Roojai

เปิดร้านรถเช่า แล้วผู้เช่าทำรถหาย-ไม่คืนรถ! ประกันคุ้มครองมั้ย?

ประกันคุ้มครองหรือไม่ เมื่อผู้เช่าทำรถหายหรือไม่ยอมคืนรถ | รู้ใจ

หนึ่งในปัญหาน่าหนักใจของบริษัทรถเช่า คงเป็นอื่นใดไปไม่ได้นอกจาก ผู้เช่าทำรถหาย หรือเช่ารถขับแล้วไม่คืนรถ แม้ว่ารถที่ปล่อยเช่าจะทำประกันเอาไว้ ยังไม่รู้ว่าประกันจะคุ้มครองหรือเปล่า เรียกได้ว่ามืดแปดด้านไปหมด แต่รู้ใจลิสต์รายละเอียดต่าง ๆ มาให้บริษัทเช่ารถได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมแล้ว จะมีอะไรบ้าง และเป็นประโยชน์ยังไง ตามไปดูกันเลยดีกว่า

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเปิดธุรกิจรถเช่า?

การทำธุรกิจรถเช่าหรือเปิดบริษัทเช่ารถ ใช่ว่ามีรถให้ลูกค้าเช่าแล้วจบ รับค่าเช่า ปล่อยเช่าต่อ  แต่จริง ๆ ยังมีเรื่องที่ควรรู้อีกเพียบ หากคุณคิดอยากจะทำธุรกิจประเภทนี้ ตามไปทำความเข้าใจสิ่งที่ต้องรู้กันก่อนเลยดีกว่า

  1. ศึกษาความต้องการของตลาดลูกค้า  – ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น คือ “ลูกค้า” แต่ลูกค้าจะหาธุรกิจของคุณเจอหรือไม่ แล้วคุณจะมีรถตรงตามที่พวกเขาต้องการมั้ย? นี่คือสิ่งที่คุณจะต้องไปทำการบ้าน ทั้งการตลาด การประชาสัมพันธ์ และสเปกรถนอกจากจะโดนใจแล้ว ราคายังต้องเท่าเทียมด้วย
  2. ปล่อยเช่ารถชั่วคราว ระยะสั้น – ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจรถเช่าค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยว ที่มีบริษัทให้เช่ารถเปิดให้บริการมากมาย มีรถหลายแบบให้เลือก แถมราคายังหลากหลายตามไปด้วย หากคุณต้องการแข่งขันกับคนอื่น ๆ ให้ได้ สิ่งที่ต้องวางแผนคือ “ความแตกต่าง” หรือ “สร้างความสนใจ” จนทำให้ใคร ๆ หันมาอยากเช่ารถขับกับคุณ
หากเช่ารถขับแล้วทำหายต้องรับผิดชอบยังไง | รู้ใจ

และทั้งหมดนี้คือ “ข้อควรรู้ก่อน” ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพราะลูกค้าหลายคนไม่ได้มองแค่ว่า “มีรถให้เช่าแล้วจบ” แต่พวกเขายังต้องการรถที่ตอบโจทย์ ราคาสบายกระเป๋า และสถานที่รับ-ส่งรถที่สะดวกสบาย หากคุณสามารถแก้โจทย์ตรงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจของคุณจะไปได้สวยแน่นอน

ความเสี่ยงที่บริษัทรถเช่าต้องแบกรับ มีอะไรบ้าง?

สำหรับความเสี่ยงที่บริษัทรถเช่า รวมถึงธุรกิจรถเช่าขนาดเล็กต้องแบกรับ หลัก ๆ แล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 ความเสี่ยง การทำความเข้าใจเอาไว้ก่อน จะช่วยให้คุณรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง? ตามไปดูกันเลย

1. รถให้เช่ามีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ หรือรถหาย

ความเสี่ยงอันดับต้น ๆ ที่เจ้าของบริษัทรถเช่าต้องแบกรับ แถมยังเป็นความเสี่ยงที่ยากจะเลี่ยง คือ รถเกิดอุบัติเหตุหรือหาย ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดควรทำข้อตกลงความรับผิดชอบในการให้บริการ และต้องทำประกันรถยนต์ที่รองรับในส่วนนี้ไว้ด้วย โดยเฉพาะประกันรถหาย

2. อาจเกิดวิกฤติที่ทำให้อัตราการเช่าต่ำ

แม้ว่าในช่วงหนึ่งธุรกิจจะเป็นไปได้ด้วยดี มีคนเช่ารถขับเยอะมาก ๆ แต่มีโอกาสที่จะเจอวิกฤติได้เช่นกัน เช่น เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้การท่องเที่ยวซบเซาที่อาจทำให้อัตราการเช่าต่ำตามไปด้วย

3. รถเช่าตกรุ่นไว

อีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องทำใจไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คือ รถตกรุ่นไว เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รถเปลี่ยนรุ่นใหม่ไวมาก ๆ จึงทำให้ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย บางครั้งหากรถไม่ตรงตามที่ต้องการ เช่น รถรุ่นเก่าเกินไป ฟังก์ชันไม่ตอบโจทย์ โอกาสที่จะถูกเช่าก็น้อยลงตาม

ความเสี่ยงทั้ง 3 ข้อที่เรานำมาบอกต่อ บอกเลยว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือบางครั้งแทบจะเกิดพร้อมกันทั้งหมดก็เป็นไปได้ ดังนั้นในฐานะเจ้าของธุรกิจควรหาแนวทางรับมือให้ดี เพื่อป้องกันปัญหาใหญ่ที่อาจตามมาในอนาคตได้

ประกันรถยนต์ชั้นไหน คุ้มครองรถหายบ้าง?

รถยนต์เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความเสี่ยงถูกโจรกรรม ยิ่งต้องจอดในที่ลับตาคนบ่อย ๆ ก็ยิ่งเสี่ยง แล้วประกันที่คุ้มครองรถหาย มีในความคุ้มครองประกันรถยนต์ ดังนี้

  • ประกันรถยนต์ชั้น 1
  • ประกันรถยนต์ชั้น 2+
  • ประกันรถยนต์ชั้น 2

ประกันที่คุ้มครองรถหาย คุ้มครองอะไรบ้าง? คำตอบคือ คุ้มครองความเสียหายของรถจากการถูกโจรกรรม เช่น มีคนพยายามงัดรถและยังไม่ได้รถไป แต่รถเกิดความเสียหาย ประกันก็คุ้มครอง หรือ รถหายไปทั้งคัน อาจตามกลับมาได้หรือไม่ได้ก็ตาม ประกันรถหายก็ให้ความคุ้มครอง

ผู้เช่าทำรถหาย ไม่ยอมคืนรถ แบบนี้เคลมประกันรถได้มั้ย?

หาก “ผู้เช่ารถขับ” ทำรถหาย ไม่นำรถมาคืน แบบนี้จะเข้าข่ายลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์จากบุคคลอื่นอย่างชัดเจน ในส่วนนี้หากทำประกันชั้น 1 2+ และ 2 ซึ่งมีความคุ้มครองรถหายเอาไว้ บริษัทประกันภัยไม่สามารถปฏิเสธความคุ้มครองได้ หมายความว่าเจ้าของบริษัทเช่ารถมีสิทธิ์แจ้งเคลมประกันได้นั่นเอง

ความเสี่ยงที่ร้านรถเช่าต้องรู้ | รู้ใจ

เมื่อผู้เช่าไม่คืนรถ วิธีจัดการเบื้องต้นยังไงบ้าง?

หนึ่งในประเด็นที่บริษัทรถเช่าสงสัยกันมากที่สุด คือ รถหาย ทํายังไง ส่วนใหญ่บริษัทรถเช่าจะมีมาตรการจัดการหลัก ๆ ดังนี้

ผู้เช่าไม่นำรถมาคืน

หากเกิดเหตุการณ์ที่ผู้เช่าเจตนาไม่คืนรถเช่า ณ สถานที่ตามเวลาที่ตกลงกันไว้ ติดต่อไม่ได้ หรือใด ๆ ก็ตาม บริษัทอาจดำเนินการทางกฎหมาย เช่น แจ้งความรถหาย/แจ้งความคดีอาญา เป็นต้น

 และบริษัทอาจใช้ทุกมาตรการที่จำเป็นต่อการหาที่อยู่ของรถเช่าคันดังกล่าว เช่น ติดต่อครอบครัว ญาติ คนที่ทำงาน รวมถึงการใช้ GPS ในการติดตาม

ผู้เช่าไม่นำรถมาคืนเพราะภัยพิบัติตามธรรมชาติ

กรณีที่ผู้เช่านำรถมาคืนไม่ได้เนื่องจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ หรือเหตุสุดวิสัยใด ๆ ก็ตาม ผู้ขับขี่/ผู้เช่าต้องติดต่อบริษัทรถเช่าทันที

เช่ารถมาแล้วทำรถหาย ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง?

แน่นอนว่าการเช่ารถขับ ผู้เช่าจำเป็นต้องระมัดระวังดูแลรถให้ดีในการใช้งานโดยเฉพาะเรื่องรถหาย เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา ผู้เช่าต้องชำระค่าเสียหายร้อยละ 20 ของราคารถยนต์ที่ประเมินไว้ หรือส่วนต่างค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่บริษัทประกันภัยไม่คุ้มครอง โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าชดเชยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ (อ้างอิงจากข้อตกลงให้เช่าของรถเช่า เชียงใหม่ ราคาถูก)

นอกจากผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบในกรณีรถหายแล้ว หากทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย เป็นรอยด้านนอกตัวรถ ผู้เช่าจะต้องเป็นฝ่ายจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเมื่อส่งซ่อมด้วย มากไปกว่านั้นหากค่าซ่อมเกินกว่าค่าประกันภัยที่คุ้มครองตามกรมธรรม์ ผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเองทั้งหมด

หากคุณสนใจจะเปิดบริษัทเช่ารถ และไม่อยากแบกรับความเสี่ยงมากเกินไป นอกจากจะทำ “สัญญาเช่า” ให้รัดกุมแล้ว ยังควรซื้อ “ประกันภัยรถยนต์สำหรับรถเช่า” ด้วย ซึ่งหลัก ๆ แล้วมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท แนะนำให้เช็คความคุ้มครองให้ดี ตรวจสอบความคุ้มครองอย่างถี่ถ้วนว่าแบบไหนตอบโจทย์ธุรกิจของคุณได้มากกว่า เพียงเท่านี้คุณจะได้ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงมากเกินความจำเป็นแล้ว

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ลักทรัพย์ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยต้องการจะครอบครองทรัพย์นั้นไว้ เพื่อตนเองเอาไปขายหรือให้กับบุคคลอื่น
ยักยอก การนำเงิน สินค้า หรือทรัพย์สินของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ใช้ในงาน หรือการใช้เวลาการปฏิบัติงานของหน่วยงานมาใช้ เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง