หลายคนมองว่ามี “ประกันภัยรถยนต์” ช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการขับขี่ได้ดี จึงทำให้มองข้ามประเด็นสำคัญของการเคลมประกันรถยนต์ไปอย่างน่าเสียดาย ไม่ว่าจะเป็นเคลมประกันรถได้กี่ครั้ง? ส่วนลดประกันภัยรถยนต์ประวัติดี และอื่น ๆ ที่ล้วนส่งผลต่อ “ผลประโยชน์” ที่คุณจะได้รับโดยตรง เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ไปแบบไม่รู้ตัว ตามรู้ใจไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมพร้อม ๆ กันเลย
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- วิธีเคลมประกันมีกี่แบบ อะไรบ้าง?
- เราสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้กี่ครั้ง?
- เคลมประกันรถยนต์บ่อย ๆ ได้หรือเปล่า?
- การแจ้งเคลมจะมีผลต่อเบี้ยประกันปีต่อไปยังไง?
- ชนแบบนี้ แจ้งเคลมหรือไม่แจ้งดีกว่ากัน?
วิธีเคลมประกันมีกี่แบบ อะไรบ้าง?
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งมีรถ ยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุมาก่อน อาจไม่รู้ว่ามีวิธีเคลมประกันอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบเคลมสด และแบบเคลมแห้ง โดยทั้งสองมีรายละเอียดแยกย่อยที่ต่างกัน ดังนี้
วิธีการเคลมสด
วิธีเคลมประกันแบบแรกคือการเคลมประกันรถยนต์แบบสด คือ การเคลมประกัน ณ ที่เกิดเหตุ โดยจะมีพนักงานของทางบริษัทประกันเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุทันที โดยแยกได้อีก 2 กรณี ดังนี้
1. เคลมประกันแบบมีคู่กรณี
คือ กรณีรถชนรถด้วยกันเอง ฝ่ายผิดในอุบัติเหตุจะต้องจ่าย “ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible)” ตามที่ตกลงไว้กับบริษัทประกัน ในทางกลับกันหากคุณเป็นฝ่ายถูกหรือคนที่เสียหายไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก
2. เคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี
คือ กรณีที่รถชนกับสิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ จนเกิดความเสียหาย เช่น ชนฟุตบาท ชนต้นไม้ ชนรั้ว เป็นต้น หรือการตามคู่กรณีไม่ได้ เช่น ชนแล้วหนี ในกรณีนี้ผู้เอาประกันจะต้องจ่าย “ค่าเสียหายส่วนแรก (Excess)”
วิธีการเคลมแห้ง
วิธีเคลมประกันแบบแห้ง คือ การเคลมประกันหลังจากที่เกิดเหตุไปแล้วระยะหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีรถเฉี่ยวชน ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย โดยผู้เอาประกันจะต้องเป็นฝ่ายบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ว่าชนกับอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน แล้วจึงแจ้งเคลมประกันกับบริษัทประกันด้วยตัวเอง โดยมีขั้นตอนการเคลมประกันดังนี้
- ถ่ายรูปหลักฐาน ณ ที่เกิดเหตุ ความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงบันทึกเวลา สถานที่ให้ชัดเจน
- ติดต่อไปยังศูนย์ประกันเพื่อแจ้งความเสียหาย จากนั้นจะมีการนัดตรวจสอบสภาพรถ ว่าเสียหายจริงตามที่แจ้งหรือไม่
- เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะออกใบรับรองความเสียหายจากอุบัติเหตุ (ใบเคลม) ให้ ผู้เอาประกันสามารถนำไปส่งเคลมกับอู่ซ่อมในเครือ หรือศูนย์ซ่อมของบริษัทได้ทันที
หมายเหตุ: การเคลมประกันแบบแห้ง อาจมีค่าใช้จ่ายส่วนแรกก่อน ประมาณ 1,000-4,000 บาท ตามแต่ตกลงกับบริษัทประกัน
นอกจากนี้วิธีเคลมประกันแบบแห้งยังมีกรณีพิเศษ คือ “เคลมรอบคัน” ซึ่งจะทำการเก็บรายละเอียดต่าง ๆ รอบคันให้กับรถยนต์คันที่เอาประกัน แต่การเคลมประกันรถแบบนี้จะทำได้เฉพาะรถที่ทำประกันรถยนต์ ชั้น 1 เอาไว้เท่านั้น
เราสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้กี่ครั้ง?
หนึ่งในคำถามที่คนมีรถหลายคนสงสัย โดยเฉพาะคนที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ คือ “สามารถเคลมประกันรถได้กี่ครั้งต่อปี” ในความเป็นจริงแล้วการเคลมประกันรถยนต์ ไม่มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเคลมต่อปีแต่อย่างใด ผู้เอาประกันสามารถเคลมได้ตามความจำเป็น หรือเห็นสมควร แต่ถ้าเคลมบ่อยมากเกินไป อาจมีสิ่งที่ตามมามากมาย จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย
เคลมประกันรถยนต์บ่อย ๆ ได้หรือเปล่า?
แม้ว่ารถยนต์ที่ทำประกันเอาไว้ จะไม่มีข้อจำกัดในการเคลมประกันกี่ครั้งต่อปี แต่ถ้าเคลมบ่อย เคลมถี่เกินไป อาจมีสิ่งอื่น ๆ ต่อไปนี้ตามมาได้
- บางกรมธรรม์อาจมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น จำกัดวงเงินความคุ้มครองรวมต่อปี
- ส่งผลต่อเบี้ยประกันในปีต่อไป รวมถึงบริษัทประกันอาจพิจารณาปรับเพิ่มเบี้ย หากมีประวัติการเคลมสูง
- การเคลมประกันรถบ่อย ๆ อาจทำให้เสียสิทธิ์ส่วนลดประวัติดีในปีถัดไปได้
การแจ้งเคลมจะมีผลต่อเบี้ยประกันปีต่อไปยังไง?
การแจ้งเคลมจะมีผลต่อเบี้ยประกันปีถัดไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของการแจ้งเคลม โดยหากคุณแจ้งเคลมว่าคุณเป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีคู่กรณี จะมีผลต่อส่วนลดประวัติดี (No Claim Bonus หรือ NCB) ของคุณ
โดยส่วนลดประวัติดีคือ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยที่ตอบแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่มีประวัติการขับขี่ดี (เช่น ไม่มีการเคลมประกันจากกรณีที่เป็นฝ่ายผิด)
ตัวอย่างเช่น
- หากในปีนี้คุณมีส่วนลดประวัติดี (NCB) ที่ 0%
- หากไม่มีการเคลมในปีแรก ส่วนลดประวัติดี (NCB) จะเพิ่มเป็น 20% ในปีถัดไป
- หากไม่มีการเคลมเป็นเวลา 2 ปี ส่วนลดประวัติดี (NCB) จะเพิ่มเป็น 30% ในปีถัดไป
- หากไม่มีการเคลมเป็นเวลา 3 ปี ส่วนลดประวัติดี (NCB) จะเพิ่มเป็น 40% ในปีถัดไป
- หากไม่มีการเคลมเป็นเวลา 4 ปี ส่วนลดประวัติดี (NCB) จะเพิ่มเป็น 50% ในปีถัดไป
หากคุณไม่แจ้งเคลมเลย ส่งผลต่อเบี้ยประกันยังไง?
หากคุณไม่แจ้งเคลมเลย ส่วนลดประวัติดีก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้เมื่อต่อประกันก็จะมีส่วนลดเพิ่มขึ้น เบี้ยประกันก็อาจจะถูกลงมาเพราะมีส่วนลด
แจ้งเคลมบ่อย ส่งผลต่อเบี้ยประกันยังไง?
สำหรับการแจ้งเคลมบ่อย เพื่อการอธิบายที่เข้าใจง่ายมากขึ้น ต้องแบ่งเป็น 2 กรณี
- แจ้งเคลมกรณีที่คุณเป็นฝ่ายถูกหรือเป็นฝ่ายที่ไม่ต้องรับความผิดจากเหตุการณ์นั้น ๆ แบบนี้ไม่มีผลต่อส่วนลดประวัติดี
- แจ้งเคลมกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด หรือชนแบบไม่มีคู่กรณี มีผลต่อส่วนลดประวัติดี โดย NCB จะลดลงตามลำดับขั้น
ตัวอย่างเช่น
- หากส่วนลดประวัติดี (NCB) ของคุณอยู่ที่ 30% และคุณแจ้งเคลมโดยเป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีคู่กรณี จะส่งผลให้ส่วนลดประวัติดี (NCB) ในปีถัดไปจะลดลงเหลือ 20% (ลดลงไป 1 ขั้น)
- นอกจากนี้ หากคุณแจ้งเคลมโดยเป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีคู่กรณีมากกว่า 2 ครั้ง และมูลค่าการเคลมเกิน 200% ของเบี้ยประกัน NCB จะลดลง 2 ขั้น ซึ่งหมายความว่า ในการต่อประกันส่วนลดประวัติดี (NCB) ของคุณจะเหลือ 0%
ชนแบบนี้ แจ้งเคลมหรือไม่แจ้งดีกว่ากัน?
สรุปแล้วการเคลมบ่อยนอกจากทำให้เบี้ยประกันปีหน้าเพิ่มขึ้น ยังลดส่วนลดประวัติดีอีก แล้วชนแบบไหนที่เราควรเคลมประกันรถยนต์ หรือไม่ควรเคลมเพื่อรักษาเบี้ยประกันราคาดี ๆ เอาไว้
- รถชนแล้วเป็นฝ่ายถูก – หากเกิดรถชนแล้วเราไม่ใช่ฝ่ายต้องรับผิด ไม่ว่าชนเล็กแค่นิดเดียวหรือชนแรง แบบนี้แจ้งเคลมประกันรถยนต์กับบริษัทประกันเลย เพราะนอกจากจะไม่เสียค่าเสียหายส่วนแรกแล้ว บริษัทประกันจะเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยและช่วยเรียกค่าเสียหายให้กับเรา
- ชนแล้วหนี หาคู่กรณีไม่เจอ และชนสิ่งของ – สำหรับรอยเล็ก ๆ หรือโดนชนนิดเดียว หรือไม่สามารถหาคู่กรณีได้ แบบนี้ให้คิดจากค่าเสียหายส่วนแรกที่เลือกไว้ + ส่วนลดประวัติดีที่จะเสียไป ว่าคุ้มค่าหรือไม่ เช่น
- ตอนทำประกันเลือกค่าเสียหายส่วนแรกไว้ 5,000 บาท แต่ค่าซ่อมรถแค่ 3,000 บาท แบบนี้ไม่คุ้มที่จะแจ้งเคลม
- หากค่าซ่อมรถ 10,000 บาท เลือกค่าเสียหายส่วนแรกไว้ 5,000 บาท สมมติว่าปัจจุบันกรมธรรม์มีส่วนลดประวัติดี 30% หากปีนี้ไม่เคลม นั้นคือปีหน้าจะได้รับส่วนลดเพิ่มอีก 10% เป็น 40%
- ประเมินค่าซ่อมรถยนต์เบื้องต้น หากเสียหายหนักหรือค่าซ่อมแพงควรเคลมประกัน แต่หากเสียหายน้อยให้ลองเทียบราคาค่าซ่อมกับส่วนลดประวัติดี 40% ในปีต่อไป
- สำหรับคนที่ไม่มีเงินก้อนหรือมีภาระเยอะ การแจ้งเคลมอาจเป็นทางออกที่ดีกว่า เพราะแม้ส่วนลดประวัติดีจะลดลง แต่การซื้อประกันสามารถผ่อนจ่ายได้ไม่เหมือนค่าซ่อมรถ
- หากเกิดอุบัติเหตุรุนแรง มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต – หากเกิดอุบัติเหตุใหญ่ กรณีแบบนี้ไม่ต้องลังเล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูกก็ควรรีบแจ้งบริษัทประกันหลังจากโทรแจ้งตำรวจและเรียกรถพยาบาลเพื่อรักษาผู้บาดเจ็บ
รู้มั้ย? แค่ติดกล้องหน้ารถ รู้ใจลดเบี้ย 10%
นอกจากส่วนลดประกันภัยรถยนต์ประวัติดี หรือการเลือกเคลม-ไม่เคลมประกันรถยนต์ ยังมีส่วนลดประกันรถยนต์แบบอื่น และหนึ่งในนั้นที่ทำง่าย ได้ส่วนลดทันที คือการติดตั้งกล้องหน้ารถ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ บนท้องถนน หากเกิดอุบัติเหตุก็สามารถนำภาพมาเป็นหลักฐานได้ นอกจากจะดีกับเราแล้ว ยังเป็นหลักฐานที่ดีกับการสืบสวนคดี และขั้นตอนการเคลมประกันของบริษัทอีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปจะช่วยส่วนลดเบี้ยตั้งแต่ 5-10% แต่สำหรับประกันรถที่รู้ใจให้ส่วนลดถึง 10%
เชื่อว่ามือใหม่หลายคนคงพอเข้าใจเกี่ยวกับการเคลมประกันรถยนต์บ้างแล้ว โดยเฉพาะการเคลมประกันรถยนต์บ่อย ๆ และไม่เคยเคลมประกันรถ ทั้ง 2 แบบมีผลอะไรตามมาบ้าง รวมถึงการได้รับส่วนลดประกันภัยรถยนต์ ประวัติดี และส่วนลดอื่น ๆ ที่ช่วยให้คุณประหยัดได้มากกว่า
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ภาวะคับขัน | เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตัวเรา |
ผู้เอาประกัน | คนที่ทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกัน เป็นผู้จ่ายเบี้ยประกัน หรือเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ |