Roojai

ประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิตคุ้มครองยังไง? เคลมพรบ.และประกันรถได้มั้ย?

ความคุ้มครองประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิต| ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

หนึ่งในความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ ที่ผู้เอาประกันต่างสงสัยกันมากที่สุด คือ หากขับรถชนคนเสียชีวิต ขับรถชนคนตาย ประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิตให้ความคุ้มครองยังไง เคลมได้มั้ย และเคลมอะไรได้บ้าง หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังหาคำตอบในประเด็นความคุ้มครองประกันกรณีเสียชีวิต   รู้ใจลิสต์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้แล้ว มีข้อมูลอะไรที่ต้องรู้บ้าง ไปดูกันเลย

ประกันรถกรณีเสียชีวิตคุ้มครองยังไง?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ หากมีประกันรถยนต์ควรโทรหาประกันทันที เพราะประกันจะมาช่วยไกล่เกลี่ย หากเกิดเกิดกรณีที่มีคนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เมื่อเคลมประกันรถยนต์ ประกันจะ “ต้องจ่าย” โดยเป็นความรับผิดชอบของบริษัท ตามเงื่อนไขดังนี้

  • รับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกหรือคู่กรณี

ในกรณีที่คู่กรณีได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต บริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย “ส่วนเกิน” จาก พรบ.รถยนต์ ซึ่งวงเงินที่จ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทประกันรถยนต์ที่ผู้เอาประกันทำไว้ รวมถึงยังให้ความคุ้มครองในเรื่องของทรัพย์สินของคู่กรณี โดยจะชดเชยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

  • คุ้มครองผู้เอาประกัน ในส่วนของความคุ้มครองผู้ประกัน

บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกินมาจากพรบ.รถยนต์ และเป็นไปตาม “วงเงิน” ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเช่นเดียวกัน โดยจะช่วยในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บ รวมถึงเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต (ค่าสินไหมทดแทน) รวมไปถึงเรื่องค่าประกันตัวผู้ขับขี่ด้วย และจะขึ้นอยู่กับประเภทประกันรถยนต์ที่ทำไว้ โดยจะมีความคุ้มครองในเรื่องของทรัพย์สินของเราหากทำประกันรถยนต์ชั้น 1 2+ และ 3+

รู้มั้ย? ขับรถชนคน แม้ไม่เสียชีวิตก็มีโทษทางกฎหมาย

แน่นอนว่าหากขับรถชนคนเสียชีวิต การมีประกันที่เคลมประกันรถยนต์ยิ่งอุ่นใจ และหากเกิดอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนน มีคนได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต หากไกล่เกลี่ยกันได้ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ยัง “มีความผิดตามกฎหมายอาญา” ดังนี้

  • มาตรา 291: ระบุว่า “ผู้ใดที่กระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท”
  • มาตรา 300: ระบุว่า “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

พรบ. คุ้มครองกรณีเสียชีวิต ยังไงบ้าง?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า พรบ.รถยนต์ เป็นหนึ่งในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี แถมยังมีจุดประสงค์ในการ “ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด” เป็นเหมือนประกันรถกรณีเสียชีวิตเบื้องต้น หากเกิดอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนนไม่ว่าจะมีคนเจ็บเล็กน้อย เจ็บสาหัส หรือถึงแก่ชีวิต พรบ.รถยนต์จะให้ความคุ้มครองดังนี้

ขับรถชนคนเสียชีวิต ประกันคุ้มครองยังไง| ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

หลังจากเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารหรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น ในรูปแบบค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต (ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต)  “โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด” ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กรณีบาดเจ็บ: ผู้ประสบภัยจะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร: หากเกิดอุบัติจนทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร พรบ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต: ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย จะได้รับการชดใช้เป็น “ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น” เกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน

2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหมทดแทน เป็น “ค่าเสียหาย” หลังจากพิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก โดยพรบ.รถยนต์หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ: ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาล “ตามจริง” (มีหลักฐานการชำระเงิน) ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • กรณีเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน: ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร: ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าทดแทนเป็นเงินจำนวนเฉลี่ยที่ 200,000-500,000 บาท/คน ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด
  • กรณีเสียชีวิต: ประกันรถกรณีเสียชีวิตเบื้องต้นจากพรบ.รถยนต์ ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 500,000 บาท/คน
ความคุ้มครองเมื่อมีคนเสียชีวิตในอุบัติเหตุรถชน | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

มีพรบ.แล้วต้องทำประกันภาคสมัครใจมั้ย?

