Roojai

วิธีติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เปิดราคาและขั้นตอนแบบละเอียด

วิธีติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

รู้หรือไม่ว่า การชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะช่วยเพิ่มสะดวกในการใช้งานขึ้นอีกมาก อีกทั้งยังประหยัดกว่าการไปชาร์จที่สถานีชาร์จ จนทำให้คุณแทบลืมค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้เลย หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน แต่ยังไม่มีข้อมูลอะไรมากนัก ไม่ว่าจะเป็นติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่ ข้อควรระวังของการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่บ้าน และอื่น ๆ อีกหลายประเด็น รู้ใจลิสต์สิ่งที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาให้แล้ว ทำความเข้าใจก่อนติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้ากันเลยดีกว่า

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

หัวชาร์จรถไฟฟ้ามีกี่แบบ อะไรบ้าง?

รถไฟฟ้าหลายแบรนด์ หลายประเภท และมีหลายรุ่นที่ใช้หัวชาร์จไม่เหมือนกัน ก่อนติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ต้องรู้ก่อนว่า “หัวชาร์จ” รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 แบบ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

1. หัวชาร์จแบบธรรมดา

หัวชาร์จกระแสสลับแบบ Normal Charger หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อว่าหัวชาร์จ AC คือ สายที่ออกแบบให้ต่อจากเต้ารับไฟฟ้าในบ้านโดยตรง มีข้อจำกัดว่ามิเตอร์ไฟฟ้าต้องเป็น 15(45)A และต้องใช้เต้ารับที่รองรับกับตัวปลั๊กของหัวชาร์จโดยเฉพาะ ในส่วนของระยะเวลาในการชาร์จแบตรถไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 12-16 ชั่วโมง มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • หัวต่อแบบ 5 Pin ซึ่งนิยมใช้ในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น รองรับกระแสไฟฟ้า 32 A/250 V
  • หัวต่อแบบ 7 Pin นิยมใช้ในกลุ่มทวีปยุโรปและประเทศแถบเอเชีย รองรับกระแสไฟฟ้า 70A / 250V และ 3 Phase 63A / 480 V

2. หัวชาร์จแบบ Double Speed Charger

Double Speed Charger หนึ่งในประเภทหัวชาร์จแบบ AC หรือการชาร์จแบตรถไฟฟ้าจากเครื่อง Wall Box เครื่องชาร์จแบตรถไฟฟ้า ส่วนใหญ่นิยมติดตั้งไว้ที่บ้าน แถมยังให้ความปลอดภัยได้มากกว่าแบบ Normal Charger ในส่วนของระยะเวลาในการชาร์จแบตรถยนต์ จะอยู่ที่ประมาณ 4-7 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับขนาดของ Wall Box)

3. หัวชาร์จแบบชาร์จเร็ว

หัวชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้ากระแสตรง หรือที่คุ้นเคยกันดีในชื่อเรียกว่า DC Charger เหมาะสำหรับคนที่ต้องการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบเร่งด่วน จาก 0-80% ภายในระยะเวลา 40-60 นาที มีหัวชาร์จทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • CHAdeMO หรือ CHArge de MOve รองรับกระแสไฟฟ้า 200A / 600V มีความโดดเด่นคือเมื่อชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้าแล้วสามารถขับต่อได้ทันที ซึ่งได้รับความนิยมมาก ๆ ในประเทศญี่ปุ่น
  • GB/T เป็นหนึ่งในนวัตกรรมจากประเทศจีน พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบรับความนิยมของผู้ที่ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า มีทั้งแบบ AC และ DC
  • CSS หรือ Combined Charging System เป็นนวัตกรรมที่นำหัวชาร์จแบบ AC มาเพิ่มหัวต่ออีก 2 Pin เพื่อรองรับการชาร์จแบบ DC
ติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าใช้เงินเท่าไหร่ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง?

ไม่ว่าใครก็สามารถติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านได้ ส่วนราคาของการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ก่อนอื่นต้องเข้าใจพื้นฐานตัวรถและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ติดตั้งให้ดีก่อน เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับ “ระบบไฟฟ้า” ภายในบ้านโดยตรง หากไม่ศึกษาให้ดีอาจทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้ ซึ่งมีอะไรที่ต้องทำความเข้าใจบ้าง? ตามไปดูกันเลยดีกว่า

1. ตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กรถยนต์

เพื่อให้การติดตั้งจุดชาร์จรถไฟฟ้าชาร์จไฟบ้านให้ตรงกับรถยนต์ของคุณ ควรตรวจสอบ “ที่เสียบหัวปลั๊ก” ให้ดีก่อน โดยมีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • Type 1 สำหรับรถญี่ปุ่นและอเมริกา เช่น Nissan Leaf / Tesla
  • Type 2 สำหรับรถยุโรป เช่น Mercedes-Benz / BMW/ Volvo / Porsche / Tesla
  • Type GB/T สำหรับรถจีน เช่น BYD

2. ตรวจสอบขนาด On-Board Charger

On-Board Charger คือ ระบบควบคุมการดึงไฟฟ้า ที่ตัวรถจะสั่งการไปยังเครื่องชาร์จแบตรถไฟฟ้า หรือ EV Charger ปกติจะมีขนาดตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์

3. ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

สังเกตที่ “มิเตอร์ไฟฟ้า” ตรงข้อความที่ระบุว่า Phase หรือ Type สำหรับบ้านี่สร้างมานานแล้ว มิเตอร์จะอยู่ที่ Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A ซึ่งไม่เพียงพอต่อการชาร์จรถไฟฟ้า โดยมาตรฐานที่แนะนำสำหรับการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า คือ Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A

4. เลือกจุดติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

สำหรับจุดติดตั้งชาร์จแบตรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเด็นที่ควรรู้ ดังนี้

  1. ระยะจากจุดติดตั้งสถานีชาร์จแบตรถยนต์ จนถึงจุดที่เสียบเข้ากับตัวรถยนต์ไฟฟ้า ev ไม่ควรห่างกันเกิน 5 เมตร เนื่องจากสาย EV Charger จะอยู่ที่ประมาณ 5-7 เมตร
  2. เลือกจุดที่สามารถเดินสายไฟจากเครื่องชาร์จไปยัง “ตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน” ได้สะดวก ไม่ควรเป็นโรงรถที่อยู่ไกลจากตัวบ้าน เนื่องจากจะต้องเสียค่าเดินสายไฟมากกว่าเดิม
  3. เลือกจุดติดตั้งที่มีหลังคา เพื่อป้องกันละอองฝน
  4. สำหรับคนที่พักอาศัยอยู่ในคอนโด หรือที่พักอาศัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บ้าน แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่นิติบุคคล เพื่อขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน

นวัตกรรมและสิ่งที่ใหม่ ๆ ที่เราอาจยังไม่เข้าใจอย่างการใช้รถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเลือกชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านหรือสถานีชาร์จรถไฟฟ้าไหน ๆ ก็ตาม ย่อมมี “ความเสี่ยง” เกิดขึ้นได้ไม่ต่างกับใช้รถเติมน้ำมันหรือเติมแก๊ส แม้กระทั่งใช้งานรถเฉย ๆ ก็อาจมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาไม่รู้จบ แนะนำให้มองหา “ประกันรถยนต์ไฟฟ้า” ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ ทั้งตัวรถ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน เพื่อความอุ่นใจของคุณตลอดการเดินทาง

ติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่?

อีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนสงสัยและอยากรู้มากที่สุด คือ ติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่? มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องรู้บ้าง? หลัก ๆ แล้วมี “ค่าใช้จ่าย” ที่ต้องเตรียมแน่ ๆ ทั้งหมด 3 อย่าง ดังนี้

1. ค่าเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

สำหรับราคาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และขนาดของกำลังไฟที่ปล่อยออกมา โดยมีตั้งแต่ 3.7 kW, 7.4 kW, 11kW และ 22 kW ราคาเริ่มต้นที่ 15,000 บาท ไปจนถึง 100,000 กว่าบาท แต่รถยนต์บางแบรนด์ก็แถมให้เลยฟรี ๆ

รถไฟฟ้าชาร์จไฟบ้านได้ไหม | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

2. ค่าเพิ่มขนาดมิเตอร์ หรือค่าขอมิเตอร์ลูกที่ 2

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเพิ่มขนาดมิเตอร์ หรือค่าขอมิเตอร์ลูกที่ 2 ราคาจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ “พื้นที่ในการติดตั้ง” ดังนี้

  • พื้นที่ในกทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ต้องติดต่อ “การไฟฟ้านครหลวง (MEA)” ซึ่งมีค่าตรวจสอบตั้งแต่ 700-2,500 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ที่ขอ และถ้าหากอยากได้ค่าไฟแบบอัตรา TOU จะคิดเพิ่มอีกประมาณ 6,640-7,350 บาท
  • พื้นที่นอกกทม. นนบุรี และสมุทรปราการ ต้องติดต่อ “การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)” เพื่อขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 700-1,500 บาท หากไม่สามารถเพิ่มได้ ต้องทำเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ลูกที่ 2 แทน และถ้าหากอยากได้ค่าไฟแบบอัตรา TOU จะต้องจ่ายเพิ่มประมาณ 3,740-5,340 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์

อัปเดต! กฟภ.ยกเลิกการติดมิเตอร์เครื่องที่ 2 ตั้งแต่ 1 ก.ย. 67 เป็นต้นไป – สำหรับคนที่กำลังจะติดตั้งมิเตอร์ลูกที่ 2 นั้น จะมีการยกเลิกไม่ให้ติดตั้งใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 67 เป็นต้นไป โดยคนที่ยื่นคำขอติดตั้งมอเตอร์ไปแล้วก็ยังสามารถใช้ได้ตามปกติ แต่หากพบว่าใช้งานผิดหลักเกณฑ์ก็จะยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟมอเตอร์ที่ 2 ทันที ส่วนสาเหตุที่กฟภ.ต้องออกมาประกาศยกเลิก เนื่องจากมีการใช้มอเตอร์ลูกที่ 2 ซึ่งเป็นแบบ TOU ผิดวัตถุประสงค์จำนวนมาก โดยฉวยโอกาสนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน ทำให้จ่ายค่าไฟถูกลง เอาเปรียบผู้ใช้ไฟฟ้าคนอื่น ๆ (ที่มา: thaipbs.or.th)

อัตราค่าไฟแบบ TOU คืออะไร?

สำหรับคนที่อยากติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน แต่ไม่อยากเสียค่าไฟเยอะกว่าที่ควรจะเป็น สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมคือ “อัตราค่าไฟ” โดยเฉพาะคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน หรือไม่ค่อยอยู่บ้านช่วงกลางวัน เน้นชาร์จรถไฟฟ้าช่วงเวลากลางคืนเป็นหลัก อัตราค่าไฟแบบ TOU คือตัวเลือกที่ดีที่สุด

โดยอัตรา TOU หรือ Time of Use Tariff คืออัตราค่าไฟตามช่วงเวลาของการใช้ แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้

  • Peak คือ ช่วงเวลา 09.00 น. – 22.00 น. (วันจันทร์-วันศุกร์ และวันพืชมงคล)
  • Off-Peak คือ ช่วงเวลา 22.00 น. – 09.00 น. (วันจันทร์-วันศุกร์ และวันพืชมงคล) และช่วงเวลา 00.00 น. – 24.00 น. (วันเสาร์-วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ และวันพืชมงคลที่ตรงกับเสาร์-อาทิตย์)

3. ค่าเดินสายเมนที่ 2 ค่าติดตั้งอุปกรณ์ และอื่น ๆ

ค่าเดินสายไฟและติดตั้งระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการชาร์จแบตรถไฟฟ้าที่บ้าน วิธีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านสามารถเลือกผู้ให้บริการได้เองตามความพึงพอใจ ซึ่งให้ปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย และมีราคาเริ่มต้นประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป หรือจะเลือกจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถืออย่าง KEN by MEA ก็ได้เช่นกัน แต่ PEA ยังไม่มีบริการในส่วนนี้ มีเพียงบริการเพิ่มมิเตอร์เท่านั้น

รถไฟฟ้าชาร์จไฟบ้านได้ไหม มีวิธีชาร์จยังไง?

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังสงสัยว่ารถไฟฟ้าชาร์จไฟบ้านได้ไหม ต้องทำยังไงบ้าง?  เราได้รวบรวมวิธีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านแบบ Step-by-Step มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลยดีกว่า

1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

อุปกรณ์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านมีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง คือ สายชาร์จ ปลั๊กไฟ และ Wallbox หากเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเริ่มการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่บ้านได้ทันที

2. ติดตั้ง Wallbox อย่างถูกวิธี

ต้องบอกก่อนว่า Wallbox คือ อุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าที่ออกแบบมาสำหรับ “ติดตั้งบนผนังภายในบ้าน” เพื่อใช้สำหรับชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ แนะนำให้ติดตั้งอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยในการชาร์จ

3. เชื่อมต่อสายชาร์จอย่างถูกต้อง

ด้วยการเสียบปลั๊กด้านหนึ่งของสายชาร์จแบตเตอรี่ เข้ากับพอร์ตชาร์ตที่อยู่บนรถไฟฟ้าให้เข้าที่สนิท จากนั้นนำปลายอีกด้านของสายชาร์จแบบรถไฟฟ้า ไปเสียบเข้ากับ Wallbox หรือปลั๊กไฟภายในบ้านที่เตรียมไว้

4. เริ่มกระบวนการชาร์จ

เมื่อเชื่อมต่อสายต่าง ๆ เข้าด้วยกันเรียบร้อยและถูกต้องแล้ว ให้เปิดสวิตช์บน Wallbox หรือปลั๊กไฟ เพื่อให้กระแสไฟไหลเข้าสู่แบตเตอรี่ของรถ จากนั้นให้ตรวจสอบสถานะการชาร์จเป็นระยะ เพื่อติดต่อความคืบหน้า หลังจากชาร์จจนเต็มแล้วให้ถอดสายชาร์จออกจากพอร์ตรถ และ Wallbox หรือปลั๊กไฟ เพื่อความปลอดภัยของคุณ คนที่คุณรัก และรถยนต์ไฟฟ้าคู่ใจ

เชื่อว่าหลายคนคงได้คำตอบแล้วว่ารถไฟฟ้าชาร์จไฟบ้านได้ไหม และหากต้องการติดตั้งจุดชาร์จแบตรถไฟฟ้าในบ้านต้องทำยังไง มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ รวมถึงรายละเอียดอื่น ๆ ที่ควรทำความเข้าใจก่อนชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณประหยัด และชาร์จรถยนต์ ev ที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องต่อคิวให้เสียเวลาแล้วล่ะ

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

เต้ารับ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกติดตั้งในงานระบบไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่เป็นจุดจ่ายไฟให้ผู้ใช้งาน ที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป
นวัตกรรม การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มี อยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
Wallbox อีกหนึ่งรูปแบบของที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่กำลังมาแรง สามารถติดตั้งได้บนผนังตามชื่อ มีขนาดเล็ก ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง และมีน้ำหนักเบา
kW หน่วยของ “กำลังไฟฟ้า” ยิ่งจำนวนตัวเลขสูงยิ่งจ่ายไฟ/รับไฟได้มาก
V (Volt) หน่วยของ “แรงดันไฟฟ้า” ยิ่งโวลต์สูง แรงดันไฟฟ้ายิ่งเยอะ (ไฟยิ่งแรง)