด ๆ หรือใบแห้งมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำดื่ม เพื่อให้มีแรงในการทำงานได้นานมากยิ่งขึ้น ผู้ที่บริโภคกระท่อมเข้าไป จะมีความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ไม่อยากอาหาร ทนต่อการทำงานกลางแดด แต่หากท้องฟ้าครึ้มฟ้าครึ้มฝนจะมีอาการหนาวสั่น
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งเป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางคล้ายฝิ่น แต่ว่ามีฤทธิ์น้อยกว่าประมาณ 10 เท่า ช่วยลดการอักเสบและแก้ปวด และสาร 7-hydroxymitragynine ถึงแม้จะพบน้อยมากในใบกระท่อมสด แต่ถ้าพบก็จะมีฤทธิ์รุนแรงกว่ากว่ามอร์ฟีนถึง 100 เท่า
ในใบกระท่อมมีสรรพคุณและโทษ ถ้ากินแต่พอดีก็มีสรรพคุณทางยา แต่หากกินมากเกิดไปก็เกิดโทษขึ้นได้เช่นกัน โดยสรรพคุณ กระท่อมคือฤทธิ์ในการลดปวด แก้อาการอักเสบ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และยังมีงานวิจัยสรรพคุณอีกมากมาย
กัญชาคืออะไร?
กัญชาเป็นพืชล้มลุก ประโยชน์ของกัญชาคือในใบกัญชาอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ในกัญชาจะมีสารประกอบ ชื่อ Cannabinoids ที่มีสารสำคัญอยู่ 2 ชนิด อย่าง THC และ CBD
- THC – เป็นสารในกัญชาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ช่วยทำให้ผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม นอนหลับง่าย และลดอาการตึงเครียดได้ หากใช้ในปริมาณมาก อาจทำให้เสพติดและเกิดโทษต่อร่างกายได้
- CBD – เป็นสารในกัญชาที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของแผล ลดความเจ็บปวดลงได้ ลดอาการคลื่นไส้ ลดอาการชักเกร็ง และยังสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ นิยมนำไปใช้ทางการแพทย์
คำถามที่ว่า กัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง? คำตอบคือ ถ้ากินอย่างพอดีก็จะมีประโยชน์ โดยสรรพคุณกัญชาคือ ช่วยให้เจริญอาหาร ผ่อนคลาย นอนหลับง่าย บรรเทาปวดเรื้อรัง ต่อต้านอาการซึมเศร้า และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งอีกด้วย ในทางกลับกันหากกินมากเกินไปอาจมีมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหลอน หูแว่ว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
รู้มั้ย? ใครที่ต้องระวังในการกินกัญชาในอาหาร
แน่นอนว่าแม้กัญชาจะมีประโยชน์ แต่ก็มีโทษของกัญชาเช่นกัน หลังจากที่นโยบายกัญชาเสรีอาจมีกัญชาถูกผสมในอาหารแล้วคนที่ควรระวังก่อนการบริโภค คือ เด็ก เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี (อาจเกิดการเสพติด), คนที่ตั้งครรภ์, ผู้สูงอายุ, คนที่มีโรคประจำตัว, คนที่ใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง, คนที่รักษาโรคทางจิตเวช, คนที่ใช้ยาวาร์ฟารินหรือยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ และคนที่มีประวัติเคยแพ้กัญชา
10 อันตรายจากใบกะท่อมและกัญชา
ผลข้างเคียงของการใช้ใบกระท่อมอย่างผิดวิธี
- สำหรับคนที่เพิ่งเคยบริโภคใบกระท่อมครั้งแรก จะมีอาการมึนงง คอแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน
- หากใช้ปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอาการเมา นำไปสู่ความผิดปกติของกล้ามเนื้อทรงตัว ระบบประสาทสัมผัสตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างลดลง
- กัญชาเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ
- ในคนที่ใช้ปริมาณมาก ๆ และใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผิวคล้ำและเข้มขึ้น
- ในบางราย หลังจากบริโภคใบกระท่อมแล้ว อาจเกิดอาการพิษเฉียบพลัน เช่น ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชัก ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ประสาทหลอน สับสน ปวดศีรษะ เหงื่อออก และความดันโลหิตสูงขึ้น
- อาจพบอาการซึมมากในผู้ที่รับประทานใบกระท่อมในปริมาณมาก หรือมากกว่า 15 กรัม หรือประมาณ 10 ใบ
- ไม่ควรกลืนกากเพราะกากใบของกระท่อมจะเป็นเส้นใยที่ย่อยยากมาก หากรับประทานบ่อยจะทำให้เกิด “ถุงท่อม” ที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ๆ อยู่ในท้อง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดท้อง
- อาจเกิดอาการอยากกระท่อมอย่างรุนแรง (Craving) เมื่อหยุดใช้กระท่อม และจะมีอาการถอนร่วมด้วย เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ หงุดหงิด อ่อนเพลีย ท้องเสีย น้ำมูกไหล แขนขากระตุก
ผลข้างเคียงของการใช้กัญชาอย่างผิดวิธี
9. ผลกระทบระยะสั้นจากการใช้กัญชาอย่างผิดวิธี ได้แก่
- ตาแดง ปากแห้ง มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
- หายใจเร็ว ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงผิดปกติ
- เชื่องช้า กระบวนการคิด และแก้ปัญหาบกพร่อง
- หลง ๆ ลืม ๆ ความจำบกพร่อง
- สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน
- การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
10. ผลกระทบระยะยาวจากการใช้กัญชาอย่างผิดวิธี ได้แก่
- ความพึงพอใจในการใช้ชีวิตลดลง เกิดความเศร้าและด้อยค่าตัวเอง
- สุขภาพจิตแย่ หวาดระแวง เกิดอาการแพนิค
- ผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง
- ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่าง ๆ
- เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง
- ส่งผลกระทบต่อสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี โดยส่งผลทั้งด้านความจำ
- ผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคจิตเวช จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการประสาทหลอนอย่างถาวร สูงถึง 20%
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับประโยชน์และโทษของกระท่อมและกัญชา ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ยาเสพติดและมีการออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ โดยใบกระท่อมช่วยลดปวดแก้อักเสบและยังมีสรรพคุณอีกมากรวมไปถึงประโยชน์ของกัญชาด้วย แต่หากใช้ผิดวิธีและใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนั้นการศึกษาปริมาณการทานต่อวันหรือทางเลือกการกินอาหารอื่นก็เป็นสิ่งสำคัญ
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
สรรพคุณ | คุณสมบัติหรือประโยชน์ของสิ่งที่เป็นยา |
สารประกอบ | สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป |
ไม้ยืนต้น | พืชที่อาศัยอยู่หลายปีโดยมีลำต้นเดี่ยวที่แตกกิ่งก้านออกตรงส่วนบนของลำต้น มีหลายขนาด รูปร่าง และสี |