หนึ่งในเรื่องราวที่เจ้าของรถทุกคนต้องเรียนรู้คือเรื่องเกี่ยวกับวิธีต่อ พ.ร.บ รถยนต์ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำกันอยู่เป็นประจำในทุกปี เพราะการต่อ พ.ร.บ. นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการต่อภาษีรถยนต์อยู่ด้วย โดยเจ้าของรถควรทุกคนทำความเข้าใจในรูปแบบการจัดการทุกอย่างให้ครบถ้วน เผื่อว่าในกรณีที่ต้องไปทำเรื่องขอต่อพ.ร.บ. เองหรือติดต่อสอบถามบริษัทที่รับต่อ พ.ร.บ. คุณจะได้รู้ว่าเป็นราคาที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่แพงเกินไปนั่นเอง
สำหรับขั้นตอนการต่อพ.ร.บ. จะควบคู่กันไปกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี อีกทั้งกรมการขนส่งทางบกยังมีการแนะนำขั้นตอนการต่อพ.ร.บ. พร้อมกับภาษีรถยนต์เอาไว้อย่างครบถ้วน คุณสามารถไปดำเนินการทุกอย่างด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง สามารถทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนต่อพ.ร.บ.
สำหรับวิธีต่อพ.ร.บ. สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมเอกสารสำหรับยื่นเรื่องทั้งการต่อ พ.ร.บ. และการยื่นขอต่อภาษีรถยนต์ ต้องเตรียมสมุดประจำรถหรือที่เราเรียกกันว่าคู่มือรถยนต์นั่นเอง โดยจะใช้เป็นตัวจริงหรือตัวสำเนาก็ได้ และนอกจากนั้นต้องเตรียมสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นเรื่องไปด้วย
รถคันไหนต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อพ.ร.บ.?
หนึ่งในขั้นตอนสำคัญทั้งในการยื่นขอต่อภาษีและต่อ พ.ร.บ. รถยนต์คือการตรวจสภาพรถ โดยข้อกำหนดคือ หากรถที่มีอายุไม่ถึง 7 ปี เจ้าของรถสามารถยื่นแต่เพียงเอกสารในข้างต้นเพื่อขอต่อพ.ร.บ. ได้ทันที แต่ถ้าหากเป็นรถที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป จำเป็นต้องทำการตรวจสภาพก่อนยื่นเรื่องขอพ.ร.บ. พร้อมกับการต่อภาษีทุกครั้ง
ต่อพ.ร.บ. มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
ค่าธรรมเนียมสำหรับการทำพ.ร.บ. รถยนต์จะแตกต่างกันตามประเภทของรถยนต์ ดังนี้
- รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน คิดในอัตรา 600 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง คิดในอัตรา 1,100 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง คิดในอัตรา 2,050 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง คิดในอัตรา 3,200 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง คิดในอัตรา 3,740 บาท/ปี
- รถยนต์ไฟฟ้า คิดในอัตรา 600 บาท/ปี
ต่อพ.ร.บ. กับกรมการขนส่งทางบกโดยตรง
สำหรับการต่อพ.ร.บ. หรือที่เรียกกันว่าประกันภัยภาคบังคับนั้น เมื่อคุณเดินทางไปยังสำนักงานขนส่งแต่ละแห่ง จะมีตัวแทนประกันภัยที่รับผิดชอบดูแลมาเป็นผู้ดำเนินเรื่อง เพียงคุณยื่นสมุดรถพร้อมคำร้อง และค่าธรรมเนียมสำหรับการทำพ.ร.บ. โดยจะมีอัตราการค่าบริการเริ่มต้นที่ 600 จนถึง 3,740 บาท แล้วแต่ประเภทของรถ
ต่อพ.ร.บ. ผ่านบริษัทตัวแทน
อีกหนึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยมและมีความสะดวกคือการใช้บริการของภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบนที่สามารถรับเรื่องและเดินเรื่องเพื่อการของพ.ร.บ. และขอภาษีรถได้ อาจเป็นเพียงแค่บริษัทดำเนินเรื่องและจัดการหรือเป็นสถานที่ตรวจสอบสภาพรถที่รับดำเนินเรื่องต่อ พ.ร.บ. ให้ด้วย โดยจะมีค่าบริการเพิ่มเติมอีกประมาณ 200-300 บาท
ต่อพ.ร.บ. ออนไลน์
อีกหนึ่งช่องทางที่เรียกว่าย่นระยะเวลา ผ่านทางระบบออนไลน์เรียกว่า รวดเร็ว ฉับไว เพียงแค่ลงทะเบียนขอยื่นต่อ พ.ร.บ. ที่ https://eservice.dlt.go.th จากนั้นให้เตรียมข้อมูลรถจากสำเนาคู่มือรถและข้อมูลของ พ.ร.บ. ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีข้อกำหนดสำคัญสำหรับการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ คือ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันหมดอายุ หรือพูดง่าย ๆ ต้องทำล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนวันที่ พ.ร.บ. จะหมดอายุนั่นเอง
โดยขั้นตอนหลังจากนั้น เพียงแค่ระบุชนิดรถและใส่รายละเอียดรถของคุณลงในกล่องข้อความพร้อมยื่นเรื่องส่งเอกสารผ่านทางระบบออนไลน์ เพียงเท่านี้การจัดการด้านการต่อ พ.ร.บ. ก็เสร็จสิ้นครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
ต่อพ.ร.บ. ไม่ทัน ทำยังไงดี?
หากพ.ร.บ. หมดอายุจะทำอย่างไรดี? เรื่องนี้คุณต้องรีบติดตามอย่างรวดเร็ว เพราะค่าปรับของการต่อพ.ร.บ. ล่าช้าจะเสียค่าปรับชำระภาษีย้อนหลังเดือนละ 1% และหากคุณนำรถที่ไม่มีพ.ร.บ. ไปใช้งานและถูกตรวจสอบพบจะมีโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 บาทกันเลยทีเดียว และการที่พ.ร.บ. หมดอายุ คุณจะไม่สามารถทำการยื่นของจ่ายภาษีรถได้อีกด้วย
หากต่อพ.ร.บ.และภาษีรถยนต์แล้ว อย่าลืมทำประกันรถยนต์ที่รู้ใจ มาคุ้มครองรถยนต์คันโปรดคู่ใจของคุณ ที่รู้ใจมีประกันรถยนต์ที่ช่วยคุณประหยัดถึง 30% มีอยู่และศูนย์ซ่อมทั่วไทยกว่า 1,800 แห่ง เจ้าหน้าที่มาไวใน 30 นาที เลือกรับความคุ้มครองบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงได้ ให้คุณอุ่นใจได้ในทุกการเดินทาง
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)