“ความมืด” เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่คนขับรถตอนกลางคืน ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากประสิทธิภาพการมองเห็นอาจลดลง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะกับคนที่เดินทางไปในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่มีความชำนาญสักเท่าไหร่นัก รู้ใจรวมเคล็ดลับขับรถตอนกลางคืนแบบช่วยลดโอกาสเสี่ยงอันตราย และเพิ่มความปลอดภัยได้ตลอดเส้นทางแล้วล่ะ แต่จะต้องทำยังไงบ้าง ไปดูกันเลย
- 5 วิธีขับรถตอนกลางคืนลดเสี่ยง เลี่ยงอันตราย
- ขับรถตอนกลางคืน สภาพอากาศไม่ดี ควรไปต่อมั้ย?
- สาเหตุของอุบัติเหตุเมื่อขับรถตอนกลางคืนคืออะไร?
5 วิธีขับรถตอนกลางคืนลดเสี่ยง เลี่ยงอันตราย
การขับรถบนเส้นทางที่สภาพแวดล้อมไม่เป็นใจ โดยเฉพาะการขับรถกลางคืน เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะเกิดขึ้นน้อยที่สุด หากคุณปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้
1. เช็คสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง
นอกจากตัวผู้ขับขี่จะต้องพร้อมแล้ว สภาพรถยนต์ก็ต้องมีความพร้อมด้วยเช่นกัน ดังนั้นก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ควรตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกถนนเสมอ โดยเฉพาะระบบไฟส่องสว่าง ที่ช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นยามค่ำคืนได้มากยิ่งขึ้น
หากสังเกตว่าระบบส่องสว่างของตัวรถ ทั้งไฟด้านหน้า ด้านหลัง รวมถึงไฟเลี้ยวหมอง แนะนำให้ขับโคมไฟให้สว่าง สะอาด ไม่มีฝุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
2. วางแผนเส้นทาง
หลังจากตรวจเช็คสภาพรถยนต์จนแน่ใจแล้วว่า ไม่มีส่วนไหนชำรุด เสียหาย หรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ลำดับต่อมาให้ทำการวางแผนเส้นทาง เพื่อทำความคุ้นเคยกับเส้นทางที่จำเป็นต้องใช้ รวมถึงให้ระวังพื้นที่ที่มีแสงสว่างจำกัด เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับคนที่ไม่เคยหรือไม่คุ้นเคยกับการใช้ GPS แนะนำให้ฝึกใช้จนชำนาญก่อนออกเดินทาง อาจใช้เวลาก่อนออกเดินทางประมาณ 2-3 วัน เพื่อฝึกใช้ระบบนำทางระหว่างใช้ชีวิตประจำวันดูก่อน เช่น เปิดระหว่างทางไปทำงาน ไปห้าง กลับบ้าน เพื่อให้เดินทางปลอดภัยและป้องกันการหลงทางในช่วงเวลากลางคืน
3. พักผ่อนให้เต็มที่
เมื่อรู้ว่าจะต้องเดินทางไกล คาบเกี่ยวช่วงเวลากลางคืน แนะนำให้พักผ่อนก่อนออกเดินทางให้เต็มที่ เพราะ “สุขภาพ” ที่ดีและพร้อม ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและควรใส่ใจให้มาก ๆ เนื่องจากการขับรถกลางคืน อาจทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าตอนกลางวัน นอกจากนี้เพื่อการขับขี่ปลอดภัย จึงไม่ควรดื่มเครื่องมึนเมาก่อนและระหว่างขับรถ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
กรณีที่พักผ่อนเต็มที่แล้ว แต่พอออกเดินทางไปได้สักครึ่งทาง ร่างกายเกิดอาการเหนื่อยล้า สายตาพร่ามัว อย่าดันทุรัง เพราะ “อาการหลับใน” ไม่มีสัญญาณแจ้งเตือน ควรแวะพักเพื่อนอนสักงีบ ประมาณ 15-30 นาที เพื่อให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า แล้วค่อยออกเดินทางต่อ
4. ปรับกระจกและไฟหน้า
เมื่อถึงวันที่ต้องออกเดินทาง ก่อนเข้าเกียร์-เหยียบคันเร่ง แนะนำให้ปรับกระจกให้เหมาะสม โดยเฉพาะกระจกมองหลังและกระจกมองข้าง เพื่อลดแสงสะท้อนจากรถคันอื่น ๆ และควรปรับตำแหน่งไฟหน้ารถให้ถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าไฟหน้าจะส่องสว่างไปที่ถนน มองเห็นเส้นทางอย่างชัดเจน และจะต้องไม่ส่งผลเสียต่อรถที่ขับสวนทางมาด้วย
5. มีสมาธิ
ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปไหน ใกล้หรือไกล สิ่งสำคัญที่สุดคือ “สมาธิ” แนะนำให้ลดสิ่งรบกวนภายในรถให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การฟังเพลง การหยิบ-จับ-เล่นโทรศัพท์ รวมถึงการสนทนาและการทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามบนรถ เพื่อให้คุณมีสมาธิและจดจ่อกับการขับขี่มากที่สุด
นอกจากนี้ยังควรระวังให้เรื่องของ “ความเร็ว” ในการขับขี่ เพราะยิ่งร่างกายของคุณเหนื่อยล้ามากแค่ไหน ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายในการหยุดรถ หรือตัดสินใจใด ๆ ก็ตามน้อยลงตามไปด้วย แนะนำให้เว้นระยะห่างจากคันข้างหน้าอย่างเหมาะสม เผื่อว่าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะได้ชะลอรถได้ทันเวลา
ทั้ง 5 ข้อที่เรานำมาบอกต่อเมื่อข้างต้น ถือเป็นทริคการขับรถปลอดภัยในตอนกลางคืนที่ช่วยลดความเสี่ยงอันตรายได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้คุณควรพกอุปกรณ์ฉุกเฉินติดรถเอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นไฟฉาย น้ำ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และบันทึกเบอร์โทรสายด่วนฉุกเฉินเผื่อเอาไว้ด้วย เพราะไม่มีใครสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
การขับรถกลางคืนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ทั้งจากทัศนวิสัยในการขับรถ รวมไปถึงความเหนื่อยล้าของร่างกาย แม้เราจะคาดเดาอุบัติเหตุไม่ได้ แต่เตรียมพร้อมเพื่อรับมือได้ ด้วยประกันรถยนต์ ตัวช่วยเคลียปัญหาเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ทั้งช่วยไกล่เกลี่ย ประกันตัวผู้ขับขี่ คุ้มครองรถเราและรถคู่กรณี รวมไปถึงอาการบาดเจ็บด้วย ที่รู้ใจมีประกันรถยนต์ลดสูงสุด 30% ผ่อนสบาย 10 งวด แถมมีอู่และศูนย์ซ่อมทั่วไทย 1,600+ แห่ง พร้อมบริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. ไปไหนใกล้หรือไกลก็อุ่นใจให้รู้ใจช่วยดูแล
ขับรถตอนกลางคืน สภาพอากาศไม่ดี ควรไปต่อมั้ย?
เมื่อต้องขับรถในตอนกลางคืนก็ยากและแย่พออยู่แล้ว หากเจอสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ ทำเอาคนขับกุมขมับกันเลยทีเดียว เราควรจอดพัก vs เร่งเหยียบคันเร่งให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยเร็ว แบบไหนคือตัวเลือกเพื่อการเดินทางปลอดภัย
การเดินทางให้ถึงจุดหมายปลายทางให้เร็วที่สุด “ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี” แถมยังอาจนำพาปัญหาต่าง ๆ มาให้แบบไม่รู้จบ
แนะนำให้ประเมินสถานการณ์ดูก่อนว่ามีความเสี่ยงสูงหรือไม่ หากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยจริง ๆ ก็ไม่ควรฝืนขับฝ่าไปเด็ดขาด เพราะนอกจากมีความเสี่ยงสูงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายแล้ว เส้นทางที่ต้องเดินทางไปอาจได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น น้ำท่วม ทางขาด หรือต้นไม้หักโค่นขวางเส้นทาง ฯลฯ
สาเหตุของอุบัติเหตุเมื่อขับรถตอนกลางคืนคืออะไร?
นอกจาก “ความมืด” จะเป็นอุปสรรคของการขับรถตอนกลางคืนแล้ว ยังคงมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงตามมาแบบไม่รู้จบด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ไปดูสาเหตุของอุบัติเหตุ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางกันเลยดีกว่า
1. ละเลยการใช้สัญญาณไฟ
“รถรุ่นนี้ไม่แถมไฟเลี้ยวเหรอ” หนึ่งในคำสบถที่ได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ รวมถึงตัวคุณเองที่บางครั้งก็เผลอสบถใส่เพื่อนร่วมทาง แล้วถ้าวันหนึ่งคุณกลับกลายเป็นคนที่ละเลยการใช้สัญญาณไฟขึ้นมาซะเอง เช่น การเปลี่ยนเลนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ การขับรถแต่ไม่เปิดไฟ หรือเปิดแต่ใช้ไฟสูง เป็นต้น
โดยเฉพาะการขับรถกลางคืน บอกเลยว่าอาจจะไม่ได้รับแค่คำสบถ หรือคำกร่นด่าจากเพื่อนร่วมทางอย่างเดียวแน่นอน สิ่งที่ตามมาอาจเลวร้ายมากกว่าที่คิด ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้การเดินทางของคุณไม่ราบรื่น และเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ง่าย ๆ
2. รถจอดเสียบริเวณไหล่ทาง
หากต้องขับรถตอนกลางคืนไปบนเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย บวกกับไม่มีไฟส่องสว่างเท่าไหร่นัก แนะนำให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะชนรถจอดเสียบริเวณไหล่ทาง ไม่ว่าจะเป็นมุมอับ หรือทางโค้ง ที่ไฟหน้ารถของคุณสาดไฟไม่ถึง เห็นอีกทีก็จิ้มก้นกันไปแล้ว ดังนั้นหากเส้นทางที่ใช้อยู่มืดเป็นทางยาว แนะนำให้เปิดไฟต่ำสลับไฟสูงบ่อย ๆ เพื่อสังเกตสภาพแวดล้อมด้านหน้า
3. ใช้ไฟสูง
ในหัวข้อก่อนหน้าแนะนำให้ “สลับใช้” ไฟต่ำและไฟสูง ฉะนั้นต่อให้ทางมืดสักแค่ไหน อย่าได้คิดเปิดไฟสูงตลอดทางเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาได้ เนื่องจากไฟสูงที่สาดไปทั่ว ทำให้เพื่อนร่วมทางมองไม่เห็นเส้นทางด้านหน้า ซึ่งอาจเป็นเหตุที่ทำให้รถทั้ง 2 คันประสานงากันได้ง่าย ๆ
ทั้งหมดนี้ถือเป็นตัวแปรที่ควรเพิ่มความระมัดระวังให้มาก ๆ รวมถึงสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ โดยเฉพาะฝนตก ที่ทำให้ถนนลื่น ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดน้อยลง ก็จะยิ่งอันตราย ตัวเลือกที่ดีที่สุดหากต้องขับรถกลางคืน แนะนำให้ค่อย ๆ ขับ หากร่างกายอ่อนล้าหรือฝนตกหนัก แนะนำให้หยุดพักรถก่อนจะดีกว่า
อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาจากการขับขี่ของตัวคุณเอง เพื่อนร่วมทาง หรือแม้กระทั่งปัจจัยที่หลายคนอาจมองข้ามอย่าง “ช่วงเวลา” ดังนั้นหากต้องขับรถตอนกลางคืน แนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม เลือกบริษัทที่มีบริการช่วยเหลือบนท้องถนน 24 ชั่วโมง เพื่อให้การเดินทางของคุณราบรื่น เพิ่มความปลอดภัย และอุ่นใจมากที่สุด
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ไฟสูง | ไฟหน้ารถที่ถูกออกแบบให้ส่องแสงได้ไกลและสว่างมากกว่าไฟต่ำ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล โดยเฉพาะเมื่อขับรถในสภาพที่มีแสงน้อยหรือในเวลากลางคืน |
ไหล่ทาง | พื้นที่จากเส้นทึบซ้ายสุดของถนน จะมีขนาดแคบกว่าเลนถนนหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับกรณีฉุกเฉิน เช่น การจอดรถที่เสียหรือการหลบให้รถฉุกเฉินผ่าน |