Roojai

​​รู้ทัน 4 สถานการณ์ที่ประกันรถยนต์เสี่ยงโดนยกเลิก!​

เหตุการณ์แบบไหนที่เสี่ยงถูกยกเลิกประกันรถยนต์ รู้ใจมีคำตอบ

รู้หรือไม่ว่า.. บางสถานการณ์อาจเสี่ยงให้รถคุณถูกยกเลิกประกันรถยนต์ หมดความคุ้มครองได้ด้วย แต่ใช่ว่าบริษัทประกันอยากจะยกเลิกประกันรถแล้วจะสามารถยกเลิกได้ทันที รู้ใจจึงได้รวบรวม “สถานการณ์” ที่ผิดเงื่อนไขประกันรถยนต์มาให้ทำความเข้าใจ และระมัดระวังคร่าว ๆ ซึ่งจะมีรายละเอียดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์แค่ไหน ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย

สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!

4 สถานการณ์ เสี่ยงโดนยกเลิกประกันรถยนต์มีอะไรบ้าง?

อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้แล้วว่า การยกเลิกประกันรถยนต์ใช่ว่าบริษัทฯ อยากทำสามารถทำได้เลย เว้นแต่ว่าผู้เอาประกันทำผิดเงื่อนไข ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

1. ข้อมูลผู้เอาประกันไม่เป็นความจริง

การทำประกันภัยรถยนต์ของทุกบริษัทจะมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวเป็นปกติอยู่แล้ว กรณีที่ผู้เอาประกันให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ไม่ว่าจะปกปิดหรือบิดเบือน หากบริษัทฯ ตรวจพบในภายหลังก็จะถูกยกเลิกประกันรถ รวมถึงไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จากบริษัทประกัน

2. เคลมประกันบ่อยเกินไป

หากใน 1 ปี ผู้เอาประกันมีประวัติการเคลมประกันบ่อย ไม่ว่าจะเคลมแห้งหรือเคลมสดบ่อยเกินไป นอกจากจะทำให้เบี้ยประกันรถในปีต่อไปสูงขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกบริษัทยกเลิกประกันรถยนต์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากบริษัทฯ ประเมินว่าผู้เอาประกันมีพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นถูก Black List ได้ด้วย

3. ประวัติการเคลมประกันผิดปกติ

ถ้าบริษัทประกันรถยนต์สังเกตเห็นถึงความผิดปกติในการเคลมประกัน หรือความไม่สมเหตุสมผล ผู้เอาประกันมีสิทธิ์โดนยกเลิกประกันรถยนต์ได้เช่นกัน รวมถึงการทุจริตด้วย โดยการทุจริตในที่นี้เหมารวมถึง “ทุกรูปแบบ” เช่น มีการทุจริตกับเจ้าหน้าที่ประกัน ผู้เอาประกันจะถูกยกเลิกประกันรถยนต์ทันที นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องและดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย

4. จ่ายเบี้ยประกันช้า

การจ่ายเบี้ยประกันช้าก็มีสิทธิ์ถูกยกเลิกประกันรถยนต์ด้วยเช่นกัน เพราะถือว่าจ่ายค่าเบี้ยไม่ครบ กรมธรรม์ไม่สมบูรณ์ ทำให้ความคุ้มครองสิ้นสุดเมื่อไม่จ่ายเบี้ยประกันตามตกลง ซึ่งตามปกติแล้วจะมีกำหนดจ่ายเบี้ยประกันช้าไม่เกิน 30 วัน หรือ 60 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท

​​วิธีรับมือเมื่อถูกยกเลิกประกันรถโดยไม่ทราบสาเหตุ | รู้ใจ​

แบบไหนที่เรียกว่าแจ้งเคลมประกันเท็จ?

หากเป็นการเคลมประกันตามปกติทั่วไป จะต้องมีการแจ้งเคลมทันทีที่รถยนต์ได้รับความเสียหาย ซึ่งทางบริษัทจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถ, ค่ารักษาพยาบาล (กรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ) รวมถึงความคุ้มครองกรณีรับผิด ซึ่งบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองกรณีใดบ้าง ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันรถยนต์ที่เลือกซื้อ 

แต่มีบางกรณีที่ผู้เอาประกัน ‘ตั้งใจ’ แจ้งเคลมเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบค่าเสียหายจากการซ่อมรถยนต์ของตัวเอง หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกตามข้อมูลกรมธรรม์ แต่ไม่ว่าจะเพื่ออะไรก็ถือว่าเป็นการทุจริต แต่ถ้าหากยังมองภาพไม่ออก รู้ใจจะมาอธิบายเกี่ยวกับการแจ้งเคลมประกันรถยนต์แบบผิด ๆ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ดังนี้

กรณีที่ 1 การแจ้งเคลมประกันเท็จ

รถของผู้เอาประกันถูกชนท้าย ซึ่งได้มีการเจรจารับเงินจากคู่กรณีมาแล้ว แต่ยังแจ้งเคลมประกันรถว่าถอยชนคู่กรณี เพื่อให้บริษัทฯ รับผิดชอบรถคู่กรณีด้วย กรณีนี้หากบริษัทฯ สามารถตรวจสอบได้ว่าบิดเบือนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุหรือใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิ์ที่บริษัทจะไม่อนุมัติซ่อมรถคู่กรณีได้ 

กรณีที่ 2 การแจ้งความเท็จ

กรณีนี้จะลากยาวไปถึงการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนต่อบุคคลที่ 3 หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย จะถือว่ามีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีตัวอย่างการแจ้งความเท็จ ดังนี้ 

  • แจ้งความรถสูญหายเพื่อเคลมประกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วรถคันที่เอาประกันไม่ได้สูญหายไปไหน แต่เลือกแจ้งความเท็จ บิดเบือนข้อมูลรถยนต์ แบบนี้จะนับเรื่องฉ้อโกงประกันภัยเพิ่มอีกหนึ่งกระทงด้วย
  • แจ้งความโดยเปลี่ยนตัวผู้ขับขี่ คือการแจ้งคนขับไม่ตรงกับความเป็นจริงในขณะเกิดเหตุ เนื่องจากคนขับจริง ๆ อาจไม่มีใบขับขี่ เมาสุรา หรืออื่น ๆ ซึ่งถือว่าเข้าองค์ประกอบแจ้งความเท็จ และผู้อื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหายแล้ว เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเคลมประกันหรือแจ้งความเท็จ ทางบริษัทประกันมีสิทธิ์ยื่นเรื่องคดีฉ้อโกงไปยังผู้เคลม หากได้มีการตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง รวมทั้งเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกัน หรือบุคคลที่ 3 นับเป็นคดีฉ้อโกงด้วยเช่นกัน

​​การเวนคืนกรมธรรม์ | รู้ใจ​

โดนยกเลิกประกันรถยนต์ ควรทำยังไง?

แต่ละบริษัทมีเงื่อนไขการให้บริการแตกต่างกัน แต่กรณีที่มีการแจ้งว่าประกันรถยนต์ของคุณถูกยกเลิก  แนะนำให้ทำตามขั้นตอนเบื้องต้นต่อไปนี้ 

  1. ติดต่อบริษัทประกันรถยนต์โดยตรง เพื่อทราบถึงสาเหตุของที่ถูกยกเลิก
  2. เมื่อทราบแล้ว แต่ผู้เอาประกันไม่ได้มีความผิดตามเงื่อนไข ถ้าไม่ต้องการต่อประกันสามารถ “เวนคืนกรมธรรม์” หรือ “ยกเลิกกรมธรรม์” ได้ จากนั้นค่อยเปลี่ยนบริษัทประกันใหม่

ยกเลิกประกันรถยนต์ที่มากับไฟแนนซ์ได้หรือไม่?

สำหรับประกันรถยนต์ที่มากับไฟแนนซ์ สามารถยกเลิกได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นประกันรถที่แถมมาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนนี้อาจต้องถามไฟแนนซ์ก่อน ว่าถ้าหากยกเลิกจะได้เงินคืนหรือไม่ หรือไม่ได้เงินคืนเพราะทางไฟแนนซ์อาจจะเก็บเงินส่วนนี้คืนไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ทางไฟแนนซ์กำหนด

ยกเลิกประกันรถยนต์ ได้เงินคืนหรือไม่? เท่าไหร่?

สำหรับประเด็นที่หลาย ๆ คนสงสัยว่าหากโดนยกเลิกประกันรถยนต์ ที่ผู้เอาประกันไม่ได้เป็นฝ่ายยกเลิกเอง แบบนี้จะได้เงินคืนหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายยกเลิกประกันรถยนต์ ผู้เอาประกันจะได้เงินคืนเสมอ” โดยจะได้รับเบี้ยประกันคืนตามอัตราส่วนการคืนเบี้ยประกันที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนับวันที่บริษัทได้รับเอกสารแจ้งยกเลิกเป็น “วันสิ้นสุดประกันภัย” 

และถ้าหากถามว่าจะได้เงินคืนเท่าไหร่? เมื่อยกเลิกประกันรถยนต์ อัตราคืนเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ประกันคุ้มครองไปแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้

จำนวนวันประกันภัย ร้อยละดอกเบี้ยประกันเต็มปี
​1-9 ​72%
10-19 ​​68%
20-29 ​65%
​30-39 ​63%
40-49 61%
50-59 59%
60-69 56%​
70-79 54%
80-89 52%
90-99 50%
100-109 48%
110-119 46%
120-129 44%
130-139 41%
140-149 39%
150-159 37%
160-169 35%
170-179 32%
180-189 30%
190-199 29%
200-209 27%
210-219 25%
220-229 23%
230-239 22%
240-249 20%
250-259 18%
260-269 16%
270-279 15%
280-289 13%
290-299 12%
300-309 10%
310-319 8%
320-329 6%
330-339 4%
340-349 3%
350-359 1%
360-366 0%

การถูกยกเลิกประกันรถยนต์อาจไม่ได้จบที่หมดสิทธิ์ในการได้รับความคุ้มครองเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสาเหตุที่ทำให้ถูกยกเลิกประกันรถยนต์ด้วย แน่นอนว่าถ้าจบไม่สวยอาจโดน Black List หรือฟ้องร้องค่าเสียหายเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นนอกจากจะควรซื้อประกันรถยนต์ที่ดีและเหมาะสมแล้ว ควรปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด ไม่ประมาทจะดีที่สุด 

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai) 

คำจำกัดความ

การทุจริต การกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือประพฤติชั่ว โดยมีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
บิดเบือน ทำให้ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง
ฉ้อโกง ชื่อความผิดทางอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริตด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง
Black List Black List หรือ บัญชีดำ คือ รายชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถูกปฏิเสธหรือถูกกีดกันจากกลุ่มสังคมหรือองค์กร