Roojai

รถเก่าทิ้งแล้วไปไหน? มีวิธีการจัดการซากรถเก่ายังไงได้บ้าง

วิธีการจัดการซากรถเก่าทั้งไทยและต่างประเทศ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

หลายครั้งที่เราเห็นซากรถยนต์เก่าจอดทิ้งไว้บนถนนหรือในที่สาธารณะ ตามซอก ซอยเปลี่ยว นอกจากจะกีดขวางเส้นทางจราจรแล้ว ยังส่งผลต่อความสะอาด ความปลอดภัย แถมยังเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ในปัจจุบันถือว่าไม่ได้รับการจัดการรถเก่าหรือซากรถเก่าที่ดีพอ แล้วแบบไหนถึงเรียกว่า ‘รีไซเคิลอย่างถูกวิธี’ แต่ละส่วนมีการจัดการยังไง ได้ประโยชน์จากส่วนที่ใช้ได้ยังไงบ้าง วันนี้รู้ใจจะพาคุณไปทำความเข้าใจการจัดการซากรถเก่าในประเทศไทยอย่างเจาะลึก

แต่ละประเทศจัดการซากรถเก่ายังไง?

ซากรถเก่า เอาไปทําอะไร? ซากรถเก่ามีส่วนประกอบของสารอันตราย จำเป็นจะต้องได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ รวมถึงเหมาะสมในกระบวนการจัดการซากรถเก่า เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ที่สำคัญคือเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นหรือกระจุกรวมอยู่ที่ประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่ในประเทศอื่น ๆ ก็กำลังเผชิญปัญหานี้เช่นเดียวกัน แต่ละประเทศมีโครงการ/นโยบายในการควบคุมและแก้ไขที่แตกต่างกัน ดังนี้

ญี่ปุ่นจัดการซากรถเก่ายังไง?

ญี่ปุ่นมีโครงการชื่อว่า The “Green” Vehicle Purchasing Promotion Measure คือการสนับสนุนให้ประชาชนนำรถเก่า ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 13 ปี มาแลกซื้อรถใหม่ หากรถยนต์ที่ต้องการซื้อเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนลดประมาณ 87,000 บาท แต่ถ้ารถขนาดเล็กกว่านั้น จะได้รับส่วนลดประมาณ 43,000 บาท (ที่มา: longtunman.com)

สหรัฐอเมริกาจัดการซากรถเก่ายังไง?

Car Allowance Rebate System (CARS) เป็นโครงการที่รัฐบาลจะมอบหมายให้บริษัทตัวแทน เป็นผู้รับซื้อรถเก่าที่เป็นไปตามเงื่อนไข หลัก ๆ คือ มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี และอยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้ เจ้าของรถจะได้รับเงินจากการนำรถเก่ามาเข้าร่วมโครงการ เฉลี่ย 70,000-150,000 บาทต่อคัน จากนั้นตัวแทนจะคอยส่งเรื่องเพื่อขอรับเงินจากรัฐบาลในภายหลัง (ที่มา: longtunman.com)

จีนจัดการซากรถเก่ายังไง?

ด้วยความที่ประเทศจีนมีปัญหามลพิษอย่างหนัก โดยเฉพาะมหานครปักกิ่ง ทำให้ทางการออกนโยบายกำจัดรถยนต์ที่เก่าเกิน 6 ปี ด้วยการให้เงินสนับสนุน 2,500-14,500 หยวน หรือประมาณ 12,500-72,5000 บาท สำหรับรถที่ไม่เข้าร่วมโครงการแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ควรกำจัด จะได้รับป้ายเหลือง ทำให้ไม่สามารถเข้าไปวิ่งในเขตที่ทางเทศบาลจำกัดไว้ได้ (ที่มา: longtunman.com)

ไทยจัดการซากรถเก่ายังไง?

หนึ่งในโครงการที่ช่วยในการจัดการซากรถเก่าในประเทศไทยคือ นำรถเก่า เทิร์นรถใหม่ด้วยโครงการรถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คัน หมายความว่าให้นำรถเก่าที่มีอายุการใช้งาน 12 ปีขึ้นไป มาแลกซื้อรถคันใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด, รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อรถใหม่ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อคัน (ที่มา: longtunman.com)

อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยว่า เมื่อนำรถยนต์คันเก่าไปเข้าร่วมโครงการ ซากรถเก่านั้นเอาไปทําอะไรต่อ แน่นอนว่าซากรถเก่าที่หลาย ๆ ฝ่ายลงความเห็นว่าควรกำจัด จะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกำจัดซากอย่างถูกวิธี ซึ่งในประเทศไทยมีเพียงผู้ประกอบการบางราย ที่สามารถรีไซเคิลเหล็กจากซากรถเก่าได้ เนื่องจากกฎหมายประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมด้านการจัดการรถยนต์เก่าและซากรถเก่าในประเทศไทยอย่างครบวงจร

รถเก่าที่บ้าน ไม่อยากใช้แล้วทำไงดี?

เชื่อว่าหลายคนที่เข้ามาคงหาวิธีจัดการกับรถเก่าอยู่ว่า จะทำยังไงดีหากเราไม่อยากใช้แล้ว ซึ่งรู้ใจได้รวบรวมไอเดียต่าง ๆ ดังนี้

  1. ขายเป็นรถมือสอง แม้จะเป็นรถเก่าที่เราไม่ต้องการใช้แล้ว แต่อาจมีคนสะสมและสนใจที่จะซื้อ ดังนั้นการขายเป็นรถมือสองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
  2. ขายเป็นซากรถทั้งคัน โดยให้ร้านที่รับซื้อรถเก่าและซากรถช่วยประเมินราคาซากรถก่อน หากเราตกลงขายก็จำเป็นต้องมีการทำสัญญาซื้อขายและโอนรถ เพื่อป้องกันการสวมรอย
  3. ขายอะไหล่และชิ้นส่วนรถ สำหรับคนที่เชี่ยวชาญด้านการถอดประกอบรถ อาจแยกชิ้นส่วนรถขายเอง เช่น แยกส่วนเครื่องหรืออะไหล่บางชิ้นแล้วหาตลาดขายเอง รวมถึงขายโครงสร้างรถตามราคาเหล็กซากรถ และต้องมีการแจ้งยกเลิกการใช้รถและทะเบียนด้วย
  4. บริจาครถเพื่อใช้ในการศึกษา บางคนอาจบริจาครถเก่าให้กับสถานศึกษาเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ส่วนประกอบของรถ

และสำหรับคนที่ยังอยากใช้รถเก่าอยู่ การมีประกันที่ครอบคลุมก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่รู้ใจมีประกันรถยนต์ ลดสูงสุด 30% มีอู่และศูนย์ทั่วไทยมากกว่า 1,600+ แห่ง เจ้าหน้าที่มาไวใน 30 นาทีหรือเคลมออนไลน์ได้เลย

วิธีการจัดการกับรถเก่าที่ไม่ใช้แล้ว | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ซากรถเก่าในไทย เอาไปรีไซเคิลยังไงได้บ้าง?

อย่างที่บอกไปแล้วว่า มีเพียงผู้ประกอบการบางรายเท่านั้น ที่สามารถรีไซเคิลเหล็กจากซากรถเก่าในประเทศไทยได้ 1 ในนั้นก็คือ บริษัท มิลล์คอน สตีล (MILL) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กขั้นกลางน้ำและปลายน้ำ ที่ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัท ซันเทค เมทัลส์ จำกัด (บริษัทลูก) ให้สอดคล้องกับนโยบายของกลุ่ม ที่เน้นบริหารจัดการคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และสร้างมูลค่าให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการนำเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย เข้ามาสนับสนุนการดำเนินธุรกิจบริหารเศษเหล็กให้เป็นแบบครบวงจร โดยเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถบดย่อยเศษเหล็กให้มีขนาดเล็กลง ก่อนเข้าสู่กระบวนการหลอม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานในการหลอม เหล็กที่ได้จะถูกปรุงแต่งให้มีความบริสุทธิ์ ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง สำหรับชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เหล็ก จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน เรียกได้ว่าช่วยลดขยะที่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมตามหลัก Zero waste ได้เป็นอย่างดี

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ Nedo จัดการซากรถเก่าครบวงจร

หนึ่งในโปรเจกต์ระดับบิ๊ก ที่ได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากรัฐบาล คือ โครงการรีไซเคิลชิ้นส่วนรถยนต์ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ End pf Live Vehicle: ELV Project เพื่อนำวัสดุ ชิ้นส่วนต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

โดยรัฐบาลได้กำหนดแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน -เศรษฐกิจสีเขียว) เป็นแนวทางหลักในการพัฒนา ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน แถมยังสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ที่มีการตั้งเป้าการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ภายในปี พ.ศ.2573 ไว้ที่ 30%

รถเก่าที่บ้าน ไม่อยากใช้แล้วควรทำยังไง | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

แก้ปัญหาซากรถเก่าด้วยการทำปะการังเทียมได้มั้ย?

อาจเคยได้ยินว่าการแก้ปัญหาซากรถเก่าเกลื่อนถนน กีดขวางเส้นทางจราจร และเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด คือการทำเป็นปะการังเทียม แต่ตามรายงานของกรมทรัพยากรชายฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่า “ควรเอาซากรถเก่าไปรีไซเคิล มากกว่าจะมาทำปะการังเทียม”

เนื่องจากซากรถเก่าส่วนใหญ่ทำจากเหล็ก หากจะนำมาทำปะการังเทียมมีขั้นตอนที่ค่อนข้างเยอะและยุ่งยาก เริ่มตั้งแต่ถอดชุดเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ เบรค รวมถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกทั้งหมด พูดง่าย ๆ ว่าเหลือไว้แค่เพียงตัวถังและส่วนหัวเก๋งเท่านั้น พร้อมกับทำความสะอาด ขจัดคราบไขมัน น้ำมัน จาระบี ที่ติดอยู่ออกให้หมด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (กรมประมง, 2550)

แม้ว่าการนำซากรถเก่ามาทำปะการังเทียม จะมีข้อดี คือ ซากรถเก่าราคาไม่แพง หาง่าย สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ แต่ยังมีข้อเสียที่ควรทำความเข้าใจให้ดีก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อเสียของการนำซากรถเก่า มาทำปะการังเทียม

  • ไม่มีความมั่นคง และง่ายต่อการโดนพายุซัด หรือโดนอวนลาก
  • ต้องใช้แรงงานมาก การจัดการซากรถเก่ามีราคาสำหรับถอดชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำความสะอาด/ขจัดคราบน้ำมันต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
  • มีอายุการใช้งานเพียง 1-5 ปีเท่านั้น แถมยังเป็นวัตถุที่ดึงดูดสิ่งมีชีวิตได้ดีในช่วง 1-3 ปี เมื่อย่างเข้าปีที่ 4 โครงสร้างตัวรถจะเริ่มผุกร่อนและสลายไป
  • ไฟเบอร์กลาสและยางพลาสติกที่ประกอบอยู่กับตัวรถ หากไม่ได้เอาออกก่อน อาจเกิดการหลุดลอยกระจายอยู่ในมวลน้ำ เมื่อโลหะมีการกัดกร่อน

หากคุณมีรถยนต์เก่าที่ใช้งานมานาน (แต่ปัจจุบันใช้งานไม่ได้แล้ว) จะขายทิ้งก็เสียดาย หรือกลัวขายไม่ออก อย่าจอดทิ้งไว้เฉย ๆ เพราะอาจเป็นตัวการในการสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การนำไปขายเป็นซากรถเก่า เพื่อเข้าสู่กระบวนการกำจัดเศษซากรถเก่าอย่างถูกวิธี หรือนำไปรีไซเคิล เพื่อให้ได้ทรัพยากรใหม่ที่มีประสิทธิภาพ แถมยังช่วยลดขยะไร้ค่าก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ปะการังเทียม สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบปะการังธรรมชาติ เพื่อดัดแปลงสภาพแวดล้อมบนพื้นที่ในทะเลให้อุดมสมบูรณ์ สร้างความยั่งยืนให้ธรรมชาติใต้ท้องทะเล
ซากรถ รถยนต์ที่เกิดความเสียหาย หรือรถที่ไม่คุ้มค่าที่จะซ่อมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมหรือใช้งานได้ตามปกติ
Zero waste แนวทางการจัดการขยะให้ลดขยะให้เหลือ 0 หรือลดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้