อยากเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน มองเพียงแค่รุ่นที่ใช่ สีที่ชอบอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะมีปัจจัยที่ควรพิจารณาร่วมด้วยอย่างค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ซึ่งค่าเบี้ยประกันรถไฟฟ้า “แพงกว่า” รถยนต์ทั่วไปพอสมควร ทำไมถึงแพงกว่า แล้วต้องซื้อยังไงให้ได้รับส่วนลด? รู้ใจลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อรถ EV ในไทยกันเลย!
- ทำไมเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าถึงแพง?
- ประกันรถไฟฟ้าราคาเท่าไหร่ เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ได้ที่ไหน?
- อยากซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์ ควรเลือกยังไง?
- ซื้อประกันรถไฟฟ้า EV ยังไงให้ได้รับส่วนลดสุดคุ้ม?
- ทำไมควรซื้อประกันรถไฟฟ้ากับรู้ใจ?
ทำไมเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าถึงแพง?
ในยุคที่ผู้คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) จึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันด้วย และ หนึ่งในปัญหาที่เจอคือ เรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นของเบี้ยประกันรถยนต์ EV เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถ EV จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในหลาย ๆ ด้าน แต่คนที่กำลังตัดสินใจใช้รถประเภทนี้ ก็ควรต้องเผื่อค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นไว้ด้วย โดยเฉพาะกับเรื่องประกันภัยรถยนต์ เพราะค่าเบี้ยประกันรถ EV นั้นแพงกว่ารถยนต์สันดาปน้ำมันมากพอสมควร เหตุผลที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ EV มีราคาแพงกว่ารถยนต์ทั่วไป เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อ “การกำหนดราคาเบี้ยประกันรถไฟฟ้า EV” แทบทั้งสิ้น ซึ่งจะมีปัจจัยอะไรบ้าง ไปดูกัน!
1. มีบริษัทที่รับประกันค่อนข้างจำกัด
เหตุผลข้อนี้เกี่ยวเนื่องกับ “กลไกการกำหนดราคาในตลาดประกันภัยรถยนต์” โดยตรง เนื่องจากทุกวันนี้บริษัทประกันที่รับทำประกันรถ EV ในไทยยังมีอยู่แค่ไม่กี่แห่ง จึงยังไม่สามารถกำหนด ขอบเขตเพดานด้านราคาได้ ที่สำคัญคือยังไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาเหมือนตลาดรถยนต์ทั่วไป ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถไฟฟ้าแพงกว่าประกันรถยนต์ทั่วไป
ทั้งนี้ค่าเบี้ยประกันของรถยนต์ไฟฟ้ายังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ประเภทรถ ยี่ห้อ คลาสรถ ปีจดทะเบียน สภาพการใช้งาน การดัดแปลง ฯลฯ แต่โดยรวมแล้วไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์สำหรับรถไฟฟ้า โดยเฉพาะประกันชั้น 1 ราคาจะอยู่ที่ 20,000 บาทขึ้นไปแทบทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทประกันที่รับทำประกันให้รถ EV จะมีน้อย จนทำให้ราคาเบี้ยประกันรถ EV แพง แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่า เหมาะสมกับค่าเบี้ย เพราะหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการประกอบกิจการประกันภัยอย่างคปภ. จะมีการหารือกับบริษัทประกัน เพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขความคุ้มครอง และราคาเบี้ยให้เหมาะสมอยู่เสมอ
2. แบตเตอรี่รถ EV มีราคาสูง
รถไฟฟ้ามี “แบตเตอรี่” เป็นหัวใจหลัก เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่คอยจ่ายไฟให้ระบบขับขี่ รวมถึงถูกเชื่อมต่อเข้ากับส่วนประกอบสำคัญของเครื่องยนต์หลายส่วน หากเกิดปัญหาเนื่องจากใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุทำให้แบตเตอรี่มีปัญหาตามไปด้วย หรือเกิดอุบัติเหตุทำให้ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ยกชุด ด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ล้วนเป็นเหตุผลที่ทางบริษัทประกันภัยรถยนต์ กำหนดเบี้ยประกันรถยนต์ประเภทนี้สูงกว่ารถยนต์ทั่ว ๆ ไป เพื่อให้วงเงินประกันสามารถคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุม
3. มีศูนย์บริการน้อย
หนึ่งในประเด็นหลัก ๆ ที่ทำให้เบี้ยประกันรถไฟฟ้า EV แพง เป็นเพราะว่ารถยนต์ประเภทนี้ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระบบการทำงาน โครงสร้างของรถที่แตกต่างกันไป เมื่อรถเกิดความผิดปกติในเรื่องของระบบต่าง ๆ จำเป็นจะต้องนำรถเข้าซ่อมที่ “ศูนย์บริการ” เท่านั้น เนื่องจากต้องให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจในระบบจริง ๆ คอยดูแล
แต่ด้วยในปัจจุบันประเทศไทยยังมีศูนย์บริการ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ของบริษัทผู้ผลิตก็ดี หรือศูนย์บริการภายนอกก็ด้วย ยังมีจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอู่ซ่อมรถหรือศูนย์บริการอื่น ๆ ทั่วไป ส่งผลให้ “ค่าใช้จ่าย” เมื่อนำรถเข้าศูนย์บริการแต่ละครั้งมีราคาจ่ายค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันสูงตามไปด้วย
4. อะไหล่รถไฟฟ้าหายาก
นอกจากประเทศไทยจะมีศูนย์ซ่อมรถ EV น้อยแล้ว ในเรื่องของการจัดหาอะไหล่ต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าก็เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะยังมีจำนวนผู้ใช้งานรถไฟฟ้า รถยนต์ประเภทนี้น้อย ประกอบกับอะไหล่มีราคาแพง มากไปกว่านั้นศูนย์บริการอาจไม่ได้เก็บสต๊อกอะไหล่เอาไว้ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแพงกว่ารถยนต์ทั่วไป
บริษัทประกันเล็งเห็นถึงความสำคัญและอยากแบ่งเบาความเสียหายให้ได้มากที่สุด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิดค่าเบี้ยประกันแพง เพื่อมอบความคุ้มค่าให้กับผู้เอาประกันภัยที่สุด
ประกันรถไฟฟ้าราคาเท่าไหร่ เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ได้ที่ไหน?
ในปัจจุบันมีแบรนด์รถ EV มากมายในท้องตลาด ซึ่งแต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่น มีรายละเอียดความคุ้มครองแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าหากเลือกซื้อประกันกับรู้ใจ ราคาเริ่มต้นเพียง 5,183-26,317 บาท สำหรับคนที่สนใจและอยากเช็คเบี้ยประกันรถ EVเพื่อประกอบการตัดสินใจ สามารถเข้ามาเช็คราคา ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่รู้ใจ ราคาดี ทุนประกันสูง ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม ทั้งในเรื่องของแบตเตอรี่ หัวชาร์จแบตรถไฟฟ้า รวมถึงปรับแผนได้ตามใจ ช่วยให้คุณได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด
อยากซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์ ควรเลือกยังไง?
เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีค่าเบี้ยประกันค่อนข้างแพง หากมองในเรื่องของ “ความคุ้มค่า” จ่ายหนักทั้งทีต้องเอาให้คุ้ม แต่ความคุ้มค่าที่ว่าจะต้องพิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
1. มีความคุ้มครองแบตเตอรี่รถไฟฟ้า
อย่างที่เราพยายามบอกอยู่เสมอว่า “แบตเตอรี่คือหัวใจสำคัญของรถไฟฟ้า” แถมยังเป็นชิ้นส่วนที่ค่อนข้างบอบบาง มีการคายประจุอยู่ตลอดเวลา แต่คายมากเกินไปก็ไม่ดีเพราะจะส่งผลต่ออายุการใช้งาน ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงแถมยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ควรพิจารณา “ความคุ้มครองแบตเตอรี่” ให้ถี่ถ้วน ว่าคุ้มครองเรื่องไหนบ้าง มีข้อยกเว้นอะไรหรือเปล่า เพื่อไม่ให้คุณเสียผลประโยชน์ไปอย่างน่าเสียดาย
2. มีความคุ้มครองเครื่องชาร์จที่บ้าน
เนื่องจากรถ EV โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า 100% จำเป็นต้องชาร์จไฟฟ้าเป็นประจำ ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถขับเคลื่อนรถไปไหนมาไหนได้เลย แถมการติดตั้งเครื่องชาร์จ/สถานีชาร์จรถ EV ที่บ้านก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามมาด้วย หรือบางครั้งอาจนำมาซึ่ง “ความเสี่ยง” รูปแบบต่าง ๆ อย่างที่คุณคาดไม่ถึง
ดังนั้นหากเลือกซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่ให้ความคุ้มครองเรื่อง “เครื่องชาร์จ” ก็จะช่วยให้คุณหมดกังวล อุ่นใจ หายห่วงเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน รวมถึงเกิดอุบัติเหตุขณะชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
ประกันคุ้มครองที่ชาร์จรถ EV มั้ย?
เงื่อนไขความคุ้มครองประกันรถไฟฟ้า EV จะไม่คุ้มครองความเสียหายจากเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล แต่ผู้เอาประกันสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ซึ่งค่าเบี้ยประกันรถยนต์ที่จ่ายเพิ่ม จะทำให้รถ EV ได้รับความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุกับเครื่องชาร์จขณะกำลังชาร์จรถไฟฟ้า
3. มีความคุ้มครองไฟไหม้ / รถหาย
ไม่ว่าคุณจะชื่นชอบการใช้งานรถ EV ในไทย หรือรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ก็ตาม การเลือกซื้อประกันรถไฟฟ้า EV ที่ครอบคลุม คุ้มค่ากับเบี้ยประกันรถยนต์ที่จ่ายทุกปี ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่สมเหตุสมผลมาก ๆ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่ค่าเบี้ยประกันแพงกว่าคนอื่น มากไปกว่านั้นยังรวมถึงแบตเตอรี่และอะไหล่ต่าง ๆ คงจะดีไม่ใช่น้อยหากประกันที่คุณเลือกซื้อให้ความคุ้มครองไฟไหม้ รถหาย น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ฯลฯ โดยเฉพาะ “รถยนต์ไฟฟ้า” ที่ความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจากใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายไฟ บางครั้งแบตอาจร้อนเกินไปจนเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ เป็นต้น
4. เลือกความคุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าชั้น 1 2 และ 3 ได้
อีกหนึ่งการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ที่คุ้มค่าสมราคาค่าเบี้ยประกันรถยนต์ คือ การเลือกซื้อประเภทประกันภัยที่ตอบโจทย์ และเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ซึ่งหลายคนมักบอกว่า “ประกันชั้น 1 ดีกว่า ซื้อทั้งทีเอาครอบคลุมไปเลย” แต่ในความเป็นจริงแล้วประกันรถยนต์ชั้น 1 อาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคนเสมอไป
แนะนำให้ถามและสำรวจตัวเองให้ดี ว่าจริง ๆ แล้วมีพฤติกรรมการขับขี่หรือการใช้รถเป็นแบบไหน เป็นมือใหม่หัดขับมั้ย? ขับรถบ่อยแค่ไหน หรือเน้นจอดอยู่บ้าน นาน ๆ ถึงนำออกไปใช้ที ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้หากมองลงไปให้ลึกก็จะช่วยให้คุณเลือกประเภทความคุ้มครองได้ตรงใจมากยิ่งขึ้น แถมยังไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าเบี้ยประกันที่สูงเกินจำเป็นอีกด้วย
ซื้อประกันรถไฟฟ้า EV ยังไงให้ได้รับส่วนลดสุดคุ้ม?
ต้องซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้ายังไงให้ได้รับส่วนลดสุดคุ้ม? จริง ๆ แล้วการใช้ “ส่วนลด” ไม่ได้แตกต่างจากประกันภัยรถยนต์ทั่ว ๆ ไปเลยสักนิด ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดประวัติดี ส่วนลดค่าเสียหายส่วนแรก ส่วนลดติดกล้องหน้ารถ ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนคงเข้าใจเงื่อนไขส่วนนี้ดีอยู่แล้ว แต่ที่รู้ใจจะพูดถึงในหัวข้อนี้ คือ “หลักเกณฑ์เบี้ยประกันรถยนต์ และแบตเตอรี่รถ EV ฉบับอัปเดตใหม่ ปี 2567” ซึ่งจะมีรายละเอียดอะไรบ้าง คุณยังคงจะได้รับส่วนลดอยู่มั้ย? ตามไปดูกันเลยดีกว่า
หลักเกณฑ์เบี้ยประกันรถ EV ปี 2567
การต่อประกันรถไฟฟ้า EV ในปีที่ 2 ทางบริษัทประกันภัยรถยนต์จะตรวจสอบ “ระดับพฤติกรรมการขับขี่ส่วนบุคคล” ของผู้ขับขี่ที่มีชื่ออยู่ในกรมธรรม์ทั้งหมด มาประเมินและพิจารณาค่าเบี้ยประกันรถยนต์ในปีต่อ ๆ ไป หากยิ่งมีประวัติดี ร่วมกับมีพฤติกรรมอยู่ในเกณฑ์ดีด้วย ไม่มีอะไรต้องกังวล แถมผู้เอาประกันยังมีโอกาสได้รับส่วนลดเบี้ยประกันรถไฟฟ้า EV มากขึ้นด้วย
โดยส่วนลดประวัติดีสูงสุดอยู่ที่ 40% และส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่ดีก็จะอยู่ที่ 40% เช่นเดียวกัน แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าบริษัทประกันจะนำระดับพฤติกรรมการขับขี่ส่วนบุคคล “ของบุคคลที่มีชื่ออยู่ในกรมธรรม์ทั้งหมด” มาประเมิน ดังนั้นหากมีผู้ขับขี่คนใดคนหนึ่งมีระดับพฤติกรรมที่ไม่ดี เท่ากับว่ารถยนต์ไฟฟ้าคันที่ทำประกันก็จะไม่ได้รับส่วนลดในปีถัดไปนั่นเอง
หลักเกณฑ์การคุ้มครองแบตเตอรี่รถไฟฟ้า EV ปี 2567
เกณฑ์ใหม่ฉบับล่าสุดปี 2567 มีการระบุให้ “เพิ่มความคุ้มครองแบตเตอรี่ โดยคำนวณค่าเสื่อมของแบตฯ ตามอายุการใช้งาน” ซึ่งในปีแรกจะให้ความคุ้มครองเต็ม 100% โดยจะกำหนดให้บริษัทประกันคิดค่าเสื่อมของแบตฯ ตามอายุการใช้งานเมื่อมีการพิจารณาให้ความคุ้มครอง รวมถึงการชดใช้สินไหม ในส่วนของ “อัตราการชดเชยค่าสินไหมจะ ‘ลดลง’ 10% ต่อปี” จนกระทั่งต่ำสุด 50% (ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป)
กรณีที่รถ EV ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ รวมถึงได้รับความเสียหายจนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ บริษัทประกันจะมีการพิจารณาอนุมัติเคลมที่แตกต่างกันออกไป (ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด) โดยกรรมสิทธิ์ของซากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จะเป็นของผู้เอาประกันภัยและบริษัทตามสัดส่วนเดียวกับอัตราการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่
ทำไมควรซื้อประกันรถไฟฟ้ากับรู้ใจ?
รู้ใจนำเสนอแผนประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกการเดินทาง สามารถเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมยังสามารถปรับแผนได้ตามใจชอบ นอกจากนี้ยังมี “จุดเด่น” อื่น ๆ อีกเพียบ ที่พร้อมมอบสิทธิพิเศษให้คุณโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น
- ซื้อง่ายผ่านทางออนไลน์ เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ฟรี!
- รับประกันงานซ่อมนาน 12 เดือน กับศูนย์ซ่อมทั่วประเทศ
- เจ้าหน้าที่ถึงไวใน 30 นาที หรือเคลมผ่านวิดีโอคอลใน Roojai Mobile App ได้เลย
- ผ่อนได้สูงสุด 10 งวด
- มอบ Roojai Rewards และได้ทั้งโค้ดช้อปปิ้ง เติมน้ำมัน และของขวัญมากมาย
- ปรับแผนความคุ้มครองตามใจ เลือกประกันที่ตอบโจทย์ได้ง่าย
แม้ว่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับรถยนต์ประเภทอื่น ๆ แต่การเลือกทำประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ ก็ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อรถได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ หรือการทำงานที่ผิดพลาดของระบบไฟฟ้าได้ค่อนข้างมาก แนะนำให้เปรียบเทียบเงื่อนไขความคุ้มครองและค่าเบี้ยประกันรถยนต์แต่ละแผนให้ดีก่อนเสมอ
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
เพดานราคา | การกำหนดราคาไม่ให้มีการขายสูงกว่าที่กำหนด. มักใช้เป็นนโยบายช่วยเหลือเมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น |
ค่าเสื่อม | ค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์และเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป สินทรัพย์เหล่านี้ได้แก่สินทรัพย์ถาวร โดยส่วนใหญ่มีมูลค่าสูง |