Roojai

โดนนายหน้าหลอกซื้อ

โบรกเกอร์ ประกันภัย | ซื้อประกัน | รู้ใจ

โดนนายหน้าหลอกซื้อ “ประกันภัยรถยนต์” จัดการอย่างไร พร้อมวิธีตรวจสอบผู้ให้บริการก่อนซื้อ

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวโด่งดังเกิดขึ้นเกี่ยวกับ กรณีตัวแทนบริษัทประกันพร้อมผู้เสียหายถูกหลอกซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านนายหน้าประกันรถยนต์ทางโทรศัพท์ มูลค่ารวมกว่า 5 ล้าน เข้าแจ้งกองปราบ ให้ดำเนินคดีบริษัทหลอกลวง จัดโปรโมชั่นพิเศษจูงใจขายประกันรถยนต์ แต่เมื่อซื้อแล้วกลับไม่มีกรมธรรม์ ไม่มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย แบบนี้ผู้ซื้อมีแต่ชอกช้ำ ซึ่งก็คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎหมายเล่นงานกันต่อไป และเพื่อเป็นแนวทางหากกรณีนี้เกิดขึ้นกับตัวเองบ้าง ควรทำอย่างไร เรามีคำตอบมาฝาก พร้อมวิธีตรวจสอบผู้ให้บริการก่อนซื้อ ตามรายละเอียดต่อไปนี้

โดนนายหน้าหลอกซื้อประกันภัยรถยนต์ทำอย่างไร

หากซื้อประกันภัยรถยนต์แล้วมารู้ทีหลังว่าตนเองโดนหลอก สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกคือ นำหลักฐานการโอนเงินไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ให้ทราบ เพื่อลงบันทึกประจำวันและดำเนินการเอาผิดให้ถึงที่สุด ในเรื่องของคดีฉ้อโกงประชาชน หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้คนร้ายไปก่อเหตุซ้ำอีก หรือจะรวมตัวกันไปที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

ประกันรถยนต์ | มิจฉาชีพ | รู้ใจ

จะป้องกันอย่างไรไม่ให้โดนหลอก

  1. เมื่อได้รับการเสนอประกันภัยรถยนต์อย่าพึ่งรีบตกลงซื้อ ให้ลองโทรไปเช็คกับทางบริษัทประกันก่อนว่า มีตัวแทนหรือนายหน้านั้น ๆ หรือไม่ เพราะทางบริษัทจะมีรายชื่อตัวแทน นายหน้า (Broker) อยู่แล้ว
  2. ตัวแทนที่ติดต่อคุณ จะต้องมี “ ใบอนุญาต ” คุณจึงสามารถขอดูเลขใบอนุญาตและนำเลขใบอนุญาตมาตรวจสอบได้ที่



    หากตรวจสอบแล้วพบว่าตัวแทนไม่มีเลขประกันให้ หรือไม่พบตัวแทน สันนิษฐานไว้ก่อนได้ว่าน่าจะเป็นมิจฉาชีพ
  3. ลองขอดูบัตรการเป็นตัวแทนกับคนที่ติดต่อ ซึ่งในบัตรจะมีรูปและชื่อของตัวแทนอยู่ในบัตร
  4. ในการติดต่อขายประกัน ตัวแทนที่ติดต่อ จะต้องแนะนำตัวว่า “ชื่ออะไร เป็นตัวแทนประเภทไหน บริษัทไหน และจะเสนอขายประกันอะไร” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง คปภ. ได้กำหนดไว้ ลองดูว่ามีการแนะนำแบบนี้ไหม
  5. หากเช็คทุกอย่างถูกต้องหมดแล้วและมาถึงขั้นตอนการชำระเงินค่าเบี้ยประกัน ควรตรวจสอบ ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชี ห้ามโอนเงินเข้าบัญชีที่เป็นชื่อบุคคลอย่างเด็ดขาด ควรเป็นชื่อบัญชีของบริษัทหรือชื่อนิติบุคคลเท่านั้น
  6. เว็บไซต์ของบริษัทที่เป็นนายหน้าขายประกันรถ ต้องมีตราการรับรองจาก คปภ. และ DBD Registered ด้วย
  7. หากมีข้อสงสัยโทรสอบถามสายด่วนประกันภัย 1186 (ในเวลาราชการ)

เมื่อตรวจสอบทุกอย่างครบถ้วนแล้วโดยปกติจะได้รับกรมธรรม์หลังชำระเบี้ยประกัน 15 วัน หากยังไม่ได้อย่านิ่งนอนใจควรโทรสอบถาม หรือถ้าได้รับแล้วให้เช็คกับทางบริษัทประกันที่ทำอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจ แค่นี้คุณก็จะปลอดภัยจากการถูกหลอกแล้ว

แต่สำหรับ รู้ใจ คุณสามารถวางใจได้เพราะเราคือผู้ให้บริการด้านประกันภัยรถยนต์ออนไลน์รูปแบบใหม่ โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และรับประกันโดยกรุงไทยพานิชประกันภัย ในเครือของธนาคารกรุงไทย สามารถตรวจสอบได้ ทั้งยังมีหลากหลายความคุ้มครองที่มุ่งเน้นให้ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด