เพื่อให้ระบบเกียร์หรือระบบส่งกำลังสามารถทำงานได้อย่างประสิทธิภาพสูงสุด องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ‘น้ำมันเกียร์’ ซึ่งต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อการใช้งาน การเลือกใช้สเปกที่ถูกต้องช่วยให้การทำงานของเกียร์สม่ำเสมอและมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ลูกใหม่บ่อย ๆ แน่นอนว่าถ้าหากเลือกใช้น้ำมันเกียร์ไม่ถูกต้อง หรือคุณภาพต่ำย่อมส่งทำให้เกียร์เกิดการสึกหรอ สั่น มีเสียงดัง สูญเสียกำลัง หรือเกิดความเสียหายในที่สุด ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ใช้พิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกใช้น้ำมันเกียร์
ปัจจัยสำคัญคือ ‘เบอร์ความหนืดน้ำมันเกียร์นั้น’ ขึ้นอยู่กับประเภทของเกียร์ ความเร็วรอบ และอุณหภูมิการใช้ หากคู่มือเครื่องแนะนำเบอร์ความหนืดน้ำมันเกียร์มาแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือ โดยความหนืดของน้ำมันเกียร์ (Viscosity) จะมีช่วงการใช้งานอยู่ระหว่างในช่วงเกียร์ที่ต้องการความหนืดต่ำ และช่วงที่เกียร์ต้องการความหนืดสูง ค่าความหนืดต่ำเป็นผลดีสำหรับความเร็วสูง เกียร์รับแรงกดดันน้อย ฟันเฟืองเล็ก ความหนืดต่ำให้ฟิล์มน้ำมันบางแรงเสียดทานต่ำ (ประสิทธิภาพเชิงกลสูง) อุณหภูมิต่ำ (ระบายความร้อนได้ดี) ส่วนความหนืดสูงเป็นผลดีสำหรับ ความเร็วต่ำเกียร์เกียร์รับแรงกดดันสูง ฟันเฟืองใหญ่ ความหนืดสูงให้ฟิล์มน้ำมันหนาทนต่อการสึกหรอสูงและทนต่อสภาวะความดันสูง สิ่งที่กำหนดน้ำมันเกียร์ตามความหนืดคือ SAE หรือสมาคมวิศวกรยานยนต์ เพื่อเป็นระบบการจัดระดับความหนืดสำหรับน้ำมันเกียร์และน้ำมันเครื่องยนต์ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบ น้ำมันทั้งหมดจะถูกแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ โมโนเกรดและมัลติเกรด
น้ำมันเกียร์โมโนเกรด ถูกกำหนดโดยเลขจำนวน (70, 90, 140, 250, ฯลฯ ) เลขจำนวนหมายถึง ระดับของความหนืดของน้ำมันที่อุณหภูมิที่กำหนด หมายเลขยิ่งสูงหมายถึงความหนืดของน้ำมันที่สูงตาม ความหนืดของน้ำมันเกียร์ กำหนดโดยตัวเลขอย่างเดียว ไม่มีอักษร ‘W’ (SAE 80, SAE 90, SAE 140 ฯลฯ ) ระบุการใช้งานที่อุณหภูมิ 212 ° F (100 ° C) นี้หมายถึงน้ำมันเกียร์ที่สำหรับการใช้งานที่อุณหภูมิสูง 100 °C หรือความหนืดของน้ำมันเกียร์ที่กำหนด มีตัวเลขตามด้วยตัวอักษร ‘W’ (SAE 70W, SAE 75W, SAE 80W ฯลฯ ) ระบุที่อุณหภูมิ 0 ° F (-18 ° C) ตัวอักษร ‘W’ หมายถึงฤดูหนาว(Winter) เกรดเหล่านี้จะใช้สำหรับการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ
น้ำมันเกียร์มัลติเกรด ความหนืดของน้ำมันเกียร์จะมีเสถียรภาพโดยสารโพลิเมอร์ (Improvers ค่าดัชนีความหนืด) ความหนืดของน้ำมันเกียร์ดังกล่าวถูกกำหนดทั้งที่อุณหภูมิสูงและต่ำ น้ำมันเหล่านี้ถูกเรียกว่า Multi Grade และจะกำหนดการใช้งานโดยหมายเลขสองชุดและตัวอักษร ‘W’ (SAE 75W-90, SAE 80W-90, 85W-SAE 140 ฯลฯ )หมายเลขชุดแรกระบุความหนืดของน้ำมันที่อุณหภูมิเย็นหมายเลขชุดที่สองระบุความหนืดของน้ำมันที่อุณหภูมิสูง ยกตัวอย่าง น้ำมัน SAE 85W-140 มีความหนืดที่อุณหภูมิต่ำเหมือนกับ SAE 85W แต่มีความหนืดที่อุณหภูมิสูงแบบเดียวกับ SAE140 ซึ่งเป็นน้ำมันเกียร์ชนิดมัลติเกรดที่ใช้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง
สรุปได้ว่า การเลือกใช้งานน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเกียร์ธรรมดาหรือเฟืองท้าย ให้ดูจากคู่มือในการใช้รถว่าผู้ผลิตแนะนำให้ใช้น้ำมันเกียร์เบอร์ไหนอย่างไร สิ่งที่ควรระวังในระบบเกียร์คือต้องใช้น้ำมันให้ถูกประเภท เพื่อที่ระบบเกียร์จะได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่เกิดความเสียหายต่อระบบเกียร์ สำหรับระบบเกียร์ธรรมดา ส่วนใหญ่จะเลือกใช้เบอร์ความหนืด SAE 80W-90 เป็นน้ำมันหล่อลื่นเกียร์แบบมัลติเกรด เป็นน้ำมันหล่อลื่นเกียร์ที่มีความหนืดเบอร์ 90 ส่วน 80W คือมาตรฐานที่บ่งชี้ว่าน้ำมันเครื่องทนอุณหภูมิติดลบได้แค่ไหน ส่วนการเลือกการเลือกน้ำมันเกียร์ออโตเมติกให้ดูที่ข้างขวดหรือแกลอนจะระบุประเภทไว้ชัดเจนว่า ATF-Automatic transmission fluid เป็นอักษรขึ้นต้น เช่น ของศูนย์ HONDA คือ ATF-Z1,ATF-DW1 เป็นต้น และถ้าเป็นเกียร์ CVT (continuously variable transmission) ก็ใช้คำขึ้นต้นนี้เท่านั้น และที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ อีกเกรดก็คือ Dexron-ATF เป็นน้ำมันสำหรับเกียร์อัตโนมัติที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมาก ได้รับการเลือกให้นำไปใช้กับเกียร์อัตโนมัติของรถยี่ห้อต่างๆ กว่า 70% ของโลกแห่งเกียร์อัตโนมัติก็ว่าได้
เห็นได้ว่าน้ำมันเกียร์มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเกียร์ ดังนั้นผู้เป็นเจ้าของรถควรจะเลือกใช้น้ำมันเกียร์ตามคำแนะนำในคู่มือและคำแนะนำในการบำรุงรักษาของผู้ผลิตรถยนต์ ทั้งนี้เพื่อให้เกียร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้ายก็อย่าลืมเพิ่มความอุ่นใจในการเดินทางด้วยประกันรถรู้ใจดอทคอม ที่พร้อมบริการคุณตลอดเวลา เช็คเบี้ยออนไลน์ได้ราคาทันทีผ่านเว็บไซต์ เคลมสบายผ่านแอป ผ่อนเบา ๆ ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุดถึง 10 งวด มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินกรณีรถเสียกลางทาง