จากเหตุสลดที่คร่าชีวิตผู้ใช้รถใช้ถนนในบ้านเราไปแล้วมากมาย ซึ่งหลายๆเหตุการณ์นั้นเกิดจากสาเหตุไฟลุกไหม้รถยนต์ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินมากมาย หลายคนคงสงสัยว่าทำไมรถถึงเกิดไฟลุกไหม้ มันเกิดจากอะไรและมีวิธีป้องกันอย่างไร
การจะเกิดเพลิงไหม้ได้นั้นโดยหลักการทั่วไปคือ “เมื่อเชื้อเพลิงเจอกับประกายไฟเมื่อใด เมื่อนั้นก็มีสิทธิ์เกิดเพลิงไหม้ได้ทุกที่” รถยนต์ที่เกิดไฟลุกไหม้นั้นเกิดจากปัจจัยทั้ง 2 อย่างนี้เช่นกัน
- การรั่วไหลของเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน หรือ แก๊สล้วนมีส่วนทำให้เกิดไฟไหม้รถได้ทั้ง 2 คู่ ซึ่งส่วนใหญ่การรั่วไหลของเชื้อเพลิงมักเกิดจากการชนอย่างรุนแรง ชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบเชื้อเพลิง ตั้งแต่ระบบจ่ายเชื้อเพลิงรั่วหรือฉีกขาด โดยเฉพาะท่อยางต่างๆที่เกิดการเสียหายได้ง่าย ไปจนถึงขั้นรุนแรงระดับถังน้ำมันฉีกหรือรั่วเมื่อเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง เป็นสาเหตุให้มีเชื้อเพลิงรั่วออกมาอย่างรวดเร็ว สำหรับรถที่จอดอยู่เฉยๆก็มีโอกาสเกิดไฟไหม้ได้เช่นกัน ถ้าชิ้นส่วนของระบบเชื้อเพลิงเกิดการชำรุด ฉีกขาด ตรงนี้ก็เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ได้ไม่แพ้กัน
- การเกิดประกายไฟ ตัวแปรหลักที่ทำให้รถยนต์เกิดไฟลุกไหม้ ซึ่งรถยนต์แต่ละคันนั้นมีระบบไฟฟ้าเป็นตัวควบคุมการทำงานต่างๆและจ่ายไฟให้อุปกรณ์ต่างๆมากมาย มีแบตเตอรี่เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า เมื่อไฟฟ้าเกิดรั่วหรือรัดวงจรก็เป็นสาเหตุให้ประกายไฟจนรุกรามและกลายเป็นเหตุสลดที่เราเห็นกันในข่าว ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจทั้งระบบไฟและระบบเชื้อเพลิงให้มากขึ้นเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้
วิธีป้องกันไฟไหม้รถ
การตรวจเช็คสภาพรถยนต์ในอยู่ในสภาพพร้อมเสมอ นั้นถือเป็นวิธีง่ายๆที่ช่วยลดความเสี่ยงต่างๆรวมถึงการเกิดไฟไหม้ได้ด้วย ยอมเสียเวลามาเปิดฝากระโปรงเพื่อตรวจสอบดูสักนิดเพื่อความปลอดภัย
สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงมีขั้นตอนการตรวจสอบที่ไม่ยุ่งยากเท่ากับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส ซึ่งคุณสามารถทำเองได้ดังนี้
-
- ตรวจดูระดับน้ำหล่อเย็น ดูร่องรอยการรั่วซึมของน้ำและคราบน้ำมันตามจุดต่างๆ บริเวณห้องเครื่องยนต์ และพื้นโรงรถเป็นประจำ สภาพสายไฟของตัวรถ ควรอยู่ในสภาพที่ดีไม่ควรมีร่องรอยฉีกขาดเห็นลวดทองแดง ดูท่อทางเดินน้ำมันดูว่ามีรอยฉีกขาดหรือหมดสภาพ ถ้ามีตรงไหนผิดปกติควรเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย
- ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ ถ้าแบตเตอรี่มีอาการบวมหรือน้ำกรดรั่วแล้วไม่ควรใช้ต่อ ขั้วแบตเตอรี่ที่หลวมก็ส่งผลเสียหายอย่างมาก เพราะแบตเตอรี่อาจระเบิดและก่อให้เกิดประกายไฟซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดไฟไหม้ได้ ถ้าหากมีส่วนใดส่วนหนึ่งผิดปกติ ไม่ควรปล่อยไว้เด็ดขาดเพราะหากเกิดไฟไหม้ขึ้นมา รถทั้งคันอาจกลายเป็นซาก และไม่เหลืออะไหล่ให้คุณเปลี่ยนแน่
สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส ซึ่งกลายเป็นจำเลยสำคัญในเหตุไฟไหม้รถมาโดยตลอดยิ่งต้องหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆอย่างสม่ำดังนี้
- ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของแก๊ส ตามข้อต่อและจุดต่างๆ อย่างน้อยปีละครั้ง โดยใช้น้ำยาล้างจานผสมน้ำ หรือเครื่องตรวจวัดแก๊สรั่ว
- ไม่ควรดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานแก๊ส หากมีปัญหาในการใช้งานให้รีบติดต่อศูนย์บริการที่ติดตั้งมาทันที
- อุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบแก๊สควรใช้ของใหม่ที่ได้มาตรฐานและควรทำการติดตั้งจากศูนย์ที่ได้รับอนุญาติจากกรมการขนส่ง ท่อยาง ท่อทองแดง และสายไฟที่ผ่านการใช้งานมาแล้วไม่ควรนำมาใช้ซ้ำอีก
- ควรมีน้ำมันสำรองในถังไว้อย่างน้อย 1/4 อยู่เสมอเพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบน้ำมัน ท่อยางในระบบน้ำมันไม่ควรมีร่องรอยการแตกลายงา รถที่มีอายุงานมากๆควรทำการหยุดการทำงานของปั๊มน้ำมันขณะที่เราใช้แก๊ส
- ควรเปลี่ยนหัวเทียนทุกๆ 40,000กิโล สายหัวเทียน คอล์ยจุดระเบิดที่หมดอายุรั่วลงกาวน์ได้ คือตัวจุดประกายไฟชั้นดี ไม่ควรใช้ต่อไป
หากเกิดเหตุขึ้นมา ศึกษาวิธีรับมือเหตุไฟไหม้รถยนต์ดังนี้
-
- ตั้งสติให้ได้ก่อน แล้วค่อยสังเกตุว่าต้นเพลิงว่าเกิดมาจากจุดไหนของรถ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากเครื่องยนต์ ซึ่งถ้ารถยังเคลื่อนที่อยู่ให้พยายามนำเข้าข้างทางก่อนจะปลดเกียร์ว่าง และเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน ก่อนจะดับเครื่องยนต์พร้อมดึงกุญแจรถออกมาด้วย ถ้าเป็นไปได้ให้ดึงคันโยกหรือปุ่มเพื่อเปิดฝากระโปรงไว้ ถ้าเป็นรถติดแก๊สควรไปปิดวาล์วแก๊สที่ท้ายรถด้วยถ้ายังมีเวลาพอ ก่อนจะรีบเผ่นหนีออกมาตั้งหลักและวิเคราะห์สถานการณ์กันต่อ
- ดับไฟอย่างถูกต้อง ถ้ารถใครมีอุปกรณ์ดับเพลิงถังเล็กๆ ติดรถก็ให้หยิบติดมือมาด้วย (ควรมีติดรถไว้ทุกคัน) วิธีดับไฟด้วยถังดับเพลิงให้คุณถอดสลักและค่อยๆฉีดพ่านเข้าไปทางช่องฝากระโปรงที่แง้มอยู่เท่านั้น ห้ามเปิดฝากระโปรงขึ้นในขระที่ไฟยังลุกอยู่เด็ดขาด เพราะถ้าเปิดอากาศซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี จะพุ่งเข้าไปเติมเชื้อไฟให้ลุกรามเข้าหาตัวคุณจนได้รับอันตรายขั้นรุนแรงได้ ที่ถูกคือต้องค่อยๆฉีดน้ำยาดับเพลิงเข้าไปจนกว่าจะมั่นใจว่าไฟเริ่มสงบลง จึงค่อยเปิดฝากระโปรงขึ้นเพื่อฉีดให้ทั่วอีกครั้งจนไฟดับสนิท ที่สำคัญอย่าลืมหาผ้าชุบน้ำมาพันมือตอนเปิดฝากระโปรงด้วยไม่งั้นมือพังแน่นอน
- ไฟดับแล้วอย่าลืมถอดขั้วแบตเตอร์รี่ เพื่อไม่ให้เกิดประกายไฟขึ้นมาอีกครั้งแม้จะมั่นใจว่าไฟดับสนิทแล้วก็ตาม เพราะโดยมากที่ไฟไหม้ในรถยนต์สาเหตุหนึ่งก็เกิดมาจากระบบไฟฟ้า และแบตเตอร์รี่คือแหล่งกำเนิดไฟฟ้าหลักของรถ เราจึงควรถอดชั้วแบตออกหลังไฟดับลง เพื่อช่วยไม่ให้เกิดเปลวไฟขึ้นมาอีก เรียกว่ากันไว้ดีกว่าแก้
- ถ้าไม่ไหวจริงให้หนีก่อน เชื่อว่าเหตุการเฉพาะหน้าแบบนี้โดยเฉพาะเหตุไฟไหม้นั้นบางทีเมื่อเกิดกับตัวจริง เชื่อเลยว่าส่วนใหญ่จะตกใจจนทำอะไรไม่ถูกแน่นอน สิ่งที่ดีที่สุดคือตัวคุณต้องรีบออกมามาจากรถให้ไวและให้ไกลที่สุดก่อน จากนั้นค่อยหาทางช่วยสมาชิกที่ยังติดอยู่ในรถ จะเรียกพลเมืองดี จะโทรแจ้งตำรวจ หรือเรียกกู้ภัยมาช่วย
เพราะชีวิตของคุณและคนที่คุณรักนั้นมีค่าและสำคัญทีสุด ส่วนเรื่องรถยนต์และทรัพย์สินที่เสียหายนั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบริษัทประกันภัยกันเค้าดูแลและรับผิดชอบกันต่อไป
Roojai.com พร้อมเคียงข้างคุณ ด้วยประกันประเภทต่างๆที่คุ้มครองกรณีรถไฟไหม้ บริการหลังการขายเป็นเลิศ ประกันชั้น 1 ผ่อนสบายๆ เริ่มต้นเดือนละ 500 กว่าบาท 0% ยาว 10 เดือน คลิกเช็คเบี้ยประกันภัยรถเลย! หรือโทรให้เราช่วยเสนอราคาดีให้คุณที่ 02 582 8888