หลังจากทำความเข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครองประกันรถยนต์ ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจมาเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งทั้ง 2 แบบให้ความคุ้มครองเป็นประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิตทั้งคู่ ทำให้บางคนคงสงสัยว่า “มีพรบ.รถยนต์แล้ว ยังต้องทำประกันภาคสมัครใจมั้ย” ถ้าไม่ทำจะผิดกฎหมายหรือเปล่า?

สำหรับ “ประกันภาคบังคับ” หากไม่ทำมีความผิดกฎหมายแน่นอน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น “ภาคบังคับ” แต่ถ้าเป็นประกันภาคสมัครใจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง และไม่มีใครบังคับว่าต้องทำ ขึ้นอยู่กับ “ความสมัครใจ” ของผู้เอาประกันล้วน ๆ

ประกันภาคสมัครใจ มีหรือไม่มีก็ได้ แต่ทำไมใคร ๆ ถึงยินดีที่จะจ่ายเพิ่ม?

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือประกันชั้น 1, 2, 2+,3+ หรือ 3 ที่เรียกกันจนติดปากนั้น “ให้ความคุ้มครองตัวรถยนต์แตกต่างจาก พรบ.รถยนต์ ที่คุ้มครองเฉพาะผู้ประสบภัยเพียงอย่างเดียว” พูดง่าย ๆ ว่าหากคุณต้องการได้รับความค่าซ่อมรถ ประกันภาคสมัครใจถือว่าตอบโจทย์ได้มากกว่า

ซึ่ง “ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์” นอกจากกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชนแล้ว ยังรวมถึงรถสูญหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ถือเป็นหนึ่งใน “ค่าใช้จ่าย” ที่ควรค่าแก่การควักเงินเพิ่มมาก ๆ เลยล่ะ

เจ้าของรถเดิมเสียชีวิตมีผลต่อการเคลมประกันหรือไม่?

หากเจ้าของรถเดิมเสียชีวิต ประกันรถยังให้ความคุ้มครองตามปกติ จนกว่าจะสิ้นสุดความคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย หรือจนกว่าเจ้าของใหม่จะแจ้งยกเลิก ถ้าจะให้ดีแนะนำว่าเมื่อโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เรียบร้อยแล้วให้โอนประกันรถยนต์ตามไปด้วย เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ “ผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย” จนไม่สามารถเคลมประกันรถยนต์ได้

แน่นอนว่าการขับรถชนคนเสียชีวิต ขับรถชนคนตาย เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เราไม่สามารถรู้อนาคต หรือควบคุมไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้ การรับมือจึงสำคัญ นอกจากการขับรถไม่ประมาทแล้ว การมองหาประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิตก็สำคัญ เพราะแม้ประกันรถยนต์ภาคบังคับให้ความคุ้มครองในระดับหนึ่ง แต่เพื่อความอุ่นใจที่เพิ่มขึ้นประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีไม่แพ้กัน แถมยังให้ความคุ้มครองกรณี “ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์” ในด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ค่าสินไหมทดแทน การเยียวยาที่ต้องชดใช้ให้กับผู้เสียหาย ผู้ที่ถูกละเมิด หรือผู้ได้รับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะชดใช้เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรืออื่นๆ ตามที่ผู้เสียหายเรียกร้อง
ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายทุกชนิดในการจัดการศพของผู้ตาย เช่น ค่าหีบศพ ค่าห่อศพ ค่าฉีดยาป้องกันศพเน่า ค่าแต่งตัวให้ศพ กรณีร่างกายถูกรถชนแหลกเหลวจะต้องเย็บให้เข้าที่ ค่าจ้างหมอเย็บศพก็ถือว่าเป็นค่าปลงศพอย่างหนึ่ง
ผู้จัดการมรดก ผู้มีหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งปันทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ซึ่งเป็นบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทโดยธรรม ทายาทประเภทญาติ (ผู้ที่มีสายสัมพันธ์ทางสายโลหิต เช่น ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา) และประเภทคู่สมรส