ประกันระบุผู้ขับขี่คนที่มองหาหรือซื้อประกันรถน่าจะเคยเห็นผ่านตามาบ้างในตอนที่ต้อง เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ คำถามก็คือ เบี้ยประกันรถยนต์ระหว่างแผนระบุผู้ขับขี่และไม่ระบุต่างกันหรือไม่ ความคุ้มครองต่างกันหรือเปล่า? เพื่อให้คุณซื้อประกันรถยนต์ตอบโจทย์มากที่สุด เราจะพาไปเจาะลึกเปรียบเทียบประกันรถยนต์ทั้ง 2 แบบ
สนใจอ่านแค่บางเรื่อง ก็เลือกได้เลย!
- ประกันระบุผู้ขับขี่ vs ไม่ระบุผู้ขับขี่ คืออะไร?
- คนขับไม่ใช่ชื่อที่ระบุไว้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุเคลมได้มั้ย?
- ประกันระบุผู้ขับขี่ ทำประกันชั้นไหนได้บ้าง?
- ทำไมควรเปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนซื้อ?
ประกันระบุผู้ขับขี่ vs ไม่ระบุผู้ขับขี่ คืออะไร?
ต้องบอกก่อนว่าการทําประกันรถยนต์ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ เนื่องจากส่งผลต่อ “ผลประโยชน์” ของคุณโดยตรง และการเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ทั้งแบบระบุผู้ขับขี่ และไม่ระบุผู้ขับขี่ก่อนตัดสินใจซื้อ ก็ช่วยได้เยอะมาก ๆ เลยล่ะ ซึ่งทั้ง 2 แบบมีรายละเอียดยังไงบ้าง ไปเช็คความคุ้มครองประกันรถยนต์กันเลยดีกว่า
ประกันรถยนต์แบบระบุผู้ขับขี่
ประกันระบุผู้ขับขี่ คือ การซื้อประกันรถยนต์ทั่วไป แต่มีการระบุชื่อคนที่จะขับรถคันเอาประกันลงไปในกรมธรรม์ ทำให้เบี้ยประกันรถยนต์ราคาถูกลงกว่าแผนประกันอื่น ๆ โดยทั่วไปสามารถระบุผู้ขับขี่ได้ 2-5 คน ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยกำหนด และเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ต้องมีการเคลมประกัน ประกันรถจะคุ้มครองต่อเมื่อ คนที่ระบุชื่อไว้เป็นคนขับรถ ประกันแบบระบุผู้ขับขี่เหมาะกับคนที่ใช้รถในครอบครัว หรือใช้รถแค่คนเดียว
ประกันรถยนต์แบบไม่ระบุผู้ขับขี่
คือ การซื้อประกันรถยนต์ทั่วไป โดยที่เราไม่ได้ระบุชื่อผู้ขับขี่ลงไปในกรมธรรม์ ที่รู้ใจมีแผนประกันแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ดังนี้
1. แผนผู้ขับขี่อายุ 30 ปีขึ้นไป
สำหรับแผนนี้ ประกันรถยนต์จะคุ้มครองผู้ขับขี่ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยที่ไม่ต้องระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งจะทำให้ได้เบี้ยประกันรถยนต์ในราคาที่ถูกกว่าแผนที่ไม่ระบุชื่อเลยและแผนผู้ขับขี่อายุ 25 ปีขึ้นไป เพราะผู้ขับขี่ที่มีอายุมากกว่า มักมีประสบการณ์ในการขับขี่มากกว่าจึงทำให้เบี้ยถูกลงได้ หากเกิดอุบัติเหตุแล้วมีคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปีขับรถของเรา ประกันอาจปฏิเสธความคุ้มครอง
2. แผนผู้ขับขี่อายุ 25 ปีขึ้นไป
แผนนี้จะคุ้มครองคนขับรถทุกคนที่อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป โดยที่ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์เช่นกัน แผนนี้มีราคาแพงกว่าแผนผู้ขับขี่อายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะบริษัทประกันต้องเพิ่มความเสี่ยงสำหรับผู้ขับขี่ที่อายุน้อยกว่า โดยแผนนี้จะไม่ให้ความคุ้มครองคนขับที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี (ซึ่งไม่ใช่ผู้ขับขี่หลัก) ที่ขับรถของคุณในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ
แผนผู้ขับขี่นี้เหมาะมาก ๆ กับครอบครัวใหญ่ที่สมาชิกมากกว่า 5 คน และอายุ 25 ปีขึ้นไป แบบนี้หากคนในครอบครัวหรือเพื่อนคนใดคนหนึ่งที่อายุเกิน 25 ปียืมรถไปแล้วเกิดอุบัติเหตุ ก็ยังมีประกันคุ้มครอง
3. แผนผู้ขับขี่ไม่ระบุชื่อ
