ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับปัญหา “น้ำท่วม” หนึ่งในภัยธรรมชาติหลายพื้นที่ และมักจะประสบในทุกปีตามฤดูกาล ภัยธรรมชาติที่คุมไม่ได้และทำให้ทรัพย์สินต่าง ๆ โดยเฉพาะรถยนต์ได้รับความเสียหายหนัก เพื่อแบ่งเบาความกังวลใจ รู้ใจได้รวบรวมความคุ้มครองประกันรถยนต์มาให้ทำความเข้าใจกันในบทความนี้ มีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย
- ความคุ้มครองภัยธรรมชาติ สำคัญยังไง?
- ประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนคุ้มครองภัยธรรมชาติบ้าง?
- รถน้ำท่วม รถเสียหายจากพายุ น้ำป่า ไฟป่า ประกันจ่ายมั้ย?
- เหตุการณ์น้ำท่วมเชียงรายที่ผ่านมา ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองยังไง?
ความคุ้มครองภัยธรรมชาติ สำคัญยังไง?
อย่างที่ทุกคนเข้าใจกันดีว่า “ภัยธรรมชาติ “ เป็นผลกระทบจากธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม พายุฝน ไฟไหม้ น้ำป่า แผ่นดินไหว ดินถล่ม ฯลฯ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนทำให้ทรัพย์สิน และชีวิตของคนได้รับความเสียหาย เพื่อเป็นการลดแรงกระแทกให้น้อยลง โดยเฉพาะในเรื่องของความเสียหายของทรัพย์สินมูลค่าสูงอย่างรถยนต์ การทำประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองในเรื่องภัยธรรมชาติ จึงถือว่าสำคัญมาก ๆ เพราะเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าได้เลย ว่าภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน
ประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนคุ้มครองภัยธรรมชาติบ้าง?
ภัยธรรมชาติเป็นภัยที่ยากเกินจะควบคุม และยังเป็นเหตุการณ์ที่แทบไม่รู้ล่วงหน้าเลย ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการทำประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองในส่วนนี้ ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่อุ่นใจอยู่ไม่น้อย ถ้าอย่างนั้นตามไปเช็คประกันกันเลย
- ประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง คุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติทั้งหมด เช่น น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, ลูกเห็บ, ลมพายุ
- ประกันภัยรถยนต์ 2+ คุ้มครองอะไรบ้าง ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติจะคุ้มครองกรณีไฟไหม้ (ไฟป่า) และน้ำท่วมเท่านั้น
- ประกันชั้น 2 ชั้น 3 และชั้น 3+จะไม่ได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ยกเว้นประกันชั้น 2 ที่คุ้มครองไฟไหม้รถ (ไฟป่า)
ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันที่ทำประกันชั้น 3+ / ประกันชั้น 3 และประกันชั้น 2 เอาไว้ แต่อยากได้รับความคุ้มครองประกันรถยนต์จากเหตุภัยธรรมชาติ สามารถซื้อเพิ่มหลังทำประกันได้ ด้วยการขอชำระเบี้ยประกันรถยนต์เพิ่ม เพื่อขยายความคุ้มครองเภทภัยดังกล่าว หรือด้วยการเลือกซื้อแผนประกันภัยอื่น ๆ ตามที่บริษัทประกันภัยกำหนดไว้
รถน้ำท่วม รถเสียหายจากพายุ น้ำป่า ไฟป่า ประกันจ่ายมั้ย?
หนึ่งในประเด็นที่ “ผู้เอาประกัน” ควรทำความเข้าใจไว้ คือ ความคุ้มครองภัยธรรมชาติรูปแบบต่าง ๆ ของประกันภัยรถยนต์ที่ทำไว้ จะให้ความคุ้มครองภัยจากธรรมชาติอะไรบ้าง ตามไปตรวจสอบความคุ้มครองกันเลย
1. ดินโคลนถล่ม
สำหรับคนที่อยู่ในเขตเมือง ถ้าจะพูดถึงดินโคลนหรือภูเขาถล่มคงเป็นเรื่องที่ห่างตัวพอสมควร เพราะเหตุการณ์ภัยธรรมชาติอย่างดินโคลนถล่มจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงหน้าฝน และจะเกิดเฉพาะบริเวณที่มีดินโคลนเยอะหรืออยู่ใกล้ภูเขาเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตต่างจังหวัดนั่นเอง ซึ่งการที่ขับรถไปต่างจังหวัดบ่อยๆ หรืออาศัยอยู่ในเขตที่เคยมีดินโคลมถล่มมาก่อน การทำประกันภัยรถยนต์ที่มีความคุ้มครองภัยธรรมชาติด้วย จะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา จะได้ไม่เจ็บตัวเสียเงินมากกว่าที่จำเป็น
2. น้ำท่วมหรืออุทกภัย
อุทกภัยหรือ “น้ำท่วม” เป็นภัยธรรมชาติที่พบเจอได้บ่อย เพราะทุก ๆ ปีจะเกิดฝนตกน้ำท่วม ซึ่งเป็นเหตุให้รถยนต์จมน้ำเป็นจำนวนมาก เกิดความเสียหายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงหนักมาก หากทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ถือว่าตอบโจทย์มาก ๆ เพราะให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด
หรือประกันชั้น 2+ ก็ให้ความคุ้มครองน้ำท่วมด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเคลมความเสียหายที่เกิดขึ้น ไปจนถึงค่ารักษาพยาบาล และค่าประกันอุบัติเหตุ
3. ไฟไหม้หรืออัคคีภัย
อัคคีภัยหรือไฟไหม้ ซึ่งความเสียหายของรถเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่าที่เกิดจากความแห้งแล้งของธรรมชาติ อย่างเหตุการณ์ที่ฟ้าผ่าลงใส่ต้นไม้หรือกิ่งไม้เสียดสีกันทำให้เกิดไฟไหม้ ซึ่งประกันที่คุ้มครองรถไฟไหม้คือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันชั้น 2 และ 2+ ซึ่งจะช่วยลดลดค่าใช้จ่ายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้รถ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันรถยนต์
4. พายุหรือวาตภัย
วาตภัย หรือลมพายุที่หอบลม ฝน และลูกเห็บตกใส่รถ ทำให้ทรัพย์สินต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย ซึ่งแน่นอนว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 จะได้รับความคุ้มครอง รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุด้วย ในขณะที่ประกันชั้นอื่นจะไม่คุ้มครอง
5. แผ่นดินไหว
การเกิดแผ่นดินไหวในไทยมีความเป็นไปได้น้อยมาก เนื่องจากพื้นที่ของประเทศเราไม่ได้อยู่ในเขตรอยเลื่อนพาดผ่านที่มีพลังมากจนทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้งอย่างประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ยังมีบางพื้นในหลายจังหวัดที่อยู่ในเขตรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง นั่นหมายถึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าหากต้นทางของแผ่นดินไหวเกิดจากประเทศเพื่อนบ้าน อาจทำให้พื้นที่ที่มีรอยเลื่อนได้รับผลกระทบไปด้วย อาจมีแรงสั่นสะเทือนจนทำให้รู้สึกสั่น ๆ จนรถที่จอดอยู่ไหลได้ การทำประกันชั้น 1 เพื่อคุ้มครองด้านภัยธรรมชาติ จะเป็นการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า โดยผู้เอาประกันจะได้รับการดูแลทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
6. อุกกาบาต
หรือเศษซากอวกาศจากนอกโลกที่พุ่งเข้าใส่รถยนต์จนได้รับความเสียหาย แบบนี้ในมุมมองของ “ประกันรถยนต์” จะถือว่าเป็นภัยธรรมชาติด้วยเช่นกัน แม้โอกาสจะเกิดในประเทศไทยเกือบเป็น 0 (ศูนย์) แต่ประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ครอบคลุมความเสียหายจากเหตุภัยนี้ด้วย
สรุปได้ง่ายๆ ว่า ประกันรถชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองภัยธรรมชาติทุกอย่าง ทุกเหตุการณ์ ในขณะที่ประกันชั้น 2+ จะคุ้มครองแค่กรณีรถน้ำท่วมเท่านั้น การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ จึงช่วยให้อุ่นใจมากกว่า แต่ทว่าประกันแต่ละประเภทล้วนมี “เงื่อนไขความคุ้มครอง” ต่างกัน แนะนำให้เช็คประกันให้ดีก่อนว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง รวมถึงประกันภัยรถยนต์ 2+ คุ้มครองอะไรบ้าง เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด
เหตุการณ์น้ำท่วมเชียงรายที่ผ่านมา ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองยังไง?
ตัวอย่างเหตุการณ์ภัยธรรมชาติน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ ในระหว่างวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2567 ยิงยาวไปจนถึง 19 กันยายน พ.ศ.2567 จังหวัดเชียงราย และจังหวัดหนองคาย ทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจำนวนมาก โดยเฉพาะ “รถยนต์” เพราะมีรถหลายคันที่จอดไว้ บางคันก็ท่วม บางคันก็ไหลไปตามน้ำ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนด “เกณฑ์มาตรฐาน” ให้บริษัทประกันภัยต้องใช้พิจารณาจ่ายค่าซ่อมรถถูกน้ำท่วม 5 ระดับ ดังนี้
- ระดับ A น้ำท่วมถึงพื้นรถยนต์: ประเมินค่าซ่อม 8,000-10,000 บาท
- ระดับ B น้ำท่วมถึงเบาะนั่ง: ประเมินค่าซ่อม 15,000-20,000 บาท
- ระดับ C น้ำท่วมถึงส่วนล่างของคอนโซลหน้า: ประเมินค่าซ่อม 25,000-30,000 บาท
- ระดับ D น้ำท่วมถึงส่วนบนของคอนโซลหน้า: ประเมินค่าซ่อม เริ่มต้นที่ 30,000 บาทขึ้นไป
- ระดับ E รถยนต์จมน้ำทั้งคัน: บริษัทประกันภัยจะคืนทุนประกันภัยให้กับผู้เอาประกัน หรือผู้รับประโยชน์
นอกจากนี้ คณานุสรณ์ เที่ยงตระกูล ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ. เปิดเผยว่า “มันไม่ใช่กฎหมาย เป็นเกณฑ์ขอความร่วมมือ แต่เชื่อว่าทุกบริษัทจะใช้เกณฑ์นี้ เพราะเราได้เชิญสมาคมประกันวินาศภัยไทย มาร่วมประชุมที่สำนักงาน คปภ.แล้วว่าใช้เกณฑ์นี้” และ “แล้วสำนักงาน คปภ. ได้มีหนังสือถึงสมาคมฯ ให้รวบรวมรายการความเสียหายรถที่น้ำท่วมของทุกบริษัท รายงานต่อสำนักงาน คปภ.ด้วย เพื่อให้ตรวจสอบว่า สิ่งที่เรามีมาตรการร่วมกันออกไป ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง ไม่ใช่แค่พูดเฉย ๆ พูดแล้วเราก็ให้บริษัทรายงานมา เราก็จะไปตรวจสอบด้วยว่า บริษัทได้ทำตามที่เราตกลงกันไว้หรือไม่” (ที่มา: theactive.net)
เซฟด่วน เจอภัยธรรมชาติ เบอร์ไหนช่วยคุณได้บ้าง?
ส่วนใหญ่ภัยธรรมชาติเป็นภัยที่เกิดขึ้นโดยที่หลาย ๆ คนไม่ทันได้ตั้งตัว นอกจากความคุ้มครองประกันภัยที่นำมาบอกต่อ รู้ใจก็ได้รวบรวม “เบอร์สายด่วน” มาให้ด้วย เบอร์ไหนที่ควรเซฟติดเครื่องไว้บ้าง ตามไปดูกันเลย
- บริการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นำส่งโรงพยาบาล กู้ชีพ โทร.1669
- ศูนย์ปฏิบัติการขอความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร.1111 กด 5
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร.1784 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ Line ID: @1784DDPM
- สภากาชาดไทย สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ช่วยเหลือสาธารณภัย โทร.1664
จะเห็นได้ว่า การทำประกันภัยรถยนต์เป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะความคุ้มครอง พ.ร.บ. ไม่ได้ครอบคลุมค่าซ่อมรถ ในขณะที่ไม่มีใครสามารถรู้อนาคตได้ การวางแผนและเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงจึงสำคัญ และการทำประกันภัยยังมีคปภ.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย และยังช่วยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือภัยธรรมชาติ ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อความอุ่นใจ สบายใจ และช่วยแบ่งความเสียหายที่เกิดขึ้น “ประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมาก ๆ แนะนำให้ตรวจสอบความคุ้มครอง รวมถึงเช็คค่าเบี้ยประกันรถยนต์ให้ดี เพื่อความคุ้มครองที่ตอบโจทย์มากที่สุด
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
อาฟเตอร์ช็อก | เหตุการณ์หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แล้วยังเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กตามมาเป็นระยะ เนื่องจากหินต่าง ๆ รอบ ๆ ศูนย์กลางไหวสะเทือน ใต้ผิวโลกพยายามปรับสู่สภาพสมดุลแต่มีความรุนแรงน้อยกว่าระลอกแรก |
รอยเลื่อน | รอยแตกหรือรอยแยกในหินที่แตกเป็นแนวขนาดใหญ่ โดยมักเกิดบริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก และสามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้ |
เภทภัย | ภัยต่าง ๆ |