Roojai

แบตเตอรี่รถไฟฟ้าแต่ละรุ่นราคาเท่าไหร่ ประกันคุ้มครองมั้ย?

ราคาแบตรถไฟฟ้า EV แต่ละแบรนด์ยอดนิยม | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

ในยุคที่น้ำมันราคาแพงยิ่งกว่าอะไร ทำให้ยุคนี้กลายเป็น “ยุคทอง” ของรถยนต์ไฟฟ้าไปโดยปริยาย แต่ในทางกลับกัน การที่แบตเตอรี่รถไฟฟ้ามีราคาแพงจึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจสักที เพราะส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญตัวรถเหมือนขุมพลังชั้นเยี่ยม ช่วยให้รถวิ่งไปได้โดยปราศจากมลพิษ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่จะแพงจริงหรือไม่ และประกันจะคุ้มครองมั้ย ด้านล่างนี้เลย

แบตเตอรี่รถไฟฟ้าคืออะไร ทำไมราคาสูง?

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า คือ “หัวใจหลัก” ของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ เนื่องจากเป็นขุมพลังที่ใช้ในการขับเคลื่อน ของรถยนต์ประเภทนี้ รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้แบต Lithium Ion เป็นแบตฯ ที่มีต้นทุนที่สูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

แต่ถึงอย่างนั้นรถยนต์ไฟฟ้ายังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นเพราะอะไรกันล่ะ? ตามรู้ใจไปเจาะลึกรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ข้อดี ข้อเสีย กันตัดสินใจซื้อสักคันกันดีกว่า

รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ข้อดีมีอะไรบ้าง?

  • รถแบตเตอรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้แบต Lithium Ion เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ “แหล่งกำเนิดพลังงาน” และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีขนาดเล็กลงมา แต่กลับให้พลังงานได้มากขึ้น อายุการใช้งานสูง น้ำหนักเบา แถมเป็นเซลล์แห้งไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ
  • ค่าไฟ “ถูกกว่า” ค่าน้ำมันมาก เนื่องจากมีราคาคงที่และถูกกว่า ในขณะเดียวกันค่าน้ำมันกลับมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา
  • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยกว่า เพราะตัดเรื่องของเหลวหรือชิ้นส่วนเครื่องยนต์ออกไป
  • การใช้งานค่อนข้างยาวนาน เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปถือว่าคุ้มทุนกว่ามาก
  • ลดการสร้างมลพิษเพราะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ข้อเสียหรือข้อจำกัดมีอะไรบ้าง?

  • จุด/สถานีชาร์จแบตรถไฟฟ้ายังไม่ค่อยแพร่หลาย และส่วนใหญ่ยังเป็นสถานีจ่ายไปแบบ AC ที่ใช้เวลาชาร์จค่อนข้างนาน
  • เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่จอดรถภายในบ้าน เพราะต้องมีการจอดชาร์จแบตรถไฟฟ้า
  • “ความจุของแบตเตอรี่” ส่งผลให้มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง หากจะใช้แบตที่จุได้มาก ต้นทุนและค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • มูลค่าเมื่อขายต่อเป็นรถมือสองอาจลดลงมากกว่ารถสันดาป
ค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า  | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

แบตเตอรี่รถไฟฟ้าราคาเท่าไหร่?

ต้องบอกก่อนว่าราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าของรถแต่ละรุ่น แตกต่างกันจากมาตรฐานการผลิตของรถแต่ละค่ายไปจนถึงขนาดตัวแบตฯ ที่ส่งผลต่อขนาดพลังงานที่ปล่อยออกมาสำหรับตัวรถ รู้ใจได้ลิสต์ราคาของรุ่นรถ EV ยอดนิยมมาให้ดูคร่าว ๆ จะมีราคาเท่าไหร่บ้างนั้น ไปดูกันเลย

  • MG 4 Electric ราคาของแบตเตอรี่อยู่ที่ 525,000 บาท
  • New MG ZS EV ราคาของแบตเตอรี่อยู่ที่ 450,000 บาท
  • MG EP ราคาของแบตเตอรี่อยู่ที่ 450,000 บาท
  • ORA GOOD CAT ราคาของแบตเตอรี่อยู่ที่ 445,000-580,000 บาท
  • BYD DOLPHIN ราคาของแบตเตอรี่อยู่ที่ 528,730-656,030 บาท
  • NETA V ราคาของแบตเตอรี่อยู่ที่ 420,000 บาท
  • FOMM ONE ราคาของแบตเตอรี่อยู่ที่ 200,000 บาท

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า ประกันคุ้มครองมั้ย?

หากรถแบตเตอรี่ไฟฟ้าของคุณทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าเอาไว้ สบายใจหายห่วง เพราะสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. เผยแพร่ “คำสั่งนายทะเบียนที่ 47/2566 เรื่องให้ใช้แบบ ข้อความ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า” ซึ่งครอบคลุมรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ โดยไม่รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่ดัดแปลงมาจากรถยนต์สันดาป

ใจความสรุปได้ว่า กรณีที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย จนถึงต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ยกชุด บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของแบตเตอรี่ตามปีอายุการใช้งานนั้น ๆ เริ่มนับจากวันที่มอบรถยนต์จากผู้จำหน่ายรถยนต์ หรือวันที่ตามเอกสารประกันแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายรถยนต์ แล้วแต่วันใดเกิดขึ้นก่อน

โดยระบุอัตราการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

  • รถอายุไม่เกิน 1 ปี ชดใช้ 100% ของราคาแบตใหม่
  • รถอายุเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ชดใช้ 90% ของราคาแบตรถยนต์ไฟฟ้าใหม่
  • รถอายุเกินกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ชดใช้ 80% ของราคาแบตรถยนต์ไฟฟ้าใหม่
  • รถอายุเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี ชดใช้ 70% ของราคาแบตรถยนต์ไฟฟ้าใหม่
  • รถอายุเกินกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ชดใช้ 60% ของราคาแบตรถยนต์ไฟฟ้าใหม่
  • รถอายุเกินกว่า 5 ปี ขึ้นไป ชดใช้ 50% ของราคาแบตรถยนต์ไฟฟ้าใหม่

ประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่รู้ใจ คุ้มครองแบตเตอรี่รถไฟฟ้าสูงสุด 100% สามารถเลือกได้ทั้งประกันชั้น 1 2 และ 3 ปรับความคุ้มครองตามใจ คุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ทั้งอุบัติเหตุ น้ำท่วม รถหาย รถถูกขโมย ภัยธรรมชาติ จะไปไหนก็อุ่นใจมีประกันรถไฟฟ้า EV ที่รู้ใจดูแล

ประกันรถยนต์ไฟฟ้าคุ้มครองแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่  | ประกันรถยนต์ไฟฟ้า | รู้ใจ

แบตรถยนต์ไฟฟ้าใช้งานได้นานแค่ไหน?

ตามปกติแล้วแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานได้ยาวนานถึง 10 – 20 ปี โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งอาจทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้นลงไปกว่านั้นได้ เช่น แบตเตอรี่อาจเสื่อมสภาพเร็วขึ้นในสภาพอากาศที่ร้อน แบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าจึงมีระบบ battery thermal management system คอยรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในไทยส่วนใหญ่มีการรับประกันอย่างน้อย 8 ปี หรือประมาณ 150,000 – 180,000 กิโลเมตร และขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันของแต่ละแบรนด์ด้วย

ปัจจัยที่มีผลต่ออายุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?

แม้ว่าแบตรถไฟฟ้าแต่ละประเภท จะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างยาวนาน แต่ไม่เป็นไปตามนั้นเสมอไป เนื่องจากยังมี “ปัจจัย” อีกมากมาย ที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถไฟฟ้าอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็น

  1. รอบการชาร์จ หากรอบการชาร์จรถแบตเตอรี่ไฟฟ้ามากขึ้น จะทำให้แบตเตอรี่รถไฟฟ้าเก็บไฟได้น้อยลง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ลิเทียมจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3,000 รอบการชาร์จขึ้นไป หรือประมาณ 10 ปี
  2. ระบบชาร์จไฟ ปัจจุบันระบบชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ การชาร์จไฟฟ้าที่บ้านผ่าน Wallbox (AC) และการชาร์จที่สถานีรถยนต์ไฟฟ้า (DC) แต่การชาร์จ DC บ่อย จะทำให้แบตเตอรี่รถไฟฟ้ามีโอกาสเสื่อมสภาพสูง อายุการใช้งานลดลง
  3. อุณหภูมิ หนึ่งในปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก แต่กลับมีผลต่ออายุการใช้งานแบตเตอรี่รถไฟฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อใดที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป อาจมีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถไฟฟ้า กรณีที่แบตรถไฟฟ้าร้อนเกินไปอาจเสี่ยงต่อการระเบิด แต่ถ้าอากาศหนาวหรือเย็นเกินไปจะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพลดลง

อาการแบตรถไฟฟ้าเสื่อมเช็คยังไง รู้ใจมีมาบอก!

ด้วยความที่ราคาแบตเตอรี่รถไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูง หากต้องเปลี่ยนใหม่อาจมีปาดเหงื่อ แต่จะปล่อยไว้แล้วใช้รถแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่แบตเสื่อมไปเรื่อย ๆ คงไม่ดีแน่ แต่จะมีวิธีเช็คยังไงไปดูกันเลย

  • ชาร์จแบตรถไฟฟ้าเต็มเร็วเกินไป เนื่องจากประสิทธิภาพความจุไฟฟ้าในแบตลดลง
  • ชาร์จเต็ม 100% แต่กลับวิ่งได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจากตัวเก็บประจุไฟของแบตเตอรี่รถไฟฟ้าเสื่อมคุณภาพ
  • ประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่แย่ลง เพราะความสามารถในการเก็บไฟของแหล่งพลังงานลดลง
  • ใช้เวลาชาร์จแบตรถไฟฟ้านานกว่าปกติ ด้วยเหตุผลว่าความสามารถในการเก็บไฟลดน้อยลง

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า vs แบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป ต่างกันยังไง?

  • แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า จะใช้ไฟฟ้า 100% เป็นแหล่งพลังงานที่จ่ายให้กับทุกส่วนของรถ ”เพื่อขับเคลื่อน” แถมยังสามารถชาร์จไฟได้เร็วกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปค่อนข้างมาก (DC) มีความทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า
  • แบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป จะให้พลังงานเท่าที่จำเป็นเพื่อระบบไฟในรถยนต์เท่านั้น เช่น ระบบแอร์ ระบบไฟส่องสว่าง แต่กลับไม่สามารถกักเก็บพลังงานไว้ได้นานเท่าที่ควร
  • แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เป็นแบตเตอรี่แบบ “ชาร์จไฟได้” ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้า ทำหน้าที่ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเข้ากับระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเมื่อเปิดใช้งาน แถมยังทำให้มอเตอร์ไซค์สามารถขับเคลื่อนได้ (แทนการใช้น้ำมัน) แต่ระยะทางไม่ได้ไกลเท่ากับรถยนต์ไฟฟ้า

เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจในเรื่องของแบตเตอรี่รถไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งในเรื่องของประเภท ราคา ความเสื่อม และอื่น ๆ หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากจะเป็นเจ้าของรถแบตเตอรี่ไฟฟ้าสักคัน นอกจากราคาแบตเตอรี่รถไฟฟ้าแล้ว ลองพิจารณาข้อมูลส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้คุณได้รถที่ตรงตามความต้องการและไลฟ์สไตล์มากที่สุด

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ยุคทอง ช่วงเวลา หรือสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก
ตัวเก็บประจุ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่าคอนเดนเซอร์(condenser)เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร
AC การชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge / AC Charger) การชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ ใช้กับการติดตั้งที่บ้าน ใช้เวลานานกว่า ชาร์จข้ามคืนได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแบตฯเสื่อม
DC การชาร์จรถไฟฟ้าแบบเร็ว (DC Charger) อ่านชาร์จด้วย ไฟฟ้ากระแสตรง มักใช้ในสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ใช้เวลาชาร์จสั้น เหมาะกับช่วงเวลาที่เร่งรีบ แต่อาจทำให้ตัวแบตเสื่อมไวหากชาร์จด้วยไฟฟ้าแบบ DC บ่อยเกินไป