Roojai

ใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน นับเป็นการเคลมมั้ย? มีผลต่อเบี้ยประกันยังไง?

Article Roojai Verified
บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ส่งผลต่อการเคลมหรือเบี้ยประกันหรือไม่ รู้ใจมีคำตอบ

เมื่อพูดถึงบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน บอกเลยว่าเป็นบริการที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งรถเสีย รถชน น้ำมันหมดกลางทาง ฯลฯ ถ้าไม่มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงคงลำบากแน่ ๆ แล้วการเรียกใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินถือเป็นการเคลมประกันมั้ย? และมีข้อมูลอะไรที่ควรรู้บ้าง ตามรู้ใจไปดูกันเลย

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง คืออะไร?

บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน (Roadside Assistance Service) คือ สิทธิประโยชน์ที่ติดมาหรือซื้อเสริมจากประกันรถยนต์ ซึ่งคอยช่วยผู้ขับขี่รถยนต์กรณีที่ต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น น้ำมันหมดกลางทาง แบตหมด ยางแตก กุญแจหาย ฯลฯ

โดยทางบริษัทประกันภัยรถยนต์จะเป็นผู้ให้บริการ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นให้ ทั้งนี้อาจไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือมีการจำกัดจำนวนครั้งในการให้บริการ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทประกัน

ใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน นับเป็นการเคลมประกันรถหรือไม่ รู้ใจมีคำตอบ

บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน มีอะไรบ้าง?

เงื่อนไขบริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทที่คุณเลือก สำหรับบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงของรู้ใจ มีดังนี้

1. การช่วยเหลือซ่อมแซมฉุกเฉิน

หากเดินทางอยู่แล้วรถเสีย เช่น ระบบไฟฟ้าขัดข้อง ยางแตก หรือเครื่องยนต์มีปัญหา รู้ใจจะส่งเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ โดยอาจเป็นการซ่อมแซมถาวรหรือชั่วคราว (แล้วแต่กรณี) โดยรู้ใจจะซัพพอร์ตค่าเดินทางและค่าแรงของเจ้าหน้าที่ที่เดินทางไปซ่อมรถให้คุณ ไม่ว่ารถของคุณจะเสียอยู่ที่ไหนก็ตาม โดยบริการนี้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี

2. การช่วยเหลือเมื่อรถน้ำมันหมด

ในกรณีที่รถน้ำมันหมด รู้ใจจะส่งเจ้าหน้าที่ไปบริการเติมน้ำมันฉุกเฉิน สูงสุด 5 ลิตร เพื่อให้คุณสามารถเดินทางต่อเพื่อไปเติมน้ำมันในปั๊มที่ใกล้ที่สุดได้ โดยรู้ใจจะเป็นคนซัพพอร์ตค่าเดินทางและค่าแรงของเจ้าหน้าที่ และค่าน้ำมันด้วย โดยบริการนี้ใช้ได้ 1 ครั้งต่อปี

3. การช่วยเหลือโดยช่างกุญแจ

เราคงได้เห็นข่าวกันบ่อย ๆ ที่น้องหมาล็อครถ หรือเด็กติดอยู่ในรถ แล้วกุญแจก็ยังอยู่ข้างใน แบบนี้สามารถใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินเพื่อเรียกช่างกุญแจได้ โดยรู้ใจจะรับผิดชอบค่าเดินทางและค่าแรงของเจ้าหน้าที่ โดยบริการนี้ใช้ได้ 1 ครั้งต่อปี

4. บริการรถยก/รถลาก

หากรถของคุณเสีย และไม่สามารถช่วยซ่อมแซมได้ที่จุดเกิดเหตุ ซึ่งต้องมีการส่งรถไปยังอู่ซ่อมรถ ก็สามารถใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. กับรู้ใจ โดยคุณสามารถใช้บริการขนส่งรถได้ 1 ครั้งต่อปี

Tips: เรียกใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินยังไง?

หากรถเสียกลางทาง น้ำมันหมด ยางแตก หรือเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา มีวิธีรับมือ ดังนี้

  1. ตั้งสติ พยายามประคองรถหรือย้ายรถไปยังจุดปลอดภัย (หากเป็นไปได้)
  2. หากมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงของรู้ใจ โทร 02 080 9194 หรือผ่าน Roojai Mobile App
  3. รอเจ้าหน้าที่ไปถึง
ใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ส่งผลต่อเบี้ยประกันภัยหรือไม่ รู้ใจมีคำตอบ

เรียกใช้บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน นับเป็นการเคลมประกันรถยนต์มั้ย? มีผลต่อเบี้ยประกันยังไง?

ไม่ การเรียกใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินไม่นับเป็นการเคลมประกันรถยนต์ เพราะเป็นการใช้บริการเสริมในส่วนที่เราซื้อเพิ่มเติมด้วยตนเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความคุ้มครอง และแน่นอนว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเพิ่ม-ลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ปีถัดไปด้วย เพียงแต่อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของ “จำนวนครั้ง” ในการเรียกใช้บริการ หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ควรทำความเข้าใจให้ดี เพราะถ้าหากเกินกว่าที่กำหนด คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนั่นเอง

การเลือกประกันที่มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ไม่ว่าซื้อเพิ่มหรือติดมากับกรมธรรม์ ก็เป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยคุณในเวลาที่ฉุกเฉิน โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง หากรถเสียรถดับกลางทางตอนกลางคืนในที่เปลี่ยวก็น่ากลัวไม่น้อยเลย นอกจากนั้นยังคุ้มค่ากว่าเพราะการเรียกช่างมาในแต่ละครั้ง ราคาอาจเกินค่าบริการเสริมที่เราซื้อเพิ่ม

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้ เกี่ยวกับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ด้านสุขภาพ รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยบกับประกันภัยต่าง ๆ ได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือเพิ่มเพื่อนทาง LINE ได้เลย (Official LINE ID: @roojai)

คำจำกัดความ

รถเสีย สถานการณ์ที่รถยนต์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาจเกิดจากปัญหาทางกลไก เช่น เครื่องยนต์เสีย ระบบไฟฟ้าขัดข้อง หรือยางแบน เป็นต้น การที่รถเสียอาจทำให้คุณต้องหยุดรถและหาวิธีแก้ไข เช่น การเรียกช่างซ่อมรถหรือการใช้บริการรถลาก
ผู้ให้บริการ บุคคลหรือองค์กรที่ให้บริการหรือผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า
previous article
< บทความก่อนหน้า

จอดรถหน้าบ้านตัวเองผิดไหม? เรื่องที่คุณอาจทำผิดโดยไม่รู้ตัว!

บทความถัดไป >

สรุปให้! Segment รถยนต์คืออะไร? ความแตกต่างและผลต่อเบี้ยประกัน

Next article