เป็นแผนผู้ขับขี่ที่แพงที่สุด คุ้มครองทุกคนที่ขับรถของคุณ (มีใบอนุญาตขับขี่) โดยที่ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อในกรมธรรม์ แต่เพราะความคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกคนที่มาขับรถคันเอาประกัน จึงทำให้เบี้ยประกันรถยนต์แพงที่สุดเช่นกัน เพราะบริษัทประกันต้องรับความเสี่ยงจากผู้ขับขี่หลากหลายช่วงอายุ ประกันแบบนี้เหมาะสำหรับ
- ครอบครัวที่มีสมาชิกมากกว่า 5 คนขึ้นไปและมีหลายช่วงอายุ เช่น หลานอายุ 18 ปี ลูกอายุคนเล็ก 19 ปี คนกลางอายุ 21 ปี คนโตอายุ 27 ปี น้าอายุ 30 ปี พ่ออายุ 47 ปี แม่อายุ 52 ปี และยังมีสมาชิกในครอบครัวคนอื่นที่ขับรถคันนี้
- เหมาะกับครอบครัวที่ให้ลูกใช้รถ เช่น ให้ลูกอายุ 18 ปีนำรถไปขับ แล้วลูกให้เพื่อนขับจนเกิดอุบัติเหตุ (เพื่อนลูกมีใบขับขี่) แบบนี้ประกันก็ให้ความคุ้มครอง
หมายเหตุ: ทุกแผนประกัน ต้องระบุผู้ขับขี่หลัก (คนที่จะขับรถคันเอาประกันเป็นประจำ) ในกรมธรรม์
ซื้อประกันรถไม่ระบุผู้ขับขี่ แล้วนำรถไปขับรับจ้างได้มั้ย?
เมื่อมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกคนที่ขับรถคันเอาประกัน แล้วหากซื้อเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ยิ่งครอบคลุม บางคนอาจคิดว่าถ้าแบบนี้ก็สามารถให้ใครขับรถก็ได้ แล้วนำรถไปขับรับจ้างแล้วสลับคนขับไปเรื่อย ๆ บอกเลยว่า “ประกันไม่คุ้มครองเมื่อมีการใช้รถผิดประเภท” แม้ประกันจะคุ้มครองทุกคนที่มาขับรถ แต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย เพราะฉะนั้นหากคิดนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ไม่ว่ารับส่งของหรือคน ควรซื้อประกันรถยนต์สำหรับรถสาธารณะหรือรถรับจ้างผ่านแอปโดยตรงจะดีกว่า
คนขับไม่ใช่ชื่อที่ระบุไว้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุเคลมได้มั้ย?
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสงสัยกันแน่ ๆ คือ ทำประกันระบุผู้ขับขี่เอาไว้ แต่เวลาเกิดอุบัติเหตุคนขับกลับไม่ใช่คนที่มีชื่อ แบบนี้จะเคลมประกันรถยนต์ได้หรือไม่? คำตอบคือ “สามารถเคลมประกันรถยนต์ได้ตามปกติ” โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. เมื่อรถชนแล้วเป็นฝ่ายถูก
หากคนที่ไม่มีชื่อระบุในกรมธรรม์ ไม่ว่าจะญาติพี่น้อง เพื่อน คนรู้จัก ฯลฯ ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนและเป็นฝ่ายถูก ก็จะได้รับความคุ้มครองจากคู่กรณีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ
2. เมื่อรถชนแล้วเป็นฝ่ายผิด
แม้ว่าคนที่ไม่มีชื่อระบุไว้ในกรมธรรม์ จะเกิดอุบัติเหตุแถมยังเป็นฝ่ายผิด ก็ไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะบริษัทประกันยังคงให้ความคุ้มครองตามวงเงินที่ระบุไว้ แต่ผู้ขับขี่จะต้องร่วมจ่าย “ค่าผิดเงื่อนไข” กับบริษัทประกัน เพื่อซ่อมรถคู่กรณี เป็นจำนวนดังนี้
- จ่าย 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เช่น ค่าเสาไฟฟ้า ค่าซ่อมรถ ฯลฯ
- จ่าย 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายที่เกิดจากการชน คว่ำ (หากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากบุคคลอื่น และสามารถหาตัวคนทำผิดได้ ก็ไม่ต้องจ่ายในส่วนนี้)
จึงหมายความได้ว่าการทำประกันระบุผู้ขับขี่ เหมาะสำหรับคนที่ “มั่นใจ” ว่าจะเป็นคนที่ใช้รถคันนั้นเป็นประจำจริง ๆ แต่ถ้าหากไม่มั่นใจ หรือมีเพื่อน คนรู้จักมายืมรถบ่อย ๆ การทําประกันรถยนต์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่อาจตอบโจทย์ได้มากกว่า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุและต้องเคลมประกันรถยนต์
ประกันระบุผู้ขับขี่ ทำประกันชั้นไหนได้บ้าง?
สำหรับแผนผู้ขับขี่ทั้งหมด สามารถเลือกได้ทั้งในประกันรถยนต์ชั้น 1, 2, 2+, 3 และ 3+ ที่รู้ใจ สามารถเข้าไปเช็คราคาออนไลน์ฟรี 24 ชม. โดยไม่ต้องใส่เบอร์โทรหรืออีเมล ลองเปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่ละประเภทและเลือกแผนผู้ขับขี่ว่าแบบไหนตอบโจทย์งบและไลฟ์สไตล์ของคุณที่สุดได้
ทำไมควรเปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนซื้อ?
ต่างคนต่างมุมมอง บางคนอาจมองว่า ประกันรถยนต์ที่ “แพงที่สุด = ดีที่สุด” แต่บางคนกลับมาว่าถูกที่คุณคือตัวเลือกที่ดีกว่า แต่สำหรับการซื้อประกันรถยนต์ แนวคิดนี้อาจไม่เป็นประโยชน์สักเท่าไหร่นัก เพราะคุณควรเช็คค่าเบี้ย รวมถึงเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ ทำไมถึงต้องเช็คให้ดี? ตามไปดูตามความสำคัญของเรื่องนี้กันเลยดีกว่า
- ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ – มีเวลาเช็คที่มาของบริษัท/ตัวแทน/นายหน้าที่มาขายประกันในเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการถูกหลอกขายประกัน
- เลือกความคุ้มครองและราคาที่เหมาะสม – เปรียบเทียบความคุ้มครองของประกันแต่ละประเภท เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับบริการที่คุ้มค่า
- เลือกจากรูปแบบประกันที่หลากหลาย – ศึกษาประเภทของประกันรถยนต์ให้เข้าใจ เพื่อเลือกซื้อตรงตามงบประมาณ รวมถึงไลฟ์สไตล์ด้วย
- เช็คบริการหลังการขาย – การอ่านรีวิวจะช่วยตรวจสอบความสะดวกในการติดต่อและแจ้งเคลมเมื่อเกิดเหตุการณ์
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ผู้เอาประกันควรเปรียบเทียบประกันรถยนต์ และอ่านรีวิวจากผู้ซื้อจริงอย่างถี่ถ้วนก่อนทําประกันรถยนต์เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้บริษัทประกัน หรือโบรกเกอร์นั้น ๆ จะต้องมีช่องทางการติดต่อที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเบอร์โทรศัพท์ หรือ Social Media ก็ตาม
ในท้ายที่สุดไม่ว่าคุณจะเลือกทำประกันระบุผู้ขับขี่หรือไม่ระบุก็ตาม อย่าลืมเปรียบเทียบประกันรถยนต์ ตรวจสอบความคุ้มครอง และราคาประกันรถยนต์ให้ดีก่อน ว่าตรงตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อให้การจ่ายค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ไม่กลายเป็น “ภาระในระยะยาว” แต่กลับเป็นเพื่อนคู่ใจที่สามารถพึ่งพาได้อย่างคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)
คำจำกัดความ
ประเมิน | การกะประมาณมูลค่า หรือราคาเท่าที่ควรจะเป็น |
เปรียบเทียบ | เอามาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกัน และต่างกัน |
ผู้ขับขี่หลัก | คนที่ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยเป็นประจำ |