หนึ่งในชิ้นส่วนที่คนใช้รถไม่อยากให้เสีย พัง หรือปัญหาใด ๆ เลยคือเกียร์รถยนต์ เพราะค่าซ่อมของส่วนนี้นั้นแพงมาก หากผู้ขับขี่ใช้งานผิดวิธีไม่ทำความเข้าใจข้อควรระวังให้ดีก็มีโอกาสพังไม่ยากเลย
โดยเฉพาะสถานการณ์เล็ก ๆ ที่ดูไม่มีผลอะไร อย่างการเข้าเกียร์ถอยรถในขณะรถยังเคลื่อนที่อยู่ อาจนำไปสู่เรื่องใหญ่อย่างการทำให้ระบบเกียร์ได้รับความเสียหายได้ และกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่คนใช้รถไม่อยากเจอ รู้ใจจะมาบอกการใช้เกียร์ที่ถูกต้อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของระบบเกียร์รถยนต์ให้ยาวนานกว่าที่เคยมาให้แล้ว จะน่าสนใจและเป็นประโยชน์อะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย!
- ระบบเกียร์รถยนต์คืออะไร?
- พฤติกรรมเสี่ยงทำให้เกียร์รถยนต์พัง มีอะไรบ้าง?
- ถ้ารถเกียร์พังจะเป็นยังไง?
- ถอยรถเร็ว มีโอกาสทำเกียร์พังแค่ไหน?
- สัญญาณเมื่อระบบเกียร์รถยนต์ใกล้พัง
ระบบเกียร์รถยนต์คืออะไร?
“เกียร์” หรือระบบส่งกำลังรถยนต์ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รถขับเคลื่อนได้ โดยคอยทำหน้าที่ในการ “ส่งกำลัง” จากเครื่องยนต์ไปยังเพลาและล้อรถยนต์ ช่วยเพิ่มหรือลดความเร็ว รวมถึงเปลี่ยนทิศทางของรถ เช่น เดินหน้า-ถอยหลัง หลัก ๆ แล้วระบบเกียร์รถยนต์มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
1. เกียร์ธรรมดา
เกียร์ธรรมดาหรือที่หลาย ๆ คนนิยมเรียกกันว่า “เกียร์กระปุก” เป็นระบบเกียร์รถยนต์ที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ในรถยนต์รุ่นเก่า การเปลี่ยนเกียร์ประเภทนี้จะต้องเปลี่ยนโดยผู้ขับขี่ และจะต้องเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ ไม่ว่าจะเป็นเกียร์ถอยรถ เกียร์ว่าง หรือใด ๆ ก็ตาม ให้เหมาะสมกับอัตราความเร่งของรถยนต์ที่กำลังขับขี่อยู่
การใช้งานระบบเกียร์รถยนต์ประเภทนี้ เท้าซ้ายของผู้ขับขี่จะต้องเหยียบ “คลัตช์” ตลอดเวลา เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้เครื่องยนต์ดับได้ ข้อดีของเกียร์กระปุก คือ มีต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำ ทนทานสูง แถมยังดูแลรักษาง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการขับรถแบบเต็มสมรรถนะสุด ๆ
2. เกียร์ออโต้
เกียร์ออโต้หรือเกียร์อัตโนมัติเป็นระบบเกียร์รถยนต์ที่พบได้บ่อยในรถยนต์รุ่นใหม่ ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ให้เหมาะกับ “ความเร็วและน้ำหนักบรรทุก” ซึ่งระบบเกียร์อัตโนมัติยังมีอีก 2 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ดังนี้
- คอนเวอร์เตอร์ คือ ระบบเกียร์รถยนต์ที่ใช้ “คอนเวอร์เตอร์” และใช้น้ำมันในการส่งถ่ายกำลัง โดยใช้กำลังจากเครื่องยนต์มากกว่าระบบเกียร์ธรรมดา ไม่เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบความแรง ขับเร้าใจ แต่ปัจจุบันรถเกียร์ออโต้ประเภทนี้ มีการพัฒนามากขึ้นทำให้ไม่ค่อยกินกำลังเครื่องยนต์เหมือนเมื่อก่อน
- เกียร์ CVT (Continuously Variable Transmission) คือ การเปลี่ยนอัตราทดแบบต่อเนื่อง ข้อดีของรถเกียร์ออโต้ประเภทนี้คือช่วยให้เปลี่ยนเกียร์ได้นุ่มนวลมากขึ้น หมดกังวลเรื่องเกียร์กระตุก แถมยังช่วยรักษารอบเครื่องยนต์ และช่วยประหยัดน้ำมันได้ดีมาก ๆ เนื่องจากเป็นการทำงานในลักษณะไล่เกียร์ไปเรื่อย ๆ ตามรอบอัตราเร่งของตัวรถ
พฤติกรรมเสี่ยงทำให้เกียร์รถยนต์พัง มีอะไรบ้าง?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นรถเกียร์ออโต้แทบทั้งหมด ซึ่งมี “บางสิ่ง” ที่บางคนยังหลงลืมและเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้งานเกียร์อัตโนมัติอยู่ไม่น้อย แน่นอนว่าความเข้าใจผิดนั้น ส่งผลต่อระบบเกียร์รถยนต์พอสมควร หากไม่อยากให้เกียร์พังเร็วเกินไป เรามาดูพฤติกรรมเสี่ยงและข้อควรระวังกันเลยดีกว่า
1. เดินหน้าหรือถอยรถ ในขณะที่รถยังไม่หยุดสนิท
โดยเฉพาะการใส่เกียร์ R เพื่อถอยรถ ทั้ง ๆ ที่รถยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แบบนี้จะส่งผลให้ชุดขับเคลื่อนภายในเกียร์ถูกกระชากกลับทิศทางการหมุนเร็วเกินไป การใช้เกียร์แบบนี้บ่อย ๆ จะทำให้อายุการใช้งานของรถเกียร์ออโต้ลดลง
2. เข้าเกียร์ว่างก่อนที่รถจะหยุดสนิท
การเข้าเกียร์ว่างก่อนที่จะรถจะหยุดสนิท หรือการเข้าเกียร์ N หลาย ๆ คนเข้าใจว่าเป็นการช่วยประหยัดน้ำมัน เนื่องจากรอบเครื่องยนต์จะต่ำ แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ช่วยอะไรเลย แถมยังทำให้เกียร์รถเสียหายอีกด้วย เนื่องจากการใช้เกียร์ N หรือการเข้าเกียร์ว่างในขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง ชิ้นส่วนที่เป็นระบบตัดต่อกำลังของเกียร์อัตโนมัติหรือทอร์คคอนเวอร์เตอร์จะเกิดความเสียหายหากมีเหตุต้องเร่งเครื่องกะทันหัน ก็ต้องเปลี่ยนเกียร์มาที่ตำแหน่ง D และ แน่นอนว่าการใช้เกียร์แบบนี้ยิ่งทำให้ชุดเกียร์ได้รับความเสียหายเร็วขึ้นเช่นกัน
3. เร่งเครื่องแล้วออกตัวทันที
การออกตัวด้วยการเร่งเครื่องยนต์ให้รอบสูง ๆ ค้างไว้ จากนั้นใส่เกียร์ D ทันที เพื่อต้องการให้รถยนต์เคลื่อนไปข้างหน้าได้เร็วขึ้น บอกเลยว่าอันตรายมาก เพราะการใช้เกียร์แบบนี้ทำให้ระบบเกียร์รถยนต์ถูกกระชากอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังส่งผลไปยังชุดเพลาขับเคลื่อน ยางรองแท่นเครื่องยนต์ และเกียร์ ให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้นตามไปด้วย
พฤติกรรมการใช้เกียร์ที่ผิดแปลกไป นอกจากจะทำให้ระบบเกียร์รถยนต์ได้รับความเสียหาย หรือเกียร์พังแล้ว ยังอาจทำให้อุบัติเหตุตามมาได้เช่นกัน หากไม่อยากปวดหัวกับค่าใช้จ่ายที่ตามมา “ประกันรถยนต์” เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ตอบโจทย์ โดยเฉพาะเมื่อซื้อประกันกับรู้ใจ ลดสูงสุด 30% ปรับแผนได้ตามใจ มีอู่และศูนย์ซ่อมทั่วไทย 1,600+ แห่ง ขับรถอย่างปลอดภัยและอุ่นใจตลอดการเดินทาง
ถ้ารถเกียร์พังจะเป็นยังไง?
รู้มั้ย เกียร์อัตโนมัติเองก็มีอายุการใช้งานที่จำกัด และสิ่งที่ทำให้เสื่อมสภาพเร็ว ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ผิด ๆ โดยที่ไม่รู้ตัว รวมถึงการไม่ดูแลเกียร์รถยนต์ด้วย เช่น การไม่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะ การเร่งเครื่องแรง ๆ ตั้งแต่เริ่มสตาร์ตรถ รวมไปถึงการเร่งแซงคนอื่นบ่อย ๆ เป็นต้น และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจนต้องเปลี่ยนเกียร์รถยนต์ใหม่ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเกียร์อาจสูงถึง 80,000-100,000 บาท หรืออาจราคาสูงกว่านี้ได้ ดังนั้น การดูแลรถ ถนอมเกียร์ ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานรถ รวมถึงทำให้ไม่ต้องเสียเงินหลักแสนด้วย อย่างไรก็ตามการพิจารณาว่าต้องเปลี่ยนชุดเกียร์หรือซ่อมแซม ควรให้ช่างผู้ชำนาญออกความเห็น และเลือกวิธีการซ่อมที่เหมาะสมกับรถของคุณมากที่สุด
ถอยรถเร็ว มีโอกาสทำเกียร์พังแค่ไหน?
อย่าลืมว่าเกียร์ถอยมีไว้สำหรับถอย ค่อย ๆ ถอยช้า ๆ กับคนที่มี “พฤติกรรมขับรถการใช้เกียร์แปลก ๆ” หรือเกิดความสงสัยเกี่ยวกับการใช้เกียร์ถอยหลัง ว่าสามารถขับด้วยความเร็วสูงได้แบบในหนังหรือเปล่า มาทำความเข้าใจกันก่อนอธิบายให้เข้าใจตรงกันว่า อัตราทดของเกียร์ถอยหลัง/ถอยรถ ใกล้เคียงกับเกียร์ 1 แต่จะมีอัตราทดมากกว่าและหน้าที่หลักของมันคือ “ใช้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของรถ” ลองนึกภาพคุณขับรถเกียร์ธรรมดาด้วยเกียร์ 1 ไปเรื่อย ๆ นั่นแหละเหมือนกัน! ขณะรถมีกำลังหรือแรงฉุดแรงบิดลากสูง ๆ แต่ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นที่เกียร์ที่สามารถเพิ่มความเร็วให้กับรถได้ แถมยังไม่มีอัตราทดต่อเนื่องเหมือนระบบเกียร์รถยนต์แบบเดินหน้า ไม่ว่าคุณจะกดคันเร่งลึกหรือถอยรถด้วยความเร็วแค่ไหน รถก็ไม่ได้เคลื่อนที่เร็วไปกว่ารอบอัตราทดที่มีแต่อย่างใด ถามว่ามีโอกาสที่เกียร์พังได้บ้างมั้ย? ตอบเลยว่ามีโอกาสพังได้มากกว่าขับถอยรถปกติธรรมดา ถอยรถแรง ๆ นอกจากจะทำให้ระบบเกียร์รถยนต์ได้รับความเสียหาย และสึกหรอเร็วขึ้นแล้ว ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
สัญญาณเมื่อระบบเกียร์รถยนต์ใกล้พัง
หลังจากที่พอจะเข้าใจคร่าว ๆ แล้วว่าพฤติกรรมการใช้เกียร์แบบไหน ทั้งถอยรถ เดินหน้า เข้าเกียร์ว่าง ฯลฯ ที่ทำให้ระบบเกียร์พัง แต่หนึ่งในสิ่งที่หลายคนมักไม่รู้คือ “อาการ” ที่กำลังบอกว่าระบบเกียร์รถยนต์ของคุณกำลังมีปัญหา ซึ่งอาการเหล่านั้นจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
1. เกียร์เปลี่ยนเร็วหรือช้ากว่าปกติ
เกิดจากการปรับตั้งสายเกียร์ไม่ถูกต้อง (สำหรับรุ่นที่มีสายเกียร์) สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับตั้งใหม่ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า ให้เคลียร์เมมโมรีของสมองเกียร์ หรือตรวจสอบวาล์วควบคุมทิศทางเดินน้ำมันด้วยไฟฟ้า ว่ามีน้ำมันเกียร์มากหรือน้อยเกินไป
2. เข้าเกียร์ D หรือเกียร์ R แล้วกระตุก/กระชาก
เมื่อเข้าเกียร์เดินหน้า หรือทำการถอยรถแล้วพบว่าเกียร์รถยนต์กระตุก/กระชาก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ออกรถในขณะที่เครื่องยังเย็นอยู่
- เมื่อใช้งานไปแล้ว (เครื่องร้อนแล้ว) แต่น้ำมันเกียร์ยังไม่ถึงอุณหภูมิที่ถูกต้อง (เกียร์เย็น) หรือน้ำมันเกียร์ร้อนเกินไป
สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการเริ่มตรวจวัดระดับน้ำมันเกียร์ รวมถึงคุณภาพของน้ำมันเกียร์ ตามด้วยตรวจเช็กระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์และน้ำมันเกียร์ด้วย
3. เข้าเกียร์รถยนต์แล้วรถไม่ค่อยขยับ
หากเข้าเกียร์รถยนต์แล้วพบว่ารถไม่ค่อยขยับ ไม่ค่อยอยากจะออกตัว เกิดจากการขาดการบำรุงรักษา โดยเฉพาะรถที่ไม่ค่อยได้ใช้งานเป็นเวลานาน ส่งผลให้น้ำมันเกียร์มีปริมาณที่ไม่ถูกต้อง เช่น น้อยเกินไปหรือมากเกินไป สามารถแก้ไขได้ด้วยการเติมน้ำมันเกียร์ในระดับที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็ใช้งานได้ตามปกติแล้ว
ต้องยอมรับว่าเกียร์รถยนต์เป็นหนึ่งในชิ้นส่วน ที่หลาย ๆ คนมักมองข้ามแบบไม่รู้ตัว ทั้งคนที่ใช้รถเกียร์ออโต้และเกียร์ธรรมดา บอกไว้ตรงนี้เลยว่าการใช้เกียร์แบบผิด ๆ ไม่ใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เกียร์ว่างหรือเกียร์ถอยรถมักทำให้เกียร์พังได้ง่าย แถมยังทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนตามมาได้อีกด้วย แนะนำว่าควรให้ความสำคัญกับการขับรถอย่างปลอดภัย รวมถึงหมั่นดูแลรักษาระบบเกียร์รถยนต์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
สมองเกียร์ | มีหน้าที่ในการสั่งงานให้เกียร์เปลี่ยนไปตามจังหวะของเครื่องยนต์ |
พฤติกรรมเสี่ยง | การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางร่างกาย ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้าที่อาจก่อให้เกิดสิ่งไม่ดีในอนาคต และสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สูญเสียหน้าที่ขาดโอกาสพัฒนาตามปกติหรือเสียชีวิต |