Roojai

พ่วงข้างมอเตอร์ไซค์หรือซาเล้ง ถูกกฎหมายหรือไม่ ประกันคุ้มครองมั้ย?

การต่อเติมรถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์อย่างถูกกฎหมาย | รู้ใจ

รถซาเล้งหรือรถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ ถือเป็นหนึ่งในยานพาหนะที่ช่วยผ่อนแรง ใช้เดินทาง บรรทุกของ หรือหรือทำเป็นพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์สวย ๆ แถมปัจจุบันยังมีราคาไม่แพง สามารถบรรทุกได้ทั้งสิ่งของและคน สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าการปรับแต่งรถในลักษณะนี้ผิดกฎหมายมั้ย ทำประกันได้หรือเปล่า แล้วควรต้องแจ้งประกันหรือไม่ รู้ใจได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกัน

รถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์คืออะไร?

อ้างอิงจาก พรบ.รถจักรยานยนต์ ที่ระบุไว้ว่า “รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง คือ รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้า และมีล้อไม่เกิน 2 ล้อ และพ่วงข้างเพิ่มอีกไม่เกิน 1 ล้อ” และให้ความหมายรวมถึงรถจักรยานยนต์ที่ติดเครื่องด้วย

กรณีที่รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งให้ผิดไปจากเดิม (จากที่จดทะเบียนไว้) จะต้องนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพดูก่อน เนื่องจากนายทะเบียนจะสามารถสั่งการ แก้ไข และตรวจเช็คสภาพรถได้ตามที่เห็นสมควร

ประโยชน์ของรถซาเล้ง

รถพ่วงมอไซค์ที่ได้รับการต่อเติมมาจากรถจักรยานยนต์ทั่วไป มีประโยชน์มากกว่าที่คิด แถมยังสามารถทำประโยชน์อื่น ๆ ได้หลายอย่างมาก ถ้ายังมองภาพไม่ออก เราลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย

  1. ใช้ขนของได้เยอะ ไม่ว่าจะเป็นการขนของขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แถมในปัจจุบันผู้คนบางกลุ่มมักนิยมนำรถซาเล้งรับซื้อขยะ เก็บขยะ รวมถึงคัดแยกขยะอีกด้วย
  2. เดินทางได้หลายคน พบเจอได้ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็น “แท็กซี่ประจำท้องถิ่น” ก็ว่าได้ ส่วนใหญ่จะเป็นรถซาเล้งของทางที่พัก ที่มักใช้รับ-ส่งลูกค้าไปยังที่พัก หรือพานักท่องเที่ยวตระเวนไปยังจุดต่าง ๆ ด้วยความที่รถซาเล้งมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก คล่องตัว ทำให้สะดวกกว่าการใช้รถยนต์ แถมยังเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มาก
  3. ใช้ขายของ หนึ่งในประโยชน์ที่หลายคนเห็นดีเห็นงาม และใช้ประโยชน์กันมากที่สุด คือ การนำรถซาเล้งมาขายของ ไม่ว่าจะเป็นขายน้ำ ขายลูกชิ้น หรือขายผลไม้ ที่ให้ความสะดวกสบาย ขนของได้เยอะ ไม่ต้องขนขึ้น-ลงให้เหนื่อย

เห็นแล้วใช่มั้ยว่ารถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างมีประโยชน์มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะสำหรับคนที่กำลังคิดจะขายของ แต่ยังไม่มีสถานที่ให้ขาย การใช้รถมอไซค์พ่วงข้างตระเวนขายบริเวณรอบ ๆ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เจอลูกค้าที่ไหน จอดที่นั่น ไม่ต้องปักหลักที่ใดที่หนึ่งจนพลาดโอกาสทำเงินไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งถ้าหากคุณต้องการใช้ประโยชน์ในข้อนี้ เราไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันเลยดีกว่า ว่าการต่อเติมรถซาเล้งถูกกฎหมายมั้ย แล้วทำประกันได้หรือเปล่า เพื่อให้คุณใช้งานได้อย่างสบายใจ ไร้กังวล

มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างทำประกันได้มั้ย | รู้ใจ

รถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ผิดกฎหมายมั้ย​?

การต่อเติมรถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์หรือซาเล้ง จริง ๆ แล้วมีหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือแก้ไขที่ถูกกฎหมายกำหนดไว้ โดยหลัก ๆ แบบรถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ยาวไม่เกิน 1.75 เมตร และสูงไม่เกิน 2 เมตร

และเมื่อนำมาประกอบกับรถจักรยานยนต์แล้ว ต้องมีความกว้างวัดจากขอบยางด้านนอกสุดของล้อหลังรถมอเตอร์ไซค์ ถึงขอบยางด้านนอกสุดของล้อพ่วง ไม่เกิน 1.50 เมตร

รถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ที่ถูกกฎหมาย ยังต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย

  • จะต้องมีการตรวจเช็กคสภาพรถกับทางสถานตรวจสภาพรถ ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกก่อน
  • ต้องมีการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถมอเตอร์ไซค์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ขาด
  • ต้องมีการจัดทำพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะเป็นภาคบังคับหรืออื่น ๆ
  • ขั้นตอนการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงสภาพรถต้องทำต่อหน้านายทะเบียน

รถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ต้องทำพรบ.มั้ย?

เพื่อความปลอดภัยเป็นไปตามกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับประกันภัยภาคบังคับ และเสียภาษีประจำปีอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรปล่อยขาดเพื่อการคุ้มครองพื้นฐานของคุณและตัวรถ ซึ่งความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับ หรือพรบ.รถจักรยานยนต์ มีดังนี้

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นของพรบ. ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฝ่ายถูกหรือผิด เมื่อเกิดอุบัติเหตุปุ้บ ได้รับความคุ้มครองปั้บ ไม่ว่าจะเป็น

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท (จ่ายตามจริง)
  • ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ได้คนละไม่เกิน 35,000 บาท

คุ้มครองค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม

ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม พรบ.รถจักรยานยนต์จะจ่ายในตอนที่พิสูจน์แล้วว่าคุณเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น โดยให้ความคุ้มครองดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล ได้สูงสุดไม่เกินคนละ 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
  • กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินค่าชดเชยคนละ 500,000 บาท
  • กรณีทุพพลภาพถาวร หมายความว่าไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้ ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ ได้แก่ สูญเสียนิ้วตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับคนละ 200,000 บาท / สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับคนละ 250,000 บาท / สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับคนละ 500,000 บาท
  • กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
ประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง | รู้ใจ

รถซาเล้งทำประกันมอเตอร์ไซค์ได้มั้ย? 

หากคุณเป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างและต้องการจะนำรถไปทำประกันภาคสมัครใจ เพื่อซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถเลือกซื้อประเภทแผนประกันภัยได้อย่างอิสระได้ไม่ต่างจากมอเตอร์ไซค์ทั่วไป เพียงแต่ตอนซื้อประกันอาจมีระบุการตกแต่งเพิ่มเติมของตัวรถได้ โดยตัวเลือกมากมายที่คุณเลือกได้มีดังนี้

  • ประกันมอเตอร์ไซค์ชั้น 1 ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด แถมยังสามารถแจ้งเคลมได้ทั้งชนแบบมีและไม่มีคู่กรณี คุ้มครองรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • ประกันมอเตอร์ไซค์ชั้น 2+ ให้ความคุ้มครองกรณีที่เป็นอุบัติเหตุแบบรถชนรถ และมีคู่กรณีเท่านั้น รวมถึงกรณีรถหาย ไฟไหม้
  • ประกันมอเตอร์ไซค์ชั้น 3+ ให้ความคุ้มครองกรณีที่เป็นอุบัติเหตุรถชนรถ และมีคู่กรณีเท่านั้น
  • ประกันมอเตอร์ไซค์ชั้น 2 ให้ความคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น รวมถึงรถหาย ไฟไหม้
  • ประกันมอเตอร์ไซค์ชั้น 3 ให้ความคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น

แต่ส่วนใหญ่รถจักรยานยนต์ที่นิยมทำประกันภัยภาคสมัครใจ มักเป็นรถที่มีราคาแพง อย่างรถบิ๊กไบค์ เพราะนอกจากตัวรถจะมีมูลค่าสูงแล้ว อะไหล่หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ก็มีมูลค่าสูงตามไปด้วย และในทางกลับกันบริษัทประกันก็อาจไม่คุ้มครองรถซาเล้งหรือรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง ดังนั้นจึงควรเช็คเงื่อนไขก่อนทำประกันทุกครั้ง

ต่อเติมซาเล้งหลังทำประกัน ต้องแจ้งบริษัทมั้ย?

กรณีที่รถมอเตอร์ไซค์ถูกเปลี่ยนแปลงให้ต่างไปจากเดิม เช่น มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างหรือรถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ เจ้าของรถจะต้องดำเนินการแจ้งให้บริษัทประกันรับทราบด้วย เพราะในใบคู่มือจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ตามที่นายทะเบียนแก้ไขให้ใหม่นั่นเอง ส่วนในเรื่องของ “เงื่อนไขความคุ้มครอง” หรือเบี้ยประกันภัย อาจต้องมีการพูดคุยกับทางบริษัทอีกครั้ง เพื่อตกลงความคุ้มครอง เบี้ยประกันอีกครั้ง และบริษัทจะออกใบสลักหลังกรมธรรม์ให้กับคุณ หรือบริษัทประกันอาจไม่คุ้มครองส่วนที่ต่อเติมมา ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกัน

สกูตเตอร์ทำเป็นรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างได้มั้ย?

สำหรับคนที่มีรถสกูตเตอร์หรือรถจักรยานยนต์ระบบเพลา ไม่ใช้โซ่ เช่น แบรนด์ฟีโน่ ฟีลาโน่ หรืออื่น ๆ ที่พบเจอได้ง่ายในปัจจุบัน และอยากนำมาทำเป็นรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง สามารถทำได้หรือไม่? ตอบตรงนี้เลยว่า “สามารถทำได้” แต่ต้องรักษาดูแลอย่างดี ไม่ควรบรรทุกของหนักเกินไป รวมถึงต้องมีช่างคอยให้คำปรึกษา โดยไม่ควรบรรทุกเกิน 120 กิโลกรัม เพราะลูกปืนตรงคอรถอาจชำรุด เสียหายได้

การใช้มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างหรือซาเล้ง หากต่อเติมตามแบบรถพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ที่กฎหมายกำหนดก็ถูกกฎหมาย นอกจากนั้นยังควรทำประกันมอเตอร์ไซค์ที่ครอบคลุมทั้งมอเตอร์ไซค์และพ่วงข้างด้วย โดยเลือกบริษัทประกันที่เชื่อใจได้ ทีนี้ไปไหนเราก็ขับไปได้อุ่นใจทุกเสน้ทาง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือต้องพักรักษาตัวในสถานพยาบาล ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์
ทุพพลภาพ ภาวะที่สูญเสียหรือบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ ส่งผลให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำงาน หรือดำเนินชีวิตได้ตามปกติ