Roojai

ผู้ขับขี่ความเสี่ยงสูงคืออะไร? ประกันภัยรถยนต์แบบไหนตอบโจทย์

ประกันภัยรถยนต์ที่ตอบโจทย์ผู้ขับขี่ความเสี่ยงสูง | รู้ใจ

อุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าใครจะอยู่หลังพวงมาลัย การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ติดรถเอาไว้ จึงถือว่ามีความสำคัญมาก ๆ เพราะจะช่วยให้อุ่นใจ ราวกับมีเพื่อนร่วมทางที่ไว้ใจได้ ร่วมเดินทางไปด้วยตลอดทริป แต่กรณีที่คุณเป็น “ผู้ขับขี่ที่มีความเสี่ยงสูง” ควรซื้อประกันรถยนต์แบบไหนให้ตอบโจทย์ แล้วซื้อยากหรือไม่ รู้ใจได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย

ผู้ขับขี่ความเสี่ยงสูงจากพฤติกรรมเสี่ยง มีอะไรบ้าง?

พฤติกรรมการขับขี่ที่มีความเสี่ยง จริง ๆ แล้วมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนนอีกมากมาย ถ้าอย่างนั้นเราไปดูกันเลยดีกว่า ว่าตัวคุณเองมีพฤติกรรมเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน ไปดูพฤติกรรมเสี่ยงด้วยกันเลยดีกว่า 

1. เมาแล้วขับ

การเมาแล้วขับเป็นพฤติกรรมเสี่ยงจากอุบัติเหตุอันดับ 1 เลย เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ความสามารถในการขับรถน้อยลง ปฏิกิริยาและการจัดสินใจช้าลงอีกด้วย นำไปสู่อุบัติเหตุทางถนนที่ไม่มีใครคาดคิด แต่ก็ไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ นอกจากการเมาแล้วขับจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำแล้วยังมีโทษทางกฎหมายด้วย หากพบว่าคนขับมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ บทลงโทษคือการจำคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับตั้งแต่ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. มีความผิดปกติด้านการนอน

เช่น นอนไม่หลับ ทำงานกะดึก ไม่ได้นอนติดกันหลายวัน สิ่งเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า และมักเกิดภาวะง่วงนอนในช่วงกลางวัน หรือที่เรียกว่า daytime sleepiness หากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ แนะนำว่าควรใช้บริการรถโดยสาร หรือเลือกใช้ยานพาหนะที่มีคนขับให้มากขึ้น

3. แต่งหน้าขณะขับรถ

ในวันที่เร่งรีบสาว ๆ หลายคนมักเลือกที่จะแต่งหน้าบนรถ เพื่อประหยัดเวลาให้มากกว่าเดิม แต่ไม่ว่าจะแต่งหน้าขณะขับรถ ติดไฟแดง หรือใด ๆ ก็ตามในขณะที่ตัวสาว ๆ เองเป็นผู้ขับขี่ จะทำให้สมาธิทั้งหมดจดจ่ออยู่กับการเขียนคิ้ว ทาปากเป็นหลัก จนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงเหตุการณ์ร้ายแรงได้

ประกันรถยนต์ชั้น 1 ตอบโจทย์ผู้ขับขี่ความเสี่ยงสูงยังไง | รู้ใจ

4. หยิบจับสิ่งของอยู่ตลอดเวลา

การหันไปหยิบหรือจับสิ่งของไม่ว่าจะเบาะข้างคนขับหรือเบาะหลัง รวมถึงการปรับเบาะที่นั่ง ปรับแอร์ หรืออื่น ๆ เป็นการกระทำที่ทำให้คุณละสายตาจากท้องถนนไปชั่วขณะ ซึ่งระหว่างนั้นอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นได้เช่นกัน  

5. ขับไปกินอาหารไป

หนึ่งในพฤติกรรมที่หลาย ๆ มักทำในช่วงเวลาเร่งรีบ คือการทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มขณะขับรถ ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียสมาธิด้วยแล้ว ยังทำให้คุณไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้การควบคุมพวงมาลัยด้อยประสิทธิภาพ จนนำมาซึ่งอุบัติเหตุร้ายแรงได้ง่าย ๆ 

6. ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

หนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย คือการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ โดยพฤติกรรมดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติ 2-4 เท่า เนื่องจากผู้ขับขี่เสียสมาธิ ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง แถมยังส่งผลต่อการมองเห็นป้ายจราจรอีกด้วย 

7. หัวร้อน-แซง-เฉี่ยว เวลาขับรถ

เชื่อว่าหลายคนคงมีประสบการณ์การเจอเรื่องราวที่ไม่ดีบนท้องถนน ทั้งจากพฤติกรรมการขับของตัวเอง รวมไปถึงคนอื่น ๆ บนถนน แต่หากหัวร้อน พร้อมชน แซง เฉี่ยว แบบนี้นอกจากเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ยังอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ผู้ขับขี่ไม่ควรละสายตาจากเส้นทาง หรือปล่อยมือจากพวงมาลัย แม้ว่าพฤติกรรมหรือกิจกรรมเหล่านั้นจะเกิดเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม เพราะอุบัติเหตุทางถนนสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่เสี้ยววินาที 

ผู้ขับขี่ความเสี่ยงสูงจากโรคประจำตัว โรคไหนประกันไม่รับเคลม?

กรณีที่มีความเสี่ยงในเรื่องของพฤติกรรมการขับขี่ การซื้อประกันภัยรถยนต์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าหากคุณมีประวัติการเคลมที่ไม่ดี อาจต้องแบกรับค่าเบี้ยประกันที่เพิ่ม แต่หากมีโรคประจำตัว บางครั้งประกันอาจไม่รับเคลมเลย โดยโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นโรคตามที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้เป็น “โรคต้องห้ามในการขับขี่” หากตัวเช็คว่าเป็นโรคเหล่านี้ห้ามขับรถเด็ดขาดเพราะจะเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุสูงและแน่นอนว่าหาเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมา ประกันจะไม่รับเคลมด้วยอีกต่างหาก มีทั้งหมด 9 โรค ดังนี้ 

  1. โรคเกี่ยวกับสายตา โรคเกี่ยวกับสายตาในที่นี้ เหมารวมความบกพร่องของการทำงานทางสายตา ที่ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือจอประสาทตาเสื่อม ที่ทำให้มุมมองในการรับภาพแคบลง และอาจส่งผลต่อการมองไฟจราจรที่พร่ามัว 
  2. โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ มักมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น สายตาพร่ามัว จนถึงขั้นหมดสติได้ 
  3. โรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยมักมีลักษณะอาการมือสั่น เท้าสั่น รวมถึงมีอาการเกร็งร่วมด้วย ประกอบกับการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างช้า ส่งผลให้การตัดสินใจในการขับขี่ช้าลงตามไปด้วย  
  4. โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก ยิ่งถ้าหากมีความเครียดร่วมด้วย จะยิ่งทำให้ความดันสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้มีอาการหน้ามืด แขนขาอ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ นอกจากจะทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ง่ายแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเส้นเลือดในสมองแตกอีกด้วย 
  5. โรคข้อเข่าเสื่อม หรือข้ออักเสบ มักมีอาการปวดบริเวณข้อเมื่อขับขี่ไปนาน ๆ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เต็มที่ หากเกิดอุบัติเหตุรถชนจะทำให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง 
  6. โรคหัวใจ กรณีที่ผู้ป่วยเกิดความเครียด หรือได้รับความกดดันจากการขับขี่เป็นเวลานาน รวมถึงรู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดอาการแน่นอก เจ็บหน้าอก จนถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลัน จนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ 
  7. โรคลมชัก เกิดขึ้นจากคลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ มักเกิดอาการเกร็งชัก สั่น และกระตุกโดยไม่รู้ตัว การตัดสินใจก็ช้าลงตามไปด้วย กรณีที่อาการกำเริบทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ไปจนถึงการควบคุมการขับขี่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 
  8. โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง สมองสั่งการช้า ส่งผลให้การตัดสินใจและการตอบสนองต่อการขับขี่ช้าลง 
  9. โรคทางสมองและระบบประสาท หากผู้ป่วยอยู่ในระดับที่มีอาการไม่มากจนเกินไป จะเกิดอาการหลงลืม ตัดสินใจช้า หรือจดจำเส้นทางไม่ได้ รวมถึงส่งผลต่อการขาดสมาธิในการขับขี่ได้ 

แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่เกิดอาการของโรคต่าง ๆ ขณะขับรถ แต่การทานยาอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย หรืออาการใด ๆ ก็ตามที่อาจเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ง่าย ดังนั้นการเลี่ยงขับไปเลยจะดีที่สุด เพราะถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา บอกเลยว่ามีเกณฑ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เนื่องจากประกันไม่รับเคลม

พฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุเวลาขับรถ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

ประกันรถยนต์ชั้น 1 ตอบโจทย์ผู้ขับขี่ความเสี่ยงสูงมั้ย?

อย่างที่ทุกคนทราบเป็นอย่างดีว่าประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เป็นประกันภาคสมัครใจที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด นอกจากจะคุ้มครองทั้งแบบมีและไม่มีคู่กรณีแล้ว ยังช่วยคุ้มครองในเรื่องของค่าใช้จ่ายกรณีเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และค่าประกันตัวผู้ขับขี่อีกด้วย นอกจากนี้หากคู่กรณีหลบหนี หรือเกิดอาการบาดเจ็บ เสียชีวิต ทางบริษัทประกันภัยก็พร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตามทุนประกันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ 

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เหมาะกับใคร?

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 นอกจากจะเหมาะกับผู้มีความเสี่ยงสูงแล้ว  ยังเหมาะสำหรับคนที่เพิ่งออกรถใหม่ ขับรถเป็นไม่นาน รวมถึงยังตอบโจทย์สำหรับรถยนต์ออกใหม่ รถที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี รถยนต์ที่มีราคาแพง หรือเสี่ยงต่อการโดนโจรกรรม บอกเลยว่าคุ้มครองคุ้มค่ากับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปมาก ๆ

นอกจากนั้นการซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ยังคุ้มครองกระจกรถ น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ไฟไหม้ การสูญหายหรือถูกโจรกรรม บริการรถยก ไปจนถึงค่ารักษาพยาบาล และการประกันตัวผู้ขับขี่ (เมื่อคุณเป็นฝ่ายผิด) บอกเลยว่าครอบคลุมที่สุด ขับไปไหนก็อุ่นใจได้ทุกเส้นทาง

ความเสี่ยงงจากการขับขี่ มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยมาก ๆ หากเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น กินไปขับไป แต่งหน้าระหว่างขับรถ หรือใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ หรือพฤติกรรมที่ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น เมื่อเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงจะดีที่สุด แต่ถ้ามีความเสี่ยงจาก 9 โรคตามกำหนดของกรมการขนส่งทางบก แนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับรถไปเลยจะดีกว่า เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อตัวเองและเพื่อนร่วมทางแล้ว ยังเสี่ยงต่อเงินในกระเป๋าสตางค์ของคุณด้วย เพราะไม่เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์นั่นเอง

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ทัศนวิสัย ระยะทางที่ไกลที่สุด ที่เราสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่า และบอกได้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร
Daytime sleepiness ภาวะง่วงนอนมากผิดปกติกลางวัน เป็นการสูญเสียความสามารถในการตื่นนอนหรือตื่นตัวในตอนกลางวัน จนทำให้รู้สึกง่วงระหว่างวัน บางคนอาจรุนแรงจนไม่สามารถต้านทานความง่วงจนหลับไปทันที