หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่เคยได้ยินคำว่าประมาทร่วมมาก่อน แต่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นักว่าประมาทร่วม คืออะไร มีกี่กรณี และประกันให้ความคุ้มครองมั้ย ใครต้องเป็นคนจ่ายค่าสินไหมทดแทน ทั้งกรณีประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอมรับ, ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต และกรณีอื่น ๆ รู้ใจลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันได้เลย
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- ประมาทร่วม คืออะไร?
- อุบัติเหตุแบบประมาทร่วม ใครต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ?
- ประกันประเภทไหนคุ้มครองกรณีประมาทร่วมบ้าง?
- ประมาทร่วม ต้องจ่ายค่าเสียหายอะไรเองบ้าง?
ประมาทร่วม คืออะไร?
ประมาทร่วม คือ เหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาทของทั้งสองฝ่าย จนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ในมีความหมายในทางกฎหมายประมาทร่วมว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” แปลตรงตัวได้ว่าทั้งคู่มีความประมาทจนกลายเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุ จึงต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งคู่
แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการประมาทร่วม คือ สิ่งที่ไม่มีอยู่ในข้อกฎหมาย เพราะถ้าหากมีการใช้คำว่า “ร่วม” จะแปลว่าอุบัติเหตุนั้น ๆ เกิดขึ้นมาโดย “เจตนา” ของทั้งสองฝ่าย ทำให้ต้องมีการแจกแจงคดีประมาทร่วมออกเป็นต่างคนต่างประมาทนั่นเอง
อุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทร่วม มีอะไรบ้าง?
เหตุการณ์แบบไหนที่เป็นการประมาทร่วม? สถานการณ์ที่ผิดทั้งคู่มีลักษณะยังไง? บางคนอาจนึกภาพไม่ออก มาดูตัวอย่างคดีประมาทร่วมที่พบเจอได้บ่อย ๆ
ตัวอย่างเช่น
- อุบัติเหตุที่เกิดบริเวณทางร่วมทางแยกที่ทั้งสองฝ่ายใจตรงกัน อยากไปทางเดียวกันไม่ได้นัดหมายหรือขับขี่ด้วยความเร็วทำให้เบรคไม่ทัน จนเกิดอุบัติเหตุกับอีกฝ่าย ซึ่งอีกฝ่ายอาจเป็นมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ หรืออาจมีมากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไป มักเรียกว่า “ปาร์ตี้ใหญ่”
- ประมาทร่วมแบบรถยนต์กับรถยนต์ หรือรถยนต์กับรถจักรยานยนต์ที่ขับคู่กันมา แล้วเบียดหรือปาดกัน ไม่มีใครยอมใคร ทำให้เกิดความเสียหายทั้งคู่ แบบนี้ก็เป็นการประมาทร่วมเช่นเดียวกัน
ข้อควรรู้ในการขับรถบนท้องถนน ป้องกันอุบัติเหตุจากการประมาทร่วม!
หากไม่อยากเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ประมาทร่วม จนถึงขั้นเป็นคดีประมาทร่วม หรือโดนข้อหาประมาทร่วม ควรทำความเข้าใจ “ข้อควรรู้ในการขับรถบนท้องถนน” ซึ่งจะมีอะไรที่ควรรู้บ้าง ไปดูกันเลย
- ควรเว้นระยะห่างจากรถคันข้างหน้า ‘อย่างน้อย’ 5 เมตร ต่ออัตราความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น หากคุณขับรถด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 25 เมตร
- ขณะขับรถให้พยายามมองกระจกบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น
- เมื่อขับรถอยู่ในทางโทต้องให้ทางเอกไปก่อน หรือเมื่ออยู่เลนขวา หากมีรถเร็วกว่าก็ควรหลบให้แซง
- ฝึกใช้สัญญาณเตือนให้เป็น เช่น การเปิดไฟขอทาง เพื่อเป็นสัญญาณเตือนในมุมอับให้รถอีกคันมองเห็นรถเรา
อุบัติเหตุแบบประมาทร่วม ใครต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ?
สำหรับ “ความรับผิดชอบ” เมื่อถูกตัดสินว่าเป็นคดีประมาทร่วม ส่วนใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะแยกย้ายกันไปจัดการความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมความเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล แต่บางครั้งต้องตัดสินจนถึงที่สุดว่า ในการประมาทร่วมใครประมาทมากกว่า จึงทำให้เกิดกรณีที่แยกย่อยเกิดขึ้นบ่อย ดังกรณีต่าง ๆ ดังนี้
1. ประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอมรับ
หากเกิดกรณีประมาทร่วม แล้วคู่กรณีไม่ยอม ต้องการให้เราเป็นฝ่ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเร่งด่วน รวมถึงทำการพูดจาไกล่เกลี่ย หรือใช้หลักฐานจากกล้องหน้ารถเพื่อยืนยันว่าเกิดจากการประมาทร่วมจริง
2. ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ
หากเกิดกรณีประมาทร่วม แล้วคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ ในขั้นพื้นฐานคู่กรณีจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากพรบ.รถยนต์ได้ นอกจากนี้ยังจะได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ด้วยเช่นกัน
3. ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส
ในกรณีที่เหตุถูกตีความให้เป็นประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส จะได้รับความคุ้มครองเหมือนกับกรณีได้รับบาดเจ็บ คือ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พรบ.รถยนต์ ได้ และยังได้รับความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่ทำไว้ด้วยเช่นกัน
4. ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มีพรบ.รถยนต์
หากเกิดกรณีประมาทร่วม แล้วคู่กรณีไม่มีพรบ. จะไม่ได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะไม่สามารถเบิกจาก พรบ. ของเราที่เป็นคู่กรณีประมาทร่วมด้วย ดังนั้นคู่กรณีต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
5. ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต
หากเกิดกรณีประมาทร่วม แล้วคู่กรณีเสียชีวิต ฝั่งคู่กรณีจะได้รับค่าชดเชยเบื้องต้นจากพรบ.รถยนต์ 35,000 บาท/คน ส่วนความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติม จะขึ้นอยู่กับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่ทำเอาไว้ ว่ามีเงื่อนไขค่าสินไหมทดแทนกรณี ประมาทร่วมยังไง รวมถึงประกันภัยประเภทอื่น ๆ ที่ได้สมัครไว้ก่อนหน้านี้
6. ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มีประกัน
หากเกิดกรณีประมาทร่วม แล้วคู่กรณีไม่มีประกัน จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากพรบ.รถยนต์ เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายด้านทรัพย์สิน ค่ารักษาของบุคคลภายนอก หรือค่าเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยภาคสมัครใจทั้งสิ้น
7. ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มีใบขับขี่
หากเกิดกรณีประมาทร่วม แล้วคู่กรณีไม่มีใบขับขี่ ประกันของเรายังคงให้ความคุ้มครองตามเดิม ยกเว้นก็แต่คู่กรณีที่อาจไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันของคู่กรณี แต่ยังมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองจากพรบ.รถยนต์ แม้จะไม่มีใบขับขี่ก็ตาม
ประกันประเภทไหนคุ้มครองกรณีประมาทร่วมบ้าง?
ในส่วนของประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจชั้นต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทในการให้ความคุ้มครอง จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีประมาทร่วมตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ประกันชั้น 1 คุ้มครองประมาทร่วมหรือไม่?
หากเกิดอุบัติเหตุแล้วปรากฏว่าถูกตัดสินว่าเป็นข้อหาประมาทร่วม แต่คู่กรณีทั้งสองได้ทำประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 เอาไว้ สามารถเคลมค่าซ่อมรถยนต์กับประกันของตัวเองได้เลย แต่อาจจะไม่ได้รับยอดค่าซ่อมเต็มจำนวน เนื่องจากเป็นฝ่ายผิด
ในด้านค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายเมื่อประมาทร่วม ผู้บาดเจ็บจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย โดยได้ค่าสินไหมทดแทน กรณีประมาทร่วมให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต ตามเงื่อนไขและวงเงินที่ระบุไว้
2. ประกันชั้น 2+ และ 3+ คุ้มครองประมาทร่วมหรือไม่?
คนที่มีประกันชั้น 2+ และ 3+ ก็ไม่ต้องกังวลเลยเพราะถ้าเกิดเหตุการชนรถหรือยานพาหนะทางบก ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะคุ้มครองคุณอยู่แล้ว แต่คุณจะต้องระบุคู่กรณีในที่เกิดเหตุได้ จากนั้นก็แจ้งเคลมและนำรถเข้าซ่อมได้ตามปกติ
3. ประกันชั้น 2 และ 3 คุ้มครองประมาทร่วมหรือไม่?
หากคุณทำประกันรถยนต์ชั้น 2 หรือ ชั้น 3 และเกิดเหตุการชนรถหรือยานพาหนะทางบก กรณีนี้เราต้องเสียค่าซ่อมรถของตัวเอง แต่หากมีส่วนที่คู่กรณีเสียหายและเราต้องชดใช้ให้คู่กรณี ประกันชั้น 2 และ 3 ก็ยังคุ้มครองตามปกติ
ประมาทร่วม ต้องจ่ายค่าเสียหายอะไรเองบ้าง?
อีกหนึ่งประเด็นที่หลาย ๆ คนสงสัยกันมากที่สุด คือ หากเกิดอุบัติเหตุแบบประมาทร่วมขึ้นมา มีค่าเสียหายอะไรบ้างที่ต้องจ่ายเอง แน่นอนว่าแทบทุกอย่าง เช่น ค่าซ่อมรถ, ค่ารักษาพยาบาลของตัวเองและผู้โดยสาร, ค่าเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้น, ค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะมีบุคคลที่ 3 ได้รับความเสียหาย ผู้ประมาทร่วมจะต้อง “แชร์กันจ่าย” เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ 3 (รับผิดชอบร่วมกัน)
เชื่อว่าหลายคนคงพอจะเข้าใจแล้วว่าประมาทร่วม คืออะไร แต่ละกรณีทั้งประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม, ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต และอื่น ๆ จะได้รับความคุ้มครองจากพรบ.รถยนต์ หรือประกันภาคสมัครใจยังไง แต่ในท้ายที่สุดอยากขอให้ทุกคนขับรถอย่างระมัดระวัง มีน้ำใจ และเคารพกฎหมายจราจร เพื่อป้องกันความเสียหาย และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการประมาทร่วม
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ทางร่วมทางแยก | เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อหรือตัดกันระหว่างทางหลักและทางย่อย |
ไกล่เกลี่ย | พูดจาประนีประนอมกัน, พูดจาเพื่อให้เขาตกลงกัน |