Roojai

ทำอย่างไรเมื่อรถเกิด “เบรกแตก”

ใครที่ติดตามข่าวสารบ่อยๆ อาจจะเคยได้ยินข่าวอุบัติเหตุรถ “เบรกแตก” กันมาบ้าง ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงแก่ชีวิตก็เป็นได้ ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องแบบนี้ย่อมไม่มีใครอยากให้เกิด แต่ก็ควรพึงระวังไว้เสมอว่าอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และถ้าดันมาเกิดขึ้นกับเราจะมีวิธีรับมืออย่างไร Roojai.com จึงได้เรียบเรียงข้อมูลเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

1. ทันทีที่เราเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่ารถไม่ชะลอหรือหยุด ก็ควรตั้งสติและคิดให้เร็วว่าจะทำให้อย่างไรเพื่อให้รถเคลื่อนที่ช้าลง เริ่มด้วยการถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็ว จากนั้นพยายามนำรถเข้าไปในช่องทางซ้ายหรือไหล่ทางให้เร็วที่สุด (อย่าลืมดูรถด้านหลัง)

2. ใช้กำลังจากเครื่องยนต์ให้มีประโยชน์ โดยใช้แรงเสียดทานอย่างเอ็นจิ้นเบรก ซึ่งก็พอช่วยให้ลดความเร็วลงมาได้บ้าง ทำได้โดยเหยียบคลัตช์ จากนั้นลดตำแหน่งเกียร์ เช่น จาก 5 มา 4 และลดลงเรื่อยๆ ตามลำดับ ส่วนเกียร์อัตโนมัติถ้ามีโอเวอร์ไดรฟ์ก็ให้กดปุ่มโอเวอร์ไดรฟ์ หรือเลื่อนตำแหน่งเกียร์ จาก D มาเป็น 3 และลดต่ำลงมาเรื่อยๆ ที่สำคัญห้ามเปลี่ยนจังหวะมาเป็นตำแหน่ง L เพราะอาจทำให้รถเสียหลักและเครื่องยนต์อาจพังได้ หากรถบางรุ่นที่ไม่เกียร์ D2-D3 ให้ลองใช้เกียร์โหมด S หรือ M แล้วลดตำแหน่งเกียร์ ทั้งที่แป้นแพดเดิ้ลชิฟท์หรือที่คันเกียร์ก็ได้

3. พยายามจับพวงมาลัยให้มั่น เมื่อลดเกียร์รถจะมีความเร็วต่ำลง แต่ไม่ถึงกับหยุดสนิท ห้ามเติมคันเร่ง ถ้ามีรถขับช้าหรือขวางอยู่ด้านหน้าให้บีบแตรส่งสัญญาณ ถ้าเป็นไปได้ควรเปิดไฟฉุกเฉินด้วย จากนั้นใช้เบรกมือช่วยลดความเร็วที่ล้อหลัง โดยค่อยๆ ดึงคันเบรกขึ้นทีละสเต็ปจนสุด จะช่วยลดความเร็วได้บ้างไม่มากก็น้อย สิ่งสำคัญคือห้ามดับเครื่องยนต์เพราะจะทำให้พวกมาลัยหนักและล็อคจนบังคับทิศทางไม่ได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ควรนำรถเข้าตรวจเช็คเมื่อถึงระยะกำหนด หรือควรตรวจเช็ครถก่อนเดินทางเป็นประจำ ดูน้ำมันเบรกว่าลดหรือพร่องไปมากกว่าปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าพบก็ควรนำรถเข้าอู่เพื่อทำการแก้ไขทันที

ถ้ารักรถเต็มหัวใจ ให้ Roojai.com ดูแลรถคุณ คลิกเช็คราคาประกันรถ หรือโทร 02 582 8888