สำหรับคนที่มีรถยนต์หลายคัน คงเกิดความสงสัยอยู่เล็ก ๆ ว่าเวลาเดินทางไกลทำไมคันนี้ขับสบาย แต่คันนั้นเหนื่อยกว่า แม้จะเป็นการขับรถทางไกลระยะทาง และความเร็วใกล้เคียงกันก็ตาม มันเป็นเพราะอะไรกันแน่ หรือจริง ๆ แค่คิดไปเอง รู้ใจมีคำตอบมาฝาก
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- รถเหมือนกัน แต่ทำไมขับทางไกลเหนื่อยไม่เท่ากัน?
- เลือกรถรุ่นไหนดี ตอบโจทย์คนชอบขับรถทางไกล?
- เทคนิคการขับรถทางไกล ขับยังไงไม่ให้ล้า?
รถเหมือนกัน แต่ทำไมขับทางไกลเหนื่อยไม่เท่ากัน?
รถบางคันขับทางไกลเมื่อย เหนื่อยล้ามาก กลับกันได้ขับอีกคันที่ใหญ่กว่า เครื่องแรงกว่า ช่วงล่างดีกว่ากลับเหนื่อยน้อยกว่า เป็นเพราะอะไร กับคำตอบว่าทำไมเวลาเดินทางไกล รถยนต์แต่ละคันที่ใช้กลับให้ความรู้สึกเหนื่อยล้าต่างกัน เราได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วด้านล่าง
1. ฐานล้อสั้น
รถยนต์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะรถยนต์กลุ่ม B-Segment ที่มีฐานล้อค่อนข้างสั้น เนื่องจากต้องการเน้นความคล่องตัวในเมือง หากนำมาขับรถทางไกล ทำให้ผู้ขับขี่ต้องใช้สมาธิในการควบคุมมากกว่าปกติ เพื่อไม่ให้รถเกิดอาการว่อกแว่กที่ความเร็วสูง
รถยนต์กลุ่ม B-Segment คืออะไร?
รถยนต์ B-Segment หรือ Subcompact เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก มีพื้นที่ภายในห้องโดยสารรถยนต์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ A-Segment แต่จะมีความยาวไม่เกิน 4 เมตร เหมาะสำหรับการใช้งานในเมือง ในส่วนของ “สมรรถนะ” กำลังเครื่องยนต์อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะกับการเดินทางระยะสั้น หากคุณชื่นชอบการขับรถทางไกลอาจไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่ โดยข้อดีของรถยนต์กลุ่ม B-Segment ยังมีราคาที่จับต้องได้ ประหยัดน้ำมัน โดยแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ
- รถยนต์ Eco Car ส่วนใหญ่มีขนาดเครื่องยนต์ประมาณ 1,200 cc.
- รถยนต์ปกติ มีขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 cc. ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่กว่า Eco Car แต่ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่ม B-Segment ด้วย และยังมาพร้อมกับออปชันเสริมให้เลือกเพิ่มขึ้นด้วย
2. ห้องโดยสารเสียงดัง
รู้มั้ย การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารรถยนต์ที่แย่ จะทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกรำคาญใจอย่างไม่ทันรู้ตัว มารู้อีกทีตอนเนื่อยมาก ๆ แล้ว ยิ่งรถคันไหนที่ขาดการดูแลระบบเครื่องยนต์และช่วงล่าง ที่อาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งมายังพวงมาลัย เมื่อต้องจับพวงมาลัยต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงทำให้รู้สึกไม่สบายด้วยเช่นกัน
3. ระบบช่วงล่างรถยนต์แข็ง
ต้องบอกก่อนว่ารถยนต์แต่ละรุ่นมีการเซ็ตระบบช่วงล่างรถยนต์แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าแต่ละแบบ หากนำรถที่มีช่วงล่างแข็งกระด้าง เน้นฟีลลิ่งแบบสปอร์ตมาเดินทางไกล แรงสะเทือนจากพื้นถนนที่สะท้อนขึ้นห้องโดยสารอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้รู้สึกขับขี่ไม่สบาย
4. พละกำลังเครื่องยนต์ไม่เพียงพอ
สำหรับรถยนต์ที่มีพละกำลังเครื่องยนต์ไม่เหมาะสมกับน้ำหนักรถ จะทำให้การขับขี่อืดกว่าปกติ จะเร่งแซงที่ความเร็วสูงจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากกำลังเครื่องยนต์ไม่เพียงพอ แม้ว่าจะ “คิกดาวน์” ก็ทำให้เครื่องยนต์เกิดเสียงดังน่ารำคาญ แถมยังเพิ่มอัตราการสึกหรอของระบบเครื่องยนต์ และระบบเกียร์มากกว่าปกติอีกด้วย
ทั้งนี้การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไกล อย่างการเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่คุ้มครองครอบคลุม พร้อมดูแลตลอดการขับรถทางไกลเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุ และบางบริษัทอาจคุ้มครองเมื่อรถเสียหรือเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย ที่รู้ใจมีบริการเสริมช่วยเหลือซ่อมแซมฉุกเฉิน 24 ชม. ทั่วไทย ทั้งช่วยเหลือซ่อมแซมฉุกเฉิน บริการรถรับส่งรถหากรถเสียจนซ่อมจุดเกิดเหตุไม่ได้ ช่วยเหลือแบตเตอรี่เสีย เติมน้ำมัน และตามช่างกุญแจ ขับทางไกลไปไหนก็อุ่นใจได้เลย
เลือกรถรุ่นไหนดี ตอบโจทย์คนชอบขับรถทางไกล?
หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบการขับรถทางไกล หรือเดินทางไกลบ่อย ๆ เป็นกิจวัตร การเลือกรุ่นรถให้เหมาะสมกับการใช้งานถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ แต่จะเลือกรถรุ่นไหนดีที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ ไปดูกันเลยดีกว่า
1. รถซีดานขนาดกลางขึ้นไป
แม้ว่ารถยนต์ซีดานขนาดกลางขึ้นไป จะได้รับความนิยมดรอปลงมากว่าเมื่อก่อน แต่ยังตอบโจทย์การเดินทางไกลได้ดีมาก ๆ โดยเฉพาะกับคนที่ต้องการความอเนกประสงค์ หรือจำนวนเบาะที่นั่งมากมาย เนื่องจากรถยนต์ประเภทนี้ มักถูกออกแบบให้นั่งสบาย นุ่มนวล แรงสั่นสะเทือนน้อย ในส่วนของเครื่องยนต์ยังมาพร้อมกับตัวเลือกที่มีกำลังมากพอสำหรับวิ่งยาว ๆ ทางไกล
2. รถ SUV
SUV หรือ Sport Utility Vehicle นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากรถ SUV ส่วนใหญ่เน้นให้ความสะดวกสบายที่มากกว่า พฤติกรรมการแล่นจะคล้ายกับรถเก๋ง เน้นความนุ่มนวล รองรับผู้โดยสารได้มากถึง 5-7 ที่นั่ง รถรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีหลายระดับราคา แถมยังมีหลายความหรูหรา หลายฐานะให้เลือกใช้งาน
3. รถสปอร์ต จีที/บิ๊กคูเป้
รถสปอร์ตถือเป็นรถที่เหมาะกับการเดินทางไกลมาก ๆ โดยเฉพาะรถคูเป้ขนาดใหญ่ ที่ออกแบบมาเพื่อการขับรถทางไกล ตอบโจทย์สำหรับคนที่อยากเปิดประสบการณ์ที่แตกต่าง โรแมนติก มีสไตล์ในแบบส่วนตัว
หรือจะเป็น Grand Touring (GT) ที่พร้อมมอบความสบายในการเดินทาง มีพื้นที่จัดเก็บสัมภาระ แถมยังมีเครื่องยนต์ใหญ่ กำลังสูง นิ่มนวลทว่าหนักแน่น ไม่กระโชกโฮกฮากและกระด้างแบบเพียวสปอร์ต
เทคนิคการขับรถทางไกล ขับยังไงไม่ให้ล้า?
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหาเทคนิคการขับรถทางไกล เพื่อลดความเหนื่อยล้า และเพื่อความปลอดภัยตลอดการเดินทาง เรามีวิธีขับรถทางไกลมาบอกต่อ แต่จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย
1. ปรับท่านั่งให้เหมาะสม
ท่านั่งในการขับรถโดยเฉพาะคนที่เดินทางไกลบ่อย ๆ ถือว่าสำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้แล้ว ยังช่วยให้ควบคุมรถได้ดียิ่งขึ้น โดยท่านั่งที่เหมาะสมมีดังนี้
- ปรับความสูงของเบาะให้เหมาะสม เพื่อให้มีวิสัยทัศน์ในการขับขี่ที่ดี หากเบาะที่นั่งเตี้ยหรือสูงไปอาจทำให้ทัศนวิสัยลดลง ควบคุมรถได้ยาก
- ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย ควรเอนพนักพิงเพียง 110 องศา เพื่อให้มีระยะห่างจากพวงมาลัยที่เหมาะสม
- จับพวงมาลัยที่ 3 และ 9 นาฬิกา แนะนำว่าไม่ควรจับพวงมาลัยเกินช่วงไหล่ เพื่อลดอาการเมื่อยล้า และไม่ควรจับพวงมาลัยมือเดียว เพราะถ้าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันอาจทำให้ประคองพวงมาลัยไม่ถนัด หรืออาจทำให้พวงมาลัยหลุดมือ และเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ยังควรนั่งให้ชิดเต็มทั้งเบาะ ด้วยการให้แผ่นหลัง สะโพก ต้นขา ชิดเบาะด้านในมากที่สุด เนื่องจากจะช่วยสร้างความมั่นคงในขณะขับขี่ได้ดีมาก ๆ
2. หาเพื่อนร่วมทางไปด้วย
หากต้องขับรถทางไกลแนะนำว่าควรหาเพื่อนร่วมทางไปด้วย เพื่อจะได้สลับกันขับเมื่อเกิดอาการเมื่อยล้า หรือชวนคุยแก้ง่วง เพราะต่อให้เปิดเพลงดังแค่ไหน อาการหลับในจะสามารถถามหาได้เสมอ เชื่อเถอะว่ามีบัดดี้ไปด้วยสบายใจหายห่วงได้มากกว่า
3. พักรถอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
การพักรถอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง นอกจากผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะได้พัก และผ่อนคลายความเมื่อยล้าของร่างกายแล้ว รถยนต์ยังได้พักเพื่อรักษาสภาพรถยนต์อีกด้วย
ต้องบอกก่อนว่าการเดินทางไกลบ่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหรือน่ากังวลอย่างที่คิด ขอแค่เตรียมสภาพร่างกาย เตรียมสภาพรถให้พร้อม และเรียนรู้วิธีขับรถทางไกลเป็นวิชาติดตัว รวมถึงเลือกรุ่นรถที่ตอบโจทย์ เพียงเท่านี้จะช่วยให้คุณเดินทางถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยแล้ว
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ว่อกแว่ก | อาการที่จิตใจไม่สงบนิ่ง หรือไม่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า |
การคิกดาวน์ (Kickdown) | การเหยียบคันเร่งลงไปให้ลึกกว่าปกติ เพื่อลดตำแหน่งเกียร์ลงมา 1-2 ระดับ ซึ่งจะเพิ่มรอบเครื่องยนต์และกำลังเครื่องยนต์ ทำให้รถเร่งความเร็วได้อย่างรวดเร็ว มักใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการเร่งแซง เช่น แซงบนถนนเลนสวนหรือเมื่อจำเป็นต้องเร่งแซงรถคันอื่น |
รถคูเป้ (Coupe) | รถยนต์สปอร์ตที่มี 2 ประตู และมักมีหลังคาที่ลาดเอียงไปทางด้านหลัง จะมี 2 หรือ 4 ที่นั่งก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ |
รถสปอร์ต จีที (GT) | ย่อมาจาก “Grand Touring” เป็นรถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อการขับขี่ทางไกลด้วยความเร็วสูงและความสะดวกสบาย |