Roojai

รถโดนลูกเห็บตกใส่ ประกันคุ้มครองมั้ย? ประกันรถแบบไหนที่คุ้มครอง

ความคุ้มครองเมื่อรถโดนลูกเห็บตกใส่ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

“ฤดูร้อน” นอกจากจะต้องระวังรถยนต์คู่ใจโดนแสงแดดแผดเผา ยังต้องคอยระวังรถโดนลูกเห็บ จากภัยธรรมชาติอย่างพายุฤดูร้อน ที่อาจสร้างความเสียหายได้อย่างคาดไม่ถึง แน่นอนว่า “ภัยธรรมชาติ” เป็นอะไรที่เลี่ยงไม่ได้ แล้วจะต้องทำยังไงให้รถของคุณรอดพ้นจากลูกเห็บ ในช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนองในฤดูร้อนกันล่ะ?

ยิ่งไปกว่านั้น ความเสียหายที่เกิดจากลูกเห็บสามารถแจ้งเคลมประกันได้มั้ย หรือต้องซื้อประกันประเภทไหน ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม รู้ใจลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลยดีกว่า

พายุลูกเห็บอันตรายต่อรถยังไง?

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา ชาวโซเชียลออกมาโพสต์คลิปเหตุการณ์พายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรงจนทำให้ลูกเห็บตกลงมาใส่รถ รถโดนลูกเห็บอย่างน่ากลัว  ผู้คนบนท้องถนนไม่สามารถขับรถฝ่าไปได้เลย ทำได้แค่นั่งดูกระจกรถค่อย ๆ แตก “แต่โชคดีที่ไม่มีใครได้รับอันตราย แถมรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายก็มี ‘ประกันชั้น 1’ ช่วยดูแล”

ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าลูกเห็บเกิดจากอะไร แล้วทำไมถึงสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สิน บ้านเรือน ร่างกาย และชีวิตได้มากขนาดนั้น รู้ใจลิสต์เรื่องน่ารู้มาให้ทำความเข้าใจคร่าว ๆ ก่อนลงลึกประเด็นสำคัญ จะน่าสนใจแค่ไหนไปดูกันเลย

ลูกเห็บเกิดจากอะไร?

หลายคนอาจสงสัยว่าลูกเห็บเกิดขึ้นได้อย่างไร? ลูกเห็บส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงที่เกิดพายุฤดูร้อน เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ “หยาดน้ำฟ้า” ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมของหยดน้ำและน้ำแข็ง ที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของฝน ลูกเห็บ หิมะ โดยลูกเห็บจะมีลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็ง ขนาด 5 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 5-50 มิลลิเมตร หรือ 0.2-2.0 นิ้ว หนาอย่างน้อย 1 มิลลิเมตร และมีรูปร่างที่ต่างกันออกไป

ความคุ้มครองเมื่อพายุลูกเห็บถล่มรถ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

เลี่ยงความเสียหายเมื่อรถโดนลูกเห็บตกใส่ยังไง?

เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2551  ความกดอากาศสูงแผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทย ปะทะกับมวลอากาศร้อนและชื้นที่ปกคลุมภาคเหนือ ประกอบกับสภาพอากาศที่ลมพัดเวียนเข้าสู่ศูนย์กลาง และมีลมทั่วทุกสารทิศพัดมาปะทะตลอดเวลา ทำให้อากาศบริเวณดอยช้าง “ยกตัว” อย่างรุนแรง จนทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง รวมถึงมีลูกเห็บตกลงมาเป็นจำนวนมาก 

จากเหตุการณ์ที่เรายกตัวอย่างเมื่อข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรที่สยบหรือยับยั้งพายุลูกเห็บได้เลย แต่คุณสามารถ “เลี่ยง” ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์คู่ใจได้ ด้วยการจอดรถในที่ร่ม พร้อมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่ารถของคุณจอดอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอกเป็นเวลานาน (จอดรถทิ้งไว้) ควรขอให้ใครสักคนเช็ครถให้คุณบ้าง

ความเสียหายจากลูกเห็บตกใส่รถ ซ่อมนานแค่ไหน?

รู้มั้ย เมื่อลูกเห็บตกใส่รถต้องใช้ระยะเวลาซ่อมนานเท่าไหร่ รู้ใจมีคำตอบ โดยระยะเวลาการจัดซ่อมความเสียหายที่เกิดจากรถโดนลูกเห็บถล่มใส่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุลูกเห็บตกลงมาและความเสียหายของรถยนต์ หากเป็นความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงปานกลาง อาจใช้เวลาซ่อมประมาณ 1-3 วัน แต่ถ้าเสียหายหนัก อาจใช้เวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นความเสียหายที่จำเป็นต้องเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อม สำหรับงานสีและเปลี่ยนแผง

วิธีรับมือเมื่อขับรถเจอลูกเห็บตกระหว่างทาง

แม้ว่าคุณจะรู้วิธีเลี่ยงความเสียหายเมื่อพายุลูกเห็บตกแล้วก็ตาม แต่ในเหตุการณ์ที่พบเจอลูกเห็บตกลงมาระหว่างที่กำลังเดินทางจนทำให้รถโดนลูกเห็บก็เป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้จะดีที่สุด

  • ห้ามออกจากรถเด็ดขาด เพราะลูกเห็บที่ตกลงมามีความเร็วสูง อาจทำให้คุณได้รับบาดเจ็บได้
  • กรณีที่บริเวณใกล้ ๆ มีสถานที่ที่ปลอดภัย เช่น ใต้สะพาน ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ให้รีบนำรถเข้าไปจอดทันที เพื่อเซฟรถของคุณจากความเสียหายจากลูกเห็บ
  • หากหาสถานที่ที่ปลอดภัยไม่ได้ แนะนำให้จอดนิ่ง ๆ และพาตัวเองออกห่างจากกระจกรถให้ได้มากที่สุด เพราะลูกเห็บที่ตกลงมาอาจทำให้กระจกรถแตกได้
  • ห้ามเปิดที่ปัดน้ำฝน เพราะลูกเห็บอาจสร้างความเสียหายให้กับก้านปัดน้ำฝนได้
วิธีรับมือเมื่อรถยนต์โดนลูกเห็บตกใส่ | ประกันรถยนต์ | รู้ใจ

พายุลูกเห็บถล่มประกันคุ้มครองมั้ย?

อย่างที่เราบอกไปตั้งแต่แรกแล้วว่า “พายุฤดูร้อน, พายุลูกเห็บ = ภัยธรรมชาติ” ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของ ประกันรถยนต์ชั้น 1 โดยให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับภัยธรรมชาติดังนี้

ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1

ถือเป็นประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแบบมีหรือไม่มีคู่กรณี รถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม รวมถึงภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ลูกเห็บตกใส่รถ ฯลฯ หากคุณทำประกันชั้น 1 ไว้ สบายใจหายห่วง รถเจ็บหนัก แผลใหญ่แค่ไหน ประกันก็คุ้มครอง

หากคุณกำลังมองหา “ตัวช่วย” ดี ๆ แม้ในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจ ต้องเผชิญหน้ากับพายุฤดูร้อน จะทำให้รถโดนลูกเห็บอย่างรุนแรง “ประกันรถที่รู้ใจ” คือคำตอบที่ดีที่สุด เช็คราคาประกันฟรี รู้ผลทันทีภายใน 60 วิ ทุนประกันสูง ลดเบี้ยสูงสุด 30% มีอู่และศูนย์ซ่อมทั่วไทย 1,600+ แห่ง เคลมง่ายผ่านวิดีโอคอลหรือเรียกเจ้าหน้าที่ถึงใน 30 นาที ให้รู้ใจช่วยดูแลคุณทุกการเดินทาง

ขั้นตอนเตรียมเอกสาร/แจ้งเคลมประกันรถ

หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์สุดสะพรึงมาได้แล้ว และพบว่ารถของคุณได้รับความเสียหายจากเหตุรถโดนลูกเห็บไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือแผลใหญ่ ให้เตรียมเอกสารสำหรับเคลมประกันดังนี้

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้

  • เอกสารตัวรถ เช่น เล่มทะเบียน และกรมธรรม์ประกันรถยนต์
  • เอกสารที่แสดงตัวว่าคุณเป็นเจ้าของรถ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่
  • หลักฐานในที่เกิดเหตุ เช่น ภาพถ่าย บันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์อย่างละเอียด หรือใบบันทึกประจำวัน

ขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์

  • ติดต่อบริษัทประกันเมื่อเกิดเหตุ “ทันที” 
  • รอเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันเดินทางมาตรวจสอบ เพื่อประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น
  • เลือกอู่หรือศูนย์ซ่อมเพื่อทำการประเมินราคา
  • รอการอนุมัติจากบริษัทประกัน
  • เมื่อเอกสารผ่านการอนุมัติ สามารถนำรถส่งซ่อมที่อู่หรือศูนย์ที่เลือกไว้ได้เลย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า รถโดนลูกเห็บหรือลูกเห็บตกใส่รถ เป็น “ภัยธรรมชาติ” มากับพายุฤดูร้อน ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะอาจสร้างความเสียหายให้กับรถยนต์อย่างรุนแรงได้ แต่คงจะดีไม่ใช่น้อยหากคุณมีตัวช่วยดี ๆ อย่างประกันภัยรถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ช่วยดูแลรถของคุณจากเหตุการณ์ลูกเห็บตกหรือทุกเหตุไม่คาดฝันได้เป็นอย่างดี หากกำลังมองหาเพื่อนคู่ใจ “รู้ใจ” พร้อมยืนเคียงข้างคุณตลอดอายุกรมธรรม์

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)

คำจำกัดความ

ภัยธรรมชาติ ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์
ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือปรากฏออกมาให้เห็น
ควบแน่น
  1. การรวมตัวกันของโมเลกุลของสารตั้งแต่ 2 โมเลกุลขึ้นไป โดยวิธีกำจัดโมเลกุลเล็ก เช่น น้ำ ออกไป
  2. กระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะจากแก๊ส หรือไอไปเป็นของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง