ข้อมูลที่ผู้ขับขี่หลายท่านอาจจะไม่เคยทราบ ว่าประกันรถแบบ พ.ร.บ. นอกจากที่จะต้องทำตามกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง เจ้าของรถ และบุคคลทั่วไปที่ประสบภัยจากรถหากเกิดอุบัติเหตุกรณีต่างๆได้มากมาย เช่น ข่าวนขับรถตู้หลับในพุ่งชนรถดูดฝุ่นบนโทลล์เวย์ พ.ร.บ. ช่วยชดเชย วันนี้เรามาทำความรู้จักประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ให้มากขึ้น พร้อมตัวอย่างการช่วยเหลือทดแทนผู้ประสบภัย กรณีต่างๆ กัน
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) หรือที่เรียกกันว่า “ประกันภัย พ.ร.บ.” คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถยนต์ทุกประเภท ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ. กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เข้าใจอย่างนี้แล้วก็จำเป็นต้องทำพ.ร.บ. ให้เรียบร้อยต่อเนื่องทุกปี แต่นอกจากที่กฎหมายบังคับแล้ว ควร ศึกษาความคุ้มครองดังนี้
ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.
ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน
- กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
- (ก) ตาบอด
- (ข) หูหนวก
- (ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
- (ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
- (จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
- (ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
- (ช) จิตพิการอย่างติดตัว
- (ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
- กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตาม ข้อ 2. รวมกันแล้วจะไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
- กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
- กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
นอกจากนี้ยังมีส่วนของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยกัน ซึ่งรวมถึงกรณีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย กรณีดังต่อไปนี้
- รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยมิได้จัดทำประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 30,000 บาท หากเสียชีวิต 35,000 บาท )
- รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถในขณะเกิดเหตุ เพราะถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้แล้ว
3.รถนั้นไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามที่กฎหมายกำหนดไว้
- รถนั้นมีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
- บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
- รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
กฎหมายกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น
ประโยชน์ของการประกันภัยรถยนต์
ทั้งการทำประกัน พ.ร.บ. หรือประกันรถยนต์ภาคสมัคร ถือเป็นวิธีที่ดีในการบริหารทรัพย์สิน เพราะช่วยลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติภัยหรือการสูญหายที่อาจเกิดต่อรถยนต์ของผู้เอาประกัน ช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น และไม่ทำให้เจ้าของรถต้องชดเชยความเสียหายที่อาจมากเกินรับไหว
ด้วยระบบการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ของรู้ใจ คุณสามารถเช็คเบี้ยประกันรถ และเลือกซื้อทั้ง ประกัน พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ภาคสมัครในคราวเดียวกัน เพียงคลิก “รวมประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)” ด้วยดังภาพ
ถ้ารักรถเต็มหัวใจ ให้ “รู้ใจ” ดูแลรถให้คุณ คลิก เช็คเบี้ยประกันรถ หรือโทร 02 582 8888
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oic.or